ทัศนคติและแนวทางการพัฒนาขนมไทยในประเทศสิงคโปร์

Main Article Content

กัญญ์ญาณัฐ จึงพัฒนา*
ธวมินทร์ เครือโสม

บทคัดย่อ

     วัตถุประสงค์ในการวิจัยนี้เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ที่มีต่อขนมไทยและนำเสนอแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงขนมไทยให้เป็นที่ยอมรับในประเทศสิงคโปร์ การวิจัยนี้ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้บริโภค ชาวสิงคโปร์ที่ซื้อสินค้าประเภทขนมไทยในบริเวณศูนย์การค้า Golden Mile Complex ประเทศสิงคโปร์ จำนวน 15 คน ใช้วิธีคัดเลือกตามความสะดวก และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


         ผลการวิจัยทัศนคติของผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ที่มีต่อขนมไทย พบว่า (1) ด้านความรู้ความเข้าใจ ผู้บริโภคส่วนใหญ่เกิดจากการที่ได้เดินทางไปประเทศไทย และจากการแนะนำจากเพื่อน ๆ (2) ด้านความรู้สึก ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชื่นชอบความอร่อย หอม หวาน ราคาที่มีความสมเหตุสมผล และมีสถานที่จัดจำหน่ายหลายสาขา และ (3) ด้านพฤติกรรม ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความถี่ในการซื้อขนมไทย เฉลี่ยที่ 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ และมีการบอกต่อความประทับใจผ่านสื่อสังคมออนไลน์


        จากผลการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงขนมไทยให้เป็นที่ยอมรับในประเทศสิงคโปร์ พบว่า (1) กลยุทธ์เชิงรุก ผู้ประกอบการควรสร้างสื่อทางสื่อสังคมออนไลน์และสื่อออฟไลน์ (2) กลยุทธ์เชิงแก้ไข ควรมีการปรับปรุงการผลิตขนมโดยการปรุงรสให้หวานมันน้อยลงและใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น (3) กลยุทธ์เชิงป้องกัน ควรเพิ่มช่องทางจัดจำหน่ายแบบบริการส่งอาหารถึงที่ ให้แก่ผู้บริโภคผ่านช่องทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ และ (4) กลยุทธ์เชิงรับ ควรปรับปรุงกรรมวิธีและวัตถุดิบในการผลิตขนมให้เข้ากับกระแสสุขภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
จึงพัฒนา* ก., & เครือโสม ธ. . . (2022). ทัศนคติและแนวทางการพัฒนาขนมไทยในประเทศสิงคโปร์. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(1), 1–17. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/251409
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมการค้าภายใน. (2561). รายงานผลการศึกษาจัดทำรูปแบบและแนวทางการส่งเสริมพัฒนาหมูบ้านทำมาค้าขาย. นนทบุรี : โพธิศิรินทร์ ไทยคอนซัลแต๊นท์.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). พาณิชย์ เดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่ภาคบริการ สนับสนุนนโยบายครัวไทยสู่ ครัวโลก. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=469416926

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2562 ก). เทรนด์ร้านอาหารในสิงคโปร์. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564, จาก https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/555707/555707.pdf&title=555707&cate=1154&d=0

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2562 ข). รายงานอุตสาหกรรมจากสิงคโปร์. กรุงเทพฯ : กระทรวงพาณิชย์.

กิ่งกาญจน์ สำเริง, น้ำฝน ฉ่ำไกร, สุสิตรา สิงโสม และ วิรัชยา อินทะกันฑ์. (2559). พฤติกรรมการบริโภคขนมไทยของนักศึกษามหาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ขจรศักดิ์ จ้อยศรีเกตุ. (2559). การออกแบบขนมไทยและอัตลักษณ์ของแบรนด์เพื่อแสดงถึงวัฒนธรรมการให้ของไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ.

เจณิภา คงอิ่ม, อมรา รัตตากร และ ชยุตม์ วะนา. (2562). กลยุทธ์การตลาดเพื่อส่งเสริมขนมไทยท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 12(2), 150-157.

ชญานิศ เต็นภูษา, บุณฑริกา พวงศรี และ ภฤศญา ปิยนุสรณ์. (2561). การศึกษาการออกแบบผลิตภัณฑ์และการสร้าง มูลค่าเพิ่มธุรกิจลูกชุบ กรณีศึกษาร้านขนมลูกชุบ Lucky Bean อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. ใน การประชุม วิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี 2561. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นุสรา แสงอร่าม. (2561). ดัชนีชี้วัดเพื่อกำหนดมาตรฐานการตลาดร้านขนมไทยในมุมมองของผู้ประกอบการสู่ตลาดต่างประเทศ. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการตลาด.

พิมพินิจ ผิวผ่อง. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริโภคขนมหวานในอำเภอหัวหิน. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.

ภาวิณี กาญจนาภา. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล, วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์ และ กนกกรรณ์ ลี้โรจนาประภา. (2561). การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและเมททริกซ์ทาวซ์เพื่อพัฒนายุทธวิธีการเพิ่มศักยภาพโซ่อุปทานผ้าไหมไทย-ลาว. วารสารการจัดการ, 7(3), 15-26.

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงสิงคโปร์. (2564). สิงคโปร์กับนโยบายสร้างความมั่นคงด้านอาหาร. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564, จาก https://www.bangkokbanksme.com/en/singapore-and-food-security-policy

สุดา ไพลิน. (2559). พฤติกรรมการบริโภคขนมไทยของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรม.

อนาฐีตา กัปป์ และ นงลักษณ์ มโนวลัยเลา. (2559). ธุรกิจขนมไทยทางเลือกเพื่อสุขภาพสำหรับผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10(2), 274-288.

Global Food Security Index. (2020). Rankings and trends. Retrieved May 1, 2021, from https://foodsecurityindex.eiu.com/index