การเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการหลังเกษียณของข้าราชการครู ภาคตะวันออก

Main Article Content

อินทัช อนันต์นาวีนุสรณ์*
เพชรรัตน์ วิริยะสืบพงศ์

บทคัดย่อ

            การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประเด็น ดังนี้ 1) เพื่อสำรวจการเตรียมความพร้อมเพื่อเริ่มต้นธุรกิจของข้าราชการครู 7 ด้าน และความรู้ความเข้าใจรูปแบบธุรกิจ 99 องค์ประกอบ ของข้าราชการครูที่เกษียณแล้วมีธุรกิจเป็นของตนเอง 2) เพื่อสำรวจการเตรียมความพร้อมเพื่อเริ่มต้นธุรกิจของข้าราชการครู 7 ด้าน และความรู้ความเข้าใจรูปแบบธุรกิจ 9 องค์ประกอบ ของข้าราชการครูที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการหลังเกษียณ และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการหลังเกษียณของข้าราชการครู ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ในรูปแบบตามขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย  โดยการทำเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และตามด้วยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)  โดยมีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพอย่างน้อย 5 คน หรือจนกว่าข้อมูลจะอิ่มตัว โดยมีเกณฑ์การเลือกจำนวนกลุ่มเป้าหมาย 4 เกณฑ์ ดังนี้ 1) ลักษณะธุรกิจเจ้าของคนเดียว 2) ประเภทธุรกิจ ได้แก่ เป็นผู้ผลิตเอง พ่อค้าคนกลาง และการบริการ 3) ประสบการณ์ของการทