แนวทางการบริหารจัดการต้นทุนด้วยการประยุกต์ใช้ต้นทุนฐานกิจกรรมของ ธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้างแห่งหนึ่งในจังหวัดอำนาจเจริญ

Main Article Content

ชนาธิป บุญวิทย์*
ธนภณ วิมูลอาจ

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางในการบริหารจัดการต้นทุนจากการประยุกต์ใช้การบัญชีต้นทุนฐานกิจกรรมและการวิเคราะห์กิจกรรมในการปฏิบัติงานผ่านการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมผสมผสานกับการใช้แผนผังระยะเวลาในการปฏิบัติงานของธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง ในกรณีศึกษาของบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาที่มีผลกระทบต่อต้นทุนในธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแบบแผนต้นทุนฐานกิจกรรมและวิเคราะห์คุณค่ากิจกรรม ผลการศึกษาพบว่าด้านฐานกิจกรรมพบการ   รอคอย การปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนและกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่า ชี้ให้เห็นถึงต้นทุนส่วนเพิ่มเติมในช่วง 2.05% ถึง 5.44% ของระดับราคาสินค้าต่อหน่วย นอกจากนี้ยังพบถึงความล่าช้าที่เกิดจากผังการทำงาน ความไม่ตระหนักถึงการใช้หลักการเข้าก่อน-ออกก่อน และปัญหาด้านสินค้าคงคลังเสื่อมสภาพ ผู้ศึกษาได้เสนอแนวทางในการลดต้นทุนจากกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าโดยการขจัดกิจกรรมที่ไม่จำเป็น ดัดแปลงโครงสร้างการทำงานในกิจกรรมที่จำเป็น การปรับเปลี่ยนการทำงานของพนักงานเพื่อพัฒนาเป็นธุรกิจรูปแบบสมัยใหม่ การวางผังในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ การสร้างความตระหนักในการหมุนเวียนของสินค้า และการแปลงสภาพสินค้าเก่าให้เกิดมูลค่าเพื่อจำหน่ายและใช้ในการทำงานได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
บุญวิทย์* ช., & วิมูลอาจ ธ. (2022). แนวทางการบริหารจัดการต้นทุนด้วยการประยุกต์ใช้ต้นทุนฐานกิจกรรมของ ธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้างแห่งหนึ่งในจังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(1), 45–59. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/252545
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กนกวรรณ กิ่งผดุง และ สุจินต์ วุฒิชัยวัฒน์. (2560). การประยุกต์ต้นทุนฐานกิจกรรมใช้กับกระบวนการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ กรณีศึกษาในโรงงานอุตสาหกรรมนมขนาดเล็ก. Veridian E-Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขา สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 1661-1679.

เกรียงไกร วงษ์คำอุด และ ปณัทพร เรืองเชิงชุม. (2563). การลดความสูญเปล่าด้วยการประยุกต์ใช้ต้นทุนฐานกิจกรรมใน กระบวนการผลิตยางแผ่นรมควัน กรณีศึกษา สถาบันเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(1), 122-137.

ขนิษฐา เลาหวิชิตศักดิ์ และ อัครนันท์ พงศธรวิวัฒน์. (2564). การประยุกต์ใช้ตัวแบบสองขั้นตอนสําหรับการจัดกลุ่มและระบุ ตําแหน่งการวางสินค้าภายในคลังสินค้า กรณีสินค้ามีความสัมพันธ์กับกลุ่มผลิตภัณฑ์. วารสารไทยการวิจัย ดำเนินงาน, 9(1), 92-105.

ชนกานต์ ภิญโญภูมิมินทร์, ดำรงศักดิ์ รินชุมภู และ เกรียงไกร อรุโณทยานันท์. (2563). การบริหารวัสดุคงคลังในธุรกิจก่อสร้างขนาดเล็ก. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. ชลบุรี, วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ชยุตม์ บรรเทิงจิตร. (2561). การประยุกต์ใช้เทคนิคการจำลองสถานการณ์ในการออกแบบผังคลังสินค้าเพื่อลดเวลาในการขน ถ่ายวัสดุ. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 8(3). 1-14.

ณัฐพร เพิ่มทรัพย์ และ ไพรัช พรพันธ์เดชวิทยา. (2563). แนวทางการเพิ่มมูลค่าจากวัสดุก่อสร้างที่ถูกใช้งานแล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่ออุตสาหกรรมไทย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 9(2), 31-45.

พุทธชาต ลุนคำ. (2563). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2563-65: ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2564, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Construction-Construction- Materials/Construction-Materials/IO/io-construction-materials

มนัสนันท์ เซี่ยงว่อง, ศิรวิชญ์ เพชรลาย, ณัฐพร ผูกพานิช และ ดำรงค์ ถาวร. (2562). การปรับปรุงการบริหารสินค้าคงคลัง กรณีศึกษาร้านดอนซากค้าวัสดุ. วารสารสหศาสตร์, 19(1). 50-82.

วิลาวัณย์ ดึงไตรย์ภพ และ ปานแก้วตา ลัคนาวานิช. (2561). การประยุกต์ใช้แนวคิดต้นทุนฐานกิจกรรมเพื่อศึกษาต้นทุนการ ปลูกปาล์มน้ำมันในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการจัดการ, 7(Special Issue), 54-73.

ศรุดา เพ็งปอพาน. (2558). การวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมสำหรับการดำเนินงานพื้นที่จัดเก็บรถยนต์ส่งออกกรณีศึกษา บริษัท ECO (ประเทศไทย) จำกัด. (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะโลจิสติกส์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน.

สุกฤตา ปรีชาว่อง และ วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. (2559). แผนปรับปรุงธุรกิจค้าส่งวัสดุก่อสร้าง กรณีศึกษาร้านค้าส่งวัสดุ ก่อสร้าง จังหวัดขอนแก่น. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 7(2), 133-149.

Cannavacciuolo, L., Illario, M., Ippolito, A., & Ponsiglione, C. (2015). An activity-based costing approach for detecting inefficiencies of healthcare processes. Business Process Management Journal, 21(1), 55- 79

Cokins, G. (2001). Activity-Based Cost Management: An Executive’s Guide. New Jersey: Wiley & Sons.

Cooper, R., & Kaplan, R. S. (1999). Design of Cost Management Systems, 2nd ed., New Jersey: Prentice-Hall.

Drury, C. (2017). Management and Cost Accounting, 10th ed., Boston: Cengage.

Holm, L. (2018). Cost Accounting and Financial Management for Construction Project Managers. New York: Routledge.

Kannaiah, D. (2015). Activity based costing (abc): Is it a tool for company to achieve competitive advantage?. International Journal of Economics and Finance, 7(12), 275-281.

Kaplan, R. S., & Anderson, S. R. (2007). Time-Driven Activity-Based Costing: A Simpler and More Powerful Path to Higher Profits. Boston: Harvard Business School.

Kaplan, R. S., & Bruns, W. J. (1987). Accounting and Management: A Field Study Perspective. Boston: Harvard Business School.

Kim, Y. W. (2017). Activity Based Costing for Construction Companies. New Jersey: Wiley & Sons.

Kocakulah, M. C., Foroughi, A., Stott, A., & Manyoky, L. (2017). Activity-based costing: Helping small and medium-sized firms achieve a competitive edge in the global marketplace. Journal of Accounting and Marketing, 6(3), 1000245.

Salam, A., Panahifar, F., & Byrne, P. J. (2016). Retail supply chain service levels: the role of inventory storage. Journal of Enterprise Information Management, 29(6), 887-902.