ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการหมุนเวียนผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชี ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มตลาด เอ็ม เอ ไอ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการหมุนเวียนผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI โดยตัวแปรที่สนใจศึกษาได้แก่ อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวม อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI ในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ. 2564-2565 ยกเว้นบริษัทในกลุ่มธุรกิจบริการ บริษัทในกลุ่มธุรกิจสินค้าอุตสาหกรรม บริษัทที่อยู่ในช่วงดำเนินการแก้ไขเหตุเพิกถอน บริษัทที่กําลังฟื้นฟูการดําเนินงาน บริษัทที่มีการเปลี่ยนสภาพ และบริษัทที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วน โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวน 90 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานด้วยการถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่าอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นมีผลกระทบต่อการหมุนเวียนผู้สอบบัญชีในทิศทางตรงข้ามและมีผลกระทบต่อการหมุนเวียนสำนักงานสอบบัญชีในทิศทางเดียวกัน และอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวมมีผลกระทบต่อการหมุนเวียนผู้สอบบัญชีในทิศทางตรงกันข้ามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชี รวมถึงนักลงทุน ทำให้เห็นถึงสาเหตุที่บริษัทตัดสินใจเลือกหมุนเวียนผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชี โดยผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์และพิจารณาเลือกรับงานการตรวจสอบในกลุ่มบริษัทตัวอย่างร่วมด้วยเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจจากการให้บริการลูกค้ามากที่สุด อีกทั้งยังช่วยให้กลุ่มผู้ลงทุนสามารถนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจและพิจารณาสำหรับเลือกลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องได้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีว่าด้วยจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2561. (2561, 27 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนพิเศษ 301 ง, หน้า 17-24.
ชุดาพร สอนภักดี. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าธรรมเนียมสอบบัญชีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 17-30.
ธกานต์ ชาติวงค์. (2560). ทฤษฎีที่ใช้อธิบายงานวิจัยทางบัญชี:จากอดีตถึงอนาคต. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(2), 203-212.
ธีรชัย อรุณเรืองศิริเลิศ และ วีรสันต์ เข็มมณี. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าสอบบัญชีระหว่างการใช้รายงานผู้สอบบัญชีแบบใหม่ในประเทศไทย. วารสารสภาวิชาชีพบัญชี, 3(7), 35-46.
นเรศร์ เกษะประกร. (2565). การเสริมสร้างบทบาทหน้าที่ของผู้สอบบัญชีและคณะกรรมการตรวจสอบตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535. วารสารกฎหมายนิติพัฒน์ นิด้า, 11(1/2565), 52-75.
ปณัญพัชญ์ ถิรพงศ์สรรค์ และ ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2563). การเปลี่ยนแปลงผู้สอบบัญชีและการตกแต่งกำไร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 10(3), 58-66.
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547. (2547, 12 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 65 ก, หน้า 1-20.
ภัทรพงศ์ เจริญกิจจารุกร. (2556). Sarbanes-Oxley Act และการกำกับดูแลกิจการในต่างประเทศสู่ธรรมาภิบาลในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 35(138), 92-119.
ภาพร เอกอรรถพร. (2553). กลบัญชีด้านเดบิต. วารสารวิชาชีพบัญชี, 6(15), 19-22.
ลงทุนแมน. (2565). DE Ratio คืออะไร? ทำไมถึงบอกได้ว่าบริษัทมีหนี้สินมากหรือน้อย. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2566, จาก https://www.longtunman.com/41510
วฤดดา พิพัฒนกุล, พัทธนันท์ เพชรเชิดชู และ ศิริเดช คำสุพรหม. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(109), 230-244.
วาสนา มณีสาย และ กุสุมา ดำพิทักษ์. (2564). ปัจจัยด้านลูกค้าและปัจจัยด้านผู้สอบบัญชีที่มีผลต่อค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 53-61.
วิลานุช ผดุงเดช. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการหมุนเวียนผู้สอบบัญชี ระยะเวลาการเป็นผู้สอบบัญชีในบริษัทลูกค้า กับการจัดการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET100. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะวิทยาการจัดการ.
เวลธ์ คอนเนคท์. (2566). มารู้จัก MAI ตลาดรองในตลาดหุ้นไทย. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://wconnex.bualuang.co.th/s/article/mai?language=th
ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2551). ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท โครงสร้างของผู้ถือหุ้น กับมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์. วารสารวิชาชีพบัญชี, 4(10), 26-39.
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2565). มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 200. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2566, จาก https://acpro-std.tfac.or.th/uploads/files/TSA/2558_TSA200.pdf
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.). (2535). คณะกรรมการ ก.ล.ต. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2567, จาก https://www.sec.or.th/TH/pages/aboutus/secboard.aspx
อรกานต์ ผดุงสัจจกุล และ ดิชพงศ์ พงศ์ภัทรชัย. (2558). ความแตกต่างของคุณภาพงานสอบบัญชีระหว่างสำนักงานสอบบัญชี Big 4 และ Non-Big 4 สามารถบอกลักษณะของลูกค้าได้หรือไม่: หลักฐานจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชชาชีพบัญชี, 11(32), 34-53.
อารีรัตน์ บุญมี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการระหว่างสำนักงานสอบบัญชี Big4 และ Non-Big4 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI). (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, บัณฑิตวิทยาลัย.
Alisa, I. A., Devi, I. A. R., & Brillyandra, F. (2019). The effect of audit opinion, change of management, financial distress and size of a public accounting firm on auditor switching. Jurnal Akuntansi Trisakti, 6(1), 55-68.
Griffin, P. A., & Lont, D. H. (2011). Audit fees around dismissals and resignations: Additional evidence. Journal of Contemporary Accounting & Economics, 7(2), 65-81.