ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อภาชนะที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ณฐมน ทรัพย์บุญโต*
รสริน จอห์นสัน
นพรัตน์ เตชะพันธ์รัตนกุล
มงคลกร ศรีวิชัย

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อภาชนะที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติของผู้บริโภค จังหวัดเชียงราย รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุ 30 – 39 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ มีรายได้เฉลี่ย 10,000 – 20,000 บาทต่อเดือน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยที่การส่งเสริมการตลาดมีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ผลิตภัณฑ์ ช่องการจัดจำหน่าย และราคา ตามลำดับ พฤติกรรมที่มีผลต่อการตัดสินใจมากที่สุด คือ การหาข้อมูลจากแหล่งอินเทอร์เน็ต เช่น เฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม รองลงมา คือ การเลือกซื้อด้วยส่วนตัวบุคคล นอกจากนี้ ความปลอดภัยต่อสุขภาพเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคเลือกใช้ภาชนะอาหารที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติไม่มีสารปนเปื้อนและเลือกใช้ภาชนะใส่อาหารที่ผลิตจากใบกล้วย อีกทั้ง จากสมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ราคา และการส่งเสริมการตลาดที่แตกต่างมีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อภาชนะที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติของผู้บริโภค แต่ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับพฤติกรรม พบว่า มีความสัมพันธ์ 3 คู่ คือ แหล่งข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อภาชนะที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติกับปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และแหล่งข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อภาชนะที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติกับเพศมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง ส่วนการเลือกใช้ภาชนะใส่อาหารที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติกับปัจจัยด้านช่องทางการจำหน่ายมีความสัมพันธ์กันในระดับค่อนข้างต่ำ ผลการศึกษาในครั้งนี้ได้นำไปถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงรายเพื่อเป็นแนวทางการใช้ประโยน์ในการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ภาชนะที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2563). สถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ปี 2563. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2564, จาก https://www.pcd.go.th/pcd_news/11873/

กรีน เน็ตเวิร์ค, (2564). DITP ส่งเสริม SME ไทยเชิงรุกใช้ระบบบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนรับเทรนด์โลกเปลี่ยน. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2564, จาก https://www.greennetworkthailand.com/บรรจุภัณฑ์-circular-packaging-towards-bcg

จินตนา ผาสุข. (2564). ภาชนะจากธรรมชาติทางเลือกของสายกินผู้รักสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2564, จาก https://acuisineth.com/food-story/ภาชนะจากธรรมชาติ-ทางเล

จุฑาทิพย์ เดชยางกูร, ระพีพรรณ พิริยะกุล และ สมพล ทุ่งหว้า. (2561). ตัวแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคเพื่อสิ่งแวดล้อมเชิงรุก. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 8(2), 251-264.

ญาณิศา เผื่อนเพาะ และ สันติธร ภูริภักดี. (2563). แนวทางการจัดการฟาร์มคาเฟ่ ตามรอยเกษตรทฤษฎีใหม่ของผู้ประกอบการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 38(1), 7-20.

ดวงทิพย์ จันทร์อ่วม. (2559). แนวทางการพัฒนาการตลาดอย่างยั่งยืน :กรณีศึกษาตลาดโบราณบางพลี อำเภอบางพลีจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 34(2), 51-72.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และ อุ่นเรือน เล็กน้อย. (2564). การจัดการขยะชุมชนภายใต้แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 15(2), 362-373.

ธฤษิดา รุ่งเรืองกนกกุล, ปรารถนา ปุณณกิติเกษม และ ศิริสุข รักถิ่น. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกร้านค้าปลีกจำหน่ายสินค้าออร์แกนิคอาหารเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติแบบเฉพาะ (ร้านกรีน). สุทธิปริทัศน์, 32(103), 95-106.

ธันย์ชนก สุขะวัลล, ชัยวุฒิ ตั้งสมชัย และ ปิยพรรณ กลั่นกลิ่น. (2561).ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดย่อยสลายทางชีวภาพของร้านอาหารในอําเภอเมืองเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 13(2), 13-25.

นันทวุฒิ จำปางาม และ พรทิพย์ พุทธโส. (2564). การจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 15(2), 75-89.

น้ำฝน อัศวกิจกุุลโรจน์, เจนวิทย์ วงษ์ศานููน, ศิรพงศ์ สุุขทวี, สุุธีระ บุุญญาพิทักษ์ และ โยธิน แสวงดี. (2564). การศึกษาแนวทางการจัดการขยะที่เหมาะสม สำหรับพื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล ด้วยการใช้วิจัยแบบมีส่วนร่วม. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 17(1), 40-55.

