การศึกษาโซ่อุปทานและความคาดหวังของชุมชนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจภาชนะรักษ์โลก: อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

นันทวัน หัตถมาศ หัตถมาศ*
มลฤดี โอปมาวุฒิกุล
นัฐพงษ์ ทองปาน
กัญญา ภัทรกุลอมร
ลัดดาวัลย์ จำปา
พรอารีย์ ศิริผลกุล

บทคัดย่อ

         เขตอำเภอบ่อพลอยถือเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยที่สำคัญของจังหวัดกาญจนบุรี การที่มีเศษอ้อยเหลือทิ้งจำนวนมาก จึงนำไปสู่แนวคิดการทำธุรกิจการผลิตภาชนะรักษ์โลก ซึ่งเศษอ้อยเป็นวัสดุธรรมชาติที่เหมาะสมสำหรับการผลิตภาชนะรักษ์โลก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการคือ การศึกษาความพร้อมของผู้มีส่วนได้เสียตามกิจกรรมสายโซ่อุปทานและความคาดหวังของชุมชนบ่อพลอยที่มีต่อธุรกิจภาชนะรักษ์โลก ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน มีการสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 120 คน แล้วนำมาแบ่งกลุ่มตามรายกิจกรรมใน สายโซ่อุปทาน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อศึกษากิจกรรม และแบบสอบถามเพื่อประเมินผลระดับ ความคาดหวัง เพื่อรวบรวมข้อมูลจาก ผลการศึกษาพบว่า


          (1) ภาชนะรักษ์โลกที่มีวางจำหน่ายทั่วไปและถูกใช้มากที่สุดคือ แก้วกระดาษ แต่ไม่พบการจำหน่ายถาดใส่อาหารว่างในชุมชน ความพร้อมของผู้มีส่วนได้เสียตามกิจกรรมโซ่อุปทานนี้ประกอบด้วย เกษตรกรผู้รวบรวมและจำหน่ายเศษอ้อย (ร้อยละ 21.67) ผู้จำหน่ายปัจจัยการผลิตกระดาษและเครื่องขึ้นรูป (ร้อยละ 10) ร้านจำหน่ายเครื่องจักรกลเกษตร(ร้อยละ 2.50) ผู้ผลิตงานหัตถกรรม (ร้อยละ 1.67) กลุ่มช่างฝีมือสร้างเครื่องขึ้นรูป (ร้อยละ 29.17) และร้านจำหน่ายภาชนะ(ร้อยละ 8.33) ตามลำดับ ผู้ที่เกี่ยวข้องข้างต้นอาศัยโรงงานน้ำตาลและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นสนับสนุนการดำเนินงาน ทั้งนี้กิจกรรมที่ยังขาดอยู่คือ ผู้ผลิตกระดาษ และผู้จำหน่ายเครื่องขึ้นรูป


        (2) ระดับความคาดหวังของชุมชนต่อการทำธุรกิจภาชนะรักษ์โลกที่มากที่สุดคือ การยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (gif.latex?\dpi{80}&space;\bar{X} = 4.69) รองลงมาคือ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การพัฒนาเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ การสร้างเครือข่าย การอนุรักษ์ ภูมิปัญญา และการพัฒนาสังคม เท่ากับ 4.20, 4.02, 3.84, 3.71 และ 3.11 คะแนน ตามลำดับ


          ทั้งนี้จากผลการวิจัยข้างต้น หน่วยงานราชการในพื้นที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ เพื่อนำไปสู่การสร้างรายได้และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กลุ่มส่งเสริมการผลิตพืชไร่อุตสาหกรรม. (2564). อ้อยโรงงาน. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2566, จาก http://www.agriman.doae.go.th/home/news/2563/07-08.pdf

กิตติศักดิ์ เมืองกลาง, ณัฐพงษ์ รักด่านกลา, ณัฐวุฒิ ดงกระโทก, ทักษ์ดนัย จันทีนอก, และ ธรรณธร ชิดการ. (2564). เครื่องขึ้นรูปภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 6(2), 65-76.

จารุวรรณ สุภาชัยวัฒน์. (2564). การจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียวอย่างยั่งยืน และผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมมัน สำปะหลัง เขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 14(2), 61-69.

ชนากานต์ อุณาพรหม. (2565). พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในตำบลโพนงาม อำเภอ หนองหาน จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 32(2), 32-49.

ทรงกิต ชัยนิมิตวัฒนา. (2550). การศึกษาห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมกระดาษ กรณีศึกษา: กลุ่มธุรกิจกระดาษและ บรรจุภัณฑ์ เครือบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน). (รายงานค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา.

นัทที ขจรกิตติยา. (2550). การจัดการธุรกิจชุมชน : แนวทางสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 2(2), 150-162.

ปกป้อง ป้อมฤทธิ์. (2562). กลุ่มชาวบ้านท่าดีหมี จังหวัดเลย เปลี่ยนโฉมใบไม้เป็นภาชนะรักษ์โลกเพิ่มมูลค่า. วารสารเคห การเกษตร, 43(4), 191-194.

ปรีชา อุปโยคิน, พลวัฒ ประพัฒน์ทอง, ภัทรา ชลดำรงกุล, และ พิมทรัพย์ พิมพิสุทธิ์. (2558). การศึกษาความต้องการ แรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงานในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 43-64.

