การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของกลุ่มเกษตรผู้ปลูกยางพารา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของกลุ่มเกษตรกรปลูกยางพารา ประเภทยางก้อนถ้วย ในอำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบปลายปิดเป็นเครื่องมือในการวิจัยกับกลุ่มเกษตรกรตัวอย่าง จำนวน 100 คน ในอำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ และศึกษาข้อมูลจากเอกสาร อินเทอร์เน็ตและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลของต้นทุนที่เกิดขึ้นและผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ สำหรับการวิเคราะห์ผลตอบแทนโดยใช้วิธีระยะเวลาคืนทุน (PB) วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) วิธีอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) และวิธีอัตราผลตอบแทนทางบัญชีเฉลี่ย (ARR) จากการศึกษาจากพื้นที่เฉลี่ย 14 ไร่ ต้นยางพาราจำนวน 1,100 ต้น และปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 5,548 กิโลกรัมต่อปี พบว่ามีการลงทุนมีต้นทุนตลอดอายุการปลูกยางพาราตั้งแต่ปีที่ 1 – 20 เท่ากับ 934,317 บาท รายได้รวม 1,958,979 บาท เฉลี่ยรายได้รวมต่อไร่ต่อปีเท่ากับ 6,996.35 บาท การลงทุนมีระยะเวลาคืนทุนคือ 9 ปี 8 เดือน 12 วัน มูลค่าปัจจุบันสุทธิจะเท่ากับ 35,152.71 บาท ที่อัตราคิดลดร้อยละ 4 ในส่วนของอัตราผลตอบแทนภายในเป็นร้อยละ 4.71 และอัตราผลตอบแทนทางบัญชีเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 11.93
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลชนก แข็งมาก และ สมศักดิ์ เพรียบพร้อม. (2559). การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลตอบแทนการลงทุนทางการเงิน ของการลงทุนปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันในตำบลท่าอุแท อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2563). Factsheet สินค้ายางพารา ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564. สืบค้นเมื่อ 27กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/733333/733333.pdf&title=733333&cate=739&d=0
กวี วงศ์พุฒ. (2542). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาชีพบัญชี.
ชัญญาภัค หล้าแหล่ง. (2559). การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน และประสิทธิภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจของภาคใต้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 36(4), 1-17.
ชัยวัฒน์ สาวเจริญสุข. (2564). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566: ยางพาราแปรรูป. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2564, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/agriculture/rubber/IO/io-rubber-21
ธีรวัจน์ ฤทธิเจริญพัฒน์. (2557). การเปรียบเทียบการลงทุนปลูกยางพาราในพื้นที่ขนาดต่างกันในจังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
น้ำทิพย์ สิทธิ, สุนันท์ สีสังข์ และ อนุชา ภูริพันธ์ภิญโญ. (2557). การจัดการสวนยางพาราและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรในอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
ปิยะราช เตชะสืบ. (2557). ต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุน โครงการปลูกผักกุยช่ายปลอดสารพิษเพื่อการค้าในจังหวัดลำปาง. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเนชั่น.
ภัทรพงศ์ วงศ์สุวัฒน์ และ วัชรวี จันทรประกายกุ. (2562). การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการจำหน่ายผลผลิตยางพาราในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 14(2), 74-84.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์. (2557). การบัญชีต้นทุน: แนวคิดในการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์และการบันทึกบัญชี (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.
สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ. (2561). ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2564, จาก https://sites.google.com/view/buengkandoae/ขอมลพนฐานดานการเกษตร?authuser=0
สำนักงานจังหวัดบึงกาฬ. (2563). ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตร ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดบึงกาฬ. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564, จาก https://provinfo.opsmoac.go.th/?p=physical
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน). (ม.ป.ป). ประวัติยางพารา. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2564, จาก https://www.arda.or.th/kasetinfo/south/para/history/index.php
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ. (2563). ประชากรกลางปี ปีงบประมาณ 2563. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2564, จาก https://bkhdc.moph.go.th/ssjweb/bkdatacenter_v2/web/index.php
สุกฤษตา พุ่มแก้ว, มานพ ทองไทย, สันติ อารักษ์คุณากร และ พะยอม ตอบประโคน. (2560). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประกอบการของเกษตรกรชาวสวนยาง กรณีศึกษา ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 12(1), 107-116.
สุวิท บริสุทธิ์, จินดา ขลิบทอง และ เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ. (2557). การผลิตยางพาราของเกษตรกรอำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุวิมล ศิริวัล. (2557). ต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุนโครงการปลูกสวนยางพาราในจังหวัดบึงกาฬ. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเนชั่น.
อนุมาน จันทวงศ์. (2558). สมการการผลิต ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกยางพาราของเกษตรกร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 21(1), 223-245.
อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. (2559). การบัญชีต้นทุน (Cost Accounting). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
อินทิรา สุวรรณดี, ภัทรวดี พิมโกทา, พรทิวา ทมถา, สุพรรษา อามาตย์สมบัติ, อัจฉราภรณ์ บุตรภักดี และ หทัยกาญจน์ เวียงหลวง. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตปลาร้าแปรรูป : กรณีศึกษา กลุ่มแจ่วบอง OTOP 3 ดาว บ้านหนองแก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู (รายงานการวิจัย). อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
Abolagba, E. O., & Giroh, D. Y. (2006). Constraints to sustainable development of rubber industry in Nigeria: A case study of Delta State. Moor Journal of Agricultural Research, 7(1), 42 - 48.
Adhikari, P., Dhungana, S., Poudel, M., Paudel, S., Thapa K., Bidari, A., & Manandhar, R. (2020). Economics of rubber production in Jhapa, Nepal. Journal of Agriculture and Natural Resources, 3(1), 198-208.
Ashokkumar, K. (2020). Cost and return analysis of natural rubber plantations in Pathanamthitta District in Kerala. Mudra: Journal of finance and accounting, 7(1), 98-110.
Koh, A., Ang, S. K., Brigham, E. F., & Ehrhardt, M. C. (2014). Financial Management Theory and Practice. Singapore: Cengage Learning Asia.