กลยุทธ์การปรับตัวของร้านอินเทอร์เน็ตเพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

คเชนทร์ วงศ์ใหญ่*
นรา หัตถสิน

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและกลยุทธ์การปรับตัวของร้านอินเทอร์เน็ตในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีผ่านมุมมองของ TOWS Matrix บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ทรัพยากรภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้ประกอบการร้านอินเทอร์เน็ตจำนวน 18 รายในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม 2562 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ร้านอินเทอร์เน็ตใช้วิธีการเช่าอาคารพาณิชย์เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็กนักเรียนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งมักเข้ามาเล่นเกมออนไลน์ ดังนั้นจึงแข่งขันกันด้วยราคาเพื่อดึงดูดลูกค้าให้ใช้เวลาอยู่ในร้านอินเทอร์เน็ตนานขึ้นเนื่องจากมีความท้าทายด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโทรศัพท์มือถือที่สามารถทดแทนการใช้บริการในร้านอินเทอร์เน็ตได้ ด้วยเหตุนี้ร้านอินเทอร์เน็ตจึงพยายามปรับตัวด้วยการสร้างความสามารถทางการแข่งขันผ่านการใช้ทรัพยากรภายในที่แตกต่างกันคือ ร้านอินเทอร์เน็ตขนาดใหญ่ใช้กลยุทธ์เชิงรุก (SO) เพราะมีจุดแข็งด้านทรัพยากรทางการเงินที่มากกว่าและผู้ประกอบการมีวิสัยทัศน์ที่เหนือกว่าจึงสามารถให้การบริการที่หลากหลายและเข้าถึงง่ายกว่า ส่วนร้านอินเทอร์เน็ตขนาดเล็กใช้กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO) เพราะมีทรัพยากรทางการเงินน้อยกว่าจึงเน้นการปรับปรุงสมรรถนะของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อเกมใหม่ ๆ ที่จะสร้างความพึงพอใจของลูกค้าได้ อย่างไรก็ตาม การแข่งขันด้วยราคาไม่สามารถนำมาซึ่งความยั่งยืนในความสามารถทางการแข่งขันของร้านอินเทอร์เน็ต การศึกษานี้เสนอแนะการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างร้านอินเทอร์เน็ตและสังคม (Co-creation) ในการสร้างความสามารถทางการแข่งขันของร้านอินเทอร์เน็ตในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2556). การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงองค์การ. ปัตตานี : สถาบันเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ.

ชูเกียรติ พิทักษ์รักธรรม. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดผ่านเครือข่ายออนไลน์ของผู้ประกอบการไทย กรณีศึกษาตลาดคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต. (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, คณะบริหารธุรกิจ.

ณัฐธภรณ์ อุ่นแท่น และ จารุณี เนียมทอง. (2556). รายงานวิจัยการศึกษาผลกระทบพฤติกรรมการเสพติดอินเทอร์เน็ตต่อผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

พนิต พิกุลทอง. (2555). การปรับปรุงการบริการโดยใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ และการจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ : กรณีศึกษาร้านให้บริการอินเทอร์เน็ต. (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะวิศวกรรมศาสตร์.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร และ เบญญาภา กันทะวงศ์วาร. (2553). การบริหารความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยการวัดผลปฏิบัติแบบดุลยภาพ ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 2(1), 41-57.

วสุธิดา นักเกษม และ ประสพชัย พสุนนท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจบริการในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสาร Veridian E –Journal,Silpakorn Universityฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 2148-2167.

วิไลภรณ์ สำเภาทอง. (2561). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์และการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจผลิตภัณฑ์เวชสำอาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. บัณฑิตวิทยาลัย.

สมเกียรติ น้อยคำมูล. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอินเทอร์เน็ตของลูกค้าในจังหวัดสิงห์บุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, คณะวิทยาการจัดการ.

สรวิศ ปิ่นรัตนานนท์. (2555). ความได้เปรียบทางการแข่งขันและความสามารถของผู้ประกอบการต่อความสำเร็จทางการตลาดธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, คณะบริหารธุรกิจ.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2561). เผยสถิติผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ปี 2561 ในประเทศไทยThailand Internet User Profile 2018. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2561, จากhttps://blog.ourgreenfish.com/th/สถิติผู้ใช้งานอินเทอร์

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี. (2562). ข้อมูลสถานประกอบกิจการร้านอินเทอร์เน็ตในพื้นที่อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างปี 2557 – 2561. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://docs.google.com/spreadsheets/d/1od_wYp8N6AsNdLMLkjqce_RoG2gRwErl/edit#gid=1820209361

สำนักงานสถิติจังหวัดอุบลราชธานี. (2561). ข้อมูลสถิติจากการสำมะโน/อุบลราชธานี/รายงานสถิติจังหวัด/สถิติการสื่อสารรวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร/ 2561. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม, 2561, จาก http://ubon.nso.go.th/index.php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=506

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). กลยุทธ์การตลาด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เอกชัย อภิศักดิ์กุล และ ทรรศนะ บุญขวัญ. (2549). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Aguilar, F. J. (1967). Scanning the Business Environment. New York: Macmillan.

Barney, J. (1991). Firm resources and sustained competitive advantage. Journal of Management, 17(1), 99–120.

Cakmak, V., & Aktan, E. (2018). Internet cafes, young people and game interaction: A study in the context of subculture. MANAS Journal of Social Studies, 7(3), 585-600.

Coyne, K. P. (1986). Sustainable competitive advantage: What it is, what it isn't. Business Horizons, 29(1), 54-61.

Forsman, S. (2004). How do small rural food-processing firms compete?: A resource-based approach to competitive strategies. (Doctoral dissertation). University of Helsinki, Faculty of Agriculture and Forestry.

Gomez, K., Mawhinney, T., & Betts, K. (2020). Welcome to generation Z. Deloitte. Retrieved May 1, 2020, from https://www2.deloitte.com/content/dam/Deloitte/us/Documents/consumer-business/welcome-to-gen-z.pdf

Hansson, P. O., & Wihlborg, E. (2011). Internet café as a supportive educational arena-A case study from the urban slum of Kibera, Nairobi, Kenya. In International Technology, Education and Development Conference, 5966-5975, Valencia.

Helms, M. M., & Nixon, J. (2010). Exploring SWOT analysis-Where are we now? A review of academic research from the last decade. Journal of Strategy and Management, 3(3), 215-251.

Hu, Y. S. (1995). The international transferability of the firm’s advantages. California Management Review, 37(4), 73-88.

Kara, N., & Cagiltay, K. (2013). Flow experiences of adolescents in terms of internet café environment and computer game play characteristics. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 89, 298-307.

Montero, J. N., & Balacuit, C. V. (2018). Effective management strategies for internet café business establishments and its services. International Journal of Business and Applied Social Science (IJBASS), 4(11), 34-44.

Newzoo. (2018). Mobile Revenues Account for More Than 50% of the Global Games Market as It Reaches $137.9 Billion in 2018. Retrieved May 1, 2020, from https://newzoohq.medium.com/mobile-revenues-account-for-more-than-50-of-the-global-games-market-as-it-reaches-137-9-2c444719f3f2

O’Regan, M. (2008). Hypermobility in backpacker lifestyles: The emergence of the internet café. In Tourism and Mobilities: Local-Global Connections (pp. 109-132). n.p.: Cabi.

Porter, M. E. (1979). How competitive forces shape strategy. Harvard Business Review, 57(2), 113-145.

Wernerfelt, B. (1984). A resource-based view of the firm. Strategic Management Journal, 5(2), 171-180.