แนวทางการสร้างความภักดีของลูกค้าในการซื้อสินค้าในร้านค้ายกธงฟ้า จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

สวรส ศรีสุตโต
กนกพร นาก้อนทอง*

บทคัดย่อ

        การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อหาสาเหตุที่ลูกค้าไม่ภักดีในการซื้อสินค้าของร้านยกธงฟ้า (2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าของลูกค้าในร้านค้า (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจด้านส่วนประสมทางการตลาดค้าปลีกของลูกค้าที่มีผลต่อความภักดีของลูกค้า (4) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าในการซื้อสินค้าในร้านค้า และ (5) เพื่อหาแนวทางสร้างความภักดีของลูกค้าในการซื้อสินค้าในร้านค้า โดยทำการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยทำการสัมภาษณ์ลูกค้าที่ไม่ได้สมัครสมาชิกจำนวน 10 ราย จากการที่ไม่ซื้อสินค้าร้านยกธงฟ้าต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 ปีและการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากการใช้แบบสอบถามออนไลน์จำนวน 320 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจำนวนจากจำนวนลูกค้าที่มีการสมัครสมาชิกกับร้านยกธงฟ้าจำนวน 1,575 ราย รายผลการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านการวางผังร้านค้ามีผลต่อความภักดีของลูกค้า และการรักษาลูกค้าสัมพันธ์ด้านการสร้างความสัมพันธภาพกับลูกค้า การเข้าใจความคาดหวังของลูกค้าและการสร้างความเฉพาะเจาะจงของลูกค้ามีผลต่อความภักดีของลูกค้าในการซื้อสินค้าในร้านค้าแห่งนี้ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ดังนั้นผู้บริหารร้านค้าต้องคำนึงถึงปัจจัยในวางผังร้านค้า และต้องทำการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่ดี โดยมีสัมพันธภาพกับลูกค้าและเข้าใจในความคาดหวังของลูกค้ารวมถึงการให้บริการลูกค้าตามรายบุคคล

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กานต์สินี เจริญวรลักษณ. (2559). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ธุรกิจที่ปรึกษาพัฒนาระบบ SAP บริษัท โอเอซิสคอนซัลติ้ง จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะวิทยาการจัดการ.

จักรพงศ์ มหพันธุ์ทิพย์, ปลื้มใจ สินอากร และ เฉลิมพล ทัพซ้าย. (2564). ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าร้านอาหารฟาร์มเฮ้าส์ จังหวัดระนอง. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14 (น.338-348). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ชัชญาภา ศักดิ์ศรี. (2561). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์มีผลต่อความภักดีต่อารใช้บริการห้างสรรพสินค้า กรณีศึกษา ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, วิทยาลัยการจัดการ.

ชาย โพธิสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.

ณัฐพงศ์ สันติธัญญาโชค และ มงคล เอกพันธ์. (2565). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์สมัยใหม่ที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยสำนักงานเขต 14. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(1), 17-35.

ปัทมวรรณ เกื้อโกมลเดช. (2554). การศึกษาส่วนประสมการค้าปลีกของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลที่มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีของลูกค้า ในเขตกรุงเทพมหานคร. (การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, บัณฑิตวิทยาลัย.

ลภัสวัฒน์ ศุภผลกุลนันทร์. (2558). Principles of Marketing (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ; สำนักพิมพ์ สเตรนเจอส์ บุ๊ค.

ลัสดา ยาวิละ, อรนุช สืบบุญ และ รัตน์ชนก พราหมณ์ศิริ. (2563). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ความจงรักภักดีของผู้ประกอบการธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(3), 27-39.

วลัย ซ่อนกลิ่น และ วลัยลักษณ์ เพ็ชรแสน. (2564). ส่วนประสมการค้าปลีกที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้า ร้านซี.เจ. เอ็กซ์เพรส ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(1),151-160.

วันชัย กิจเรืองโรจน์ และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2559). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่ส่งผลกระทบต่อการตอบรับจากลูกค้าและผลการดำเนินงานของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 8(2), 53-66.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา, จิระวัฒน์ อนุชชานนท์ และ อรทัย เลิศวรรณวิทย์. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่ : Marketing Management (ฉบับปรับปรุงใหม่ 2560). กรุงเทพฯ: Diamond in Business World.

สินิทรา สุขสวัสดิ์ และ ทิพย์รัตน์ เลาหวิเชียร. (2561). อิทธิพลของส่วนประสมการค้าปลีกที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าปลีก ประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10, 1-12.

อรุณกมล ประดิษฐบงกช และ ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้บริโภคที่มีต่อร้านขายยาแผนปัจจุบันในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ 8(2), 55-64.

Chaffey, D., & Smith, P. (2017). Digital Marketing Excellence Planning, Optimizing and Integrating Online Marketing. New York: Taylor & Francis.

Kotler, P., Keller, K., & Chernev, A. (2021). Marketing Management (16th ed.). UK: Pearson Education Limited.

Levy, M., Weitz, B. A., & Grewal, D. (2019). Retailing Management (10th ed.). Singapore: McGraw Hill.

Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative Data Analysis: An Expanded Sourcebook (2nd ed.). USA: Sage Publications, Inc.

Schiffman, L. G., Wisenblit, J., & Kumar, S. R. (2018). Consumer Behavior (9th ed.). India: Pearson Education.