นิภา ชุณหภิญโญกุล, จิดาภา ก้อนทอง, ดรุณี โกศล และ นิสาชล วรรณทวี.(2563). ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาวของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(2), 18-37.

พัชรินทร์ สุภาพันธ์, รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์, จำเนียร บุญมาก, ทัดพงศ์ อวิโรธนานนท์, และ พัชรี อินธนู. (2560). กลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมสำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, (ฉบับพิเศษ), 35-44.

พัสกร ลี้วิศิษฏ์พัฒนา. (2561). ผลกระทบของการตลาดโดยใช้สาเหตุของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกรณีศึกษาของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, (ฉบับพิเศษ), 120-131.

พิทยา ว่องกุล. (2537). สถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

พิมพา หิรัญกิตติ. (2552). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร จำกัด.

พิมพา หิรัญกิตติ, สัญจิตา พรมโชติ, รุจิกาญจน์ สานนท์ และ ภูริณัฐ ยมกนิษฐ์. (2564). สมรรถนะด้านการตลาดที่จำเป็นของพนักงานการตลาด ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 3(2), 27-42.

โพสต์ทูเดย์. (2563). สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุธรรมชาติ. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2564, จาก

https://www.posttoday.com/life/work-life-balance/629885

วสันต์ วรเจริญ, ภัทรธิรา ผลงาม, จุลดิษฐ อุปฮาต และ พยุงพร ศรีจันทวงษ์. (2561). การวิจัยและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนในกลุ่มทอเสื่อกก ตําบลคําไผ่ อําเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 24(ฉบับพิเศษ), 55-68.

ศาสตรา เหล่าอรรคะ. (2560). การศึกษาองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาพื้นบ้านในการใช้เครือซูดวัสดุธรรมชาติเพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในรูปแบบของเครื่องจักสาน. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 20(38), 53-65.

ศิริพร คาวานิล และ ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2563). ขยะมูลฝอย: ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 เป็นอย่างไร.วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 34(2),144-157.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสารจำกัด.

โศศิษฐา แดงตา, ปาณิสรา คงปัญญา และ อำพล ชะโยมชัย. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและแรงจูงใจที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ เกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภคในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,10(3), 41-54.

สรธรรม เกตตะพันธุ์, ดุสิต อธินุวัฒน์ และ ชนัญ ผลประไพ. (2561). การพัฒนาแอพพลิเคชั่น ORGANIC LEDGER สำหรับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (พีจีเอส). Thai Journal of Science and Technology (TJST), 7(4 ฉบับเสริม), 355-370.

สำนักงานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำสถานเอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงบรัสเซลล์. (2564). ภาพรวมของขยะพลาสติกโลกในปัจจุบัน. Customs Policy Monitoring Unit (CPMU) News, 6(3), 1-3. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2564, จาก http://brussels.customs.go.th/data_files/9d4377f47d89c10bee1dc5fb1fa05cb1.pdf

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย. (2562). ประกาศจังหวัดเชียงราย เรื่อง กำหนดมาตรการงดใช้ถุงพลาสติกและโฟมภายในสถานที่ราชการและหน่วยงานของรัฐในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2564, จาก http://chiangrailocal.go.th/view_detail.php?boxID=3355&id=141800

สำนักงานสถิติจังหวัดเชียงราย. (2561). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์จังหวัดเชียงราย. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2564, จาก http://osthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file%20Download/Report%20Analysis%20Province/รายงานวิเคราะห์สถานการณ์จังหวัดเชียงราย.pdf

Bocken, N. M. P., De Pauw, I., Bakker, C., & Van Der Grinten, B. (2016). Product design and business model strategies for a circular economy. Journal of Industrial and Production Engineering, 33(5), 308-320.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson R. E. (2014). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Edinburgh Gate, UK:Pearson Education.

Kedzierski, M., Frère, D., Maguer, G. L., & Bruzaud, S. (2020). Why is there plastic packaging in the natural environment? Understanding the roots of our individual plastic waste management behaviours. Science of the Total Environment, 740, DOI: 10.1016/j.scitotenv.2020.139985

Mellinas, C., Ramos, M., Jiménez, A., & Garrigós, M. C. (2020). Recent trends in the use of pectin from agro-waste residues as a natural-based biopolymer for food packaging applications. Materials, 13(3), DOI : 10.3390/ma13030673

Rangaraj, V. M., Rambabu, K., Banat, F. & Mittal, V. (2021). Natural antioxidants-based edible active food packaging: An overview of current advancements. Food Bioscience, 43, DOI: 10.1016/j.fbio.2021.101251