ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กรณีศึกษาหลักทรัพย์กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร

Main Article Content

วิวัฒน์วงศ์ บุญหนุน*

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้ทำศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษาหลักทรัพย์กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งปัจจัยทางการเงินที่นำมาใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ดัชนีราคาหลักทรัพย์กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารวันก่อนหน้า (PAF) อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น (PE) อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชี (PBV) และค่าความเสี่ยงที่เป็นระบบของกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (Beta) ระหว่างเดือนมกราคม 2559 ถึง เดือนธันวาคม 2563 ระยะเวลา 5 ปี จำนวน 60 บริษัท ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) 
        ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษาดัชนีราคาหลักทรัพย์กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ประกอบด้วย ดัชนีราคาหลักทรัพย์กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารวันก่อนหน้า (PAF) อัตราราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น (PE) อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชี (PBV) และค่าความเสี่ยงที่เป็นระบบของกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (Beta) มีอิทธิพลเชิงบวก ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
บุญหนุน* ว. . (2022). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กรณีศึกษาหลักทรัพย์กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(2), 18–32. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/254958
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2554). แผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พ.ศ. 2555-2574. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564, จาก https://www.oie.go.th/assets/portals/1/fileups/2/files/Industrial%20Master%20Plan/National_Industrial_Development_Master_Plan.pdf

กังสดาล วงษ์สกุล. (2562). ปัจจัยทางเศรษฐกิจและอัตราส่วนทางการเงินที่มีผลต่อราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, คณะบริหารธุรกิจ.

การค้าไทย. (2564). สถิติการค้าระหว่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2564, จาก http://tradereport.moc.go.th/TradeThai.aspx

ขวัญฤทัย บุญถึง. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษาอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัย์และก่อสร้าง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะบริหารธุรกิจ.

จิรัตน์ สังข์แก้ว. (2556). รู้วิเคราะห์เจาะเรื่องหุ้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

จิราภรณ์ วงศ์สุขเสมอใจ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารและอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่อราคาหลักทรัพย์ ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน). (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, บัณฑิตวิทยาลัย.

จุไรวรรณ รินทพล และ วิชิต อู่อ้น. (2562). การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ด้านการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 19(2), 49-62.

ณัฏฐ์ ณ ตะกั่วทุ่ง. (2559). ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, บัณฑิตวิทยาลัย.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2557). ตลาดการเงินและการลงทุนในหลักทรัพย์ (พิมพ์ครั้งที่ 14 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). สรุปจำนวนหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.set.or.th/set/marketstatistics.do

พงศธร จันทร์ประทักษ์, วันวิสาข์ ขุนไชย, วิวัฒน์วงศ์ บุญหนุน และ ปภาวิน พชรโชติสุธี. (2564). อิทธิพลทางเศรษฐกิจต่อดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษาหลักทรัพย์หมวดขนส่งและโลจิสติกส์. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 10(1), 98-110.

รัศมี ศรีลาวงศ์. (2561). การศึกษาอัตราส่วนทางการเงินที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, คณะบริหารธุรกิจ.

วิวัฒน์วงศ์ บุญหนุน และนัทชา โสภาพร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อดัชนีราคาหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กรณีศึกษาดัชนีราคาหลักทรัพย์กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ. ใน ประชุมวิชาการและนำเสนองานวิจัยระดับชาติราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5 (น. 1-10). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.

ศิวัช จันทรโชติ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ กรณีศึกษา: กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (สารนิพนธ์อิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะวิทยาการจัดการ.

อนุวัตร รองเงิน. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับผลตอบแทนของหลักทรัพย์ กรณีศึกษาบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มธุรกิจวัสดุก่อสร้าง. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.

อรอุมา ต้นดี. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, คณะบริหารธุรกิจ.

Arkan, T. (2016). The importance of financial ratios in predicting stock price trends: A case study in emerging markets. Finanse, Rynki Finansowe, Ubezpieczenia, 1(79), 13–26.

Astuty, P. (2017). The influence of fundamental factors and systematic risk to stock prices on companies listed in the Indonesian stock exchange. European Research Studies Journal, 20(4A), 230–240.

Chaurasia, P. (2017). A study of investment objectives of individual investors. International Journal of Research in Finance and Marketing, 7(6), 131–142.

Fauzi, R., & Wahyudi, I. (2016). The effect of firm and stock characteristics on stock returns: Stock market crash analysis. Journal of Finance and Data Science, 2(2), 112–124.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall

Jatmiko, D. P. (2015). The relationship between return, price to earnings ratio, price to book value ratio, size and beta in different data period. Investment Management and Financial Innovations, 12(1), 47–59.

Kline, R. B. (2015). Methodology in the social sciences. In Principles and Practice of Structural Equation Modeling (4th ed.). New York: Guilford Press.

Richard, M. O., & Chebat, J. C. (2016). Modeling online consumer behavior: Preeminence of emotions and moderating influences of need for cognition and optimal stimulation level. Journal of Business Research, 69(2), 541–553.

Rofiqoh, A., & Mukaffi, Z. (2020). The effect of systematic risk (Beta) on stock prices with interest rates and curses as moderation variables. In Proceedings of the International Conference on Engineering, Technology and Social Science (pp. 26-33). Netherlands: Atlantis Press

Song, V. N., Hanh, P. T. M., Cuc, M. T., & Tiep, N. C. (2020). Factors affecting human resources development of SMEs: Evidence from the fourth industrial revolution in Vietnam. Management Science Letters, 10, 2705–2714.