ปุณยิศา คืนดี, และ เปรมพร เขมาวุฆฒ์. (2559). การศึกษาปัจจัยในการเลือกผู้จัดหา: โลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13: ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน. นครปฐม. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, 702-709.

พรศิริ หลงหนองคูณ. (2560). การพัฒนาเส้นด้ายผสมปั่นมือจากเส้นใยใบอ้อยและเส้นใยฝ้าย. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์.

พายุ นาวาคูระ. (2564). แนวทางการพัฒนาอาชีพสำหรับผู้สูงอายุของบ้านหนองบ่อ ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยสังคมสาร, 19(3), 21-42.

พิชัย เหลี่ยวเรืองรัตน์, จำเริญ เขื่อนแก้ว, และ เจนจิรา ถาปินตา. (2564). การจัดการโซ่อุปทานต้นน้ำของผลิตผลทาง การเกษตรในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท: กรณีศึกษา ตำบลหนองผึ้ง ตำบลยางเนิ้ง และตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัด เชียงใหม่. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 13(2), 148-161.

มนรัตน์ สารภาพ, เอมอร อังสุรัตน์, จุฬารัตน์ วัฒนะ, ปราโมทย์ สฤษดิ์นิรันดิ, และ วัชรี เลิศมงคล. (2553). ความคาดหวัง ของเกษตรกรในการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนเขตพื้นที่ตำบลหนองกุ่ม อำเภอ บ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยาสารกำแพงแสน, 8(1), 1-13.

มนสิชา อนุกูล. (2565). แนวทางการจัดการส่งเสริมกลุ่มอาชีพชุมชน ตำบลบางขะแยง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(1), 137-146.

มานพ ชุ่มอุ่น, วินยาภรณ์ พราหมณโชติ, อาชวิน ใจแก้ว, จินดาภา ศรีสำราญ, กิติยาภรณ์ อินธิปีก, และ กนกวรรณ พีรพงศ์ เดชา. (2563). การจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพืชเศรษฐกิจในเขตอำเภอเมือง จังหวัด แม่ฮ่องสอน. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(3), 49-62.

มิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม. (2564). เครื่องอัดใบอ้อย ตัวช่วยเก็บงานหลังภารกิจเก็บเกี่ยว. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/ABdDm

ยงยุทธ ชัยรัตนวรรณ. (2557). วิวัฒนาการของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 8(2), 13-25.

รติกานต์ เลิศวัฒนานุวัฒน์, และ วัชรพงษ์ ตันฑ์พรชัย. (2564). การตัดสินใจซื้อกล่องกระดาษบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค บริษัท ภูปลายฟ้าแพคเกจจิ้ง จำกัด. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2566, จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sat17/6214060127.pdf

วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา, และ เอกภพ มณีนารถ. (2560). องค์ประกอบปัจจัยทางการตลาดและพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. สยามวิชาการ, 18(30), 72-92.

เศรษฐภูมิ เถาชารี. (2560). การทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการวัดประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., 10(2), 95-106.

สามารถ ใจเตี้ย. (2564). การใช้ประโยชน์วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของเกษตรกรในเทศบาลตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 38(2), 79-88.

สำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2570. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/hD1lij

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. (2557). ประวัติความเป็นมาของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ บ่อพลอย. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/h0u9X

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ความอยู่ดีมีสุข. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.nesdc. go.th/article_attach/article_file_20191018102435.pdf

สำนักบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย. (2564). มาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้. ใน มติคณะรัฐมนตรี 11 พฤษภาคม 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2566, จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER66/DRAWER041/GENERAL/DATA0001/00001531.PDF

สุเทพ นิ่มสาย, ณัฐพล รังสฤษฏ์วรการ, และ สหรัตถ์ อารีราษฎร์. (2560). โซ่อุปทานสีเขียว: นวัตกรรมเพื่อสร้างศักยภาพ การแข่งขันที่ยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/lJvPa

สุพิศ เสียงก้อง. (2558). หัวใจสีเขียว สร้างโลกสีเขียว ด้วยบรรจุภัณฑ์สีเขียว. วารสารศิลปกรรมบูรพา, 18(1), 37-50.

Hao, Y., Liu, H., Chen, H., Sha, Y., Ji, H., & Fan, J. (2019). What affect consumer’s willingness to pay for green packaging? Evidence from China. Resource, Conservation and Recycling, 141, 21-29.

Jo, D., & Kwon, C. (2022). Structure of green supply chain management for sustainability of small and medium enterprises. Sustainability, 14(1), DOI: org/10.3390/su14010050

Mahmud, M. A., Belal, S. A., & Gafur, M. A. (2023). Development of a biocomposite material using sugarcane bagasse and modified starch for packaging purposes. Journal of Materials Research and Technology, 24, 1856-1874.

Maziriri, E. T. (2020). Green packaging and green advertising as precursors of competitive advantage and business performance among manufacturing small and medium enterprises in South Africa. Cogent Business & Management, 7(1), DOI: 10.1080/23311975.2020.1719586

Mursidah, S., & Fauzi, A. M. (2022). Sustainable sugarcane supply chain performance assessment: A review and research agenda. IOC Conference Series: Earth and Environmental Science, 1063, DOI:10.1088/1755-1315/1063/1/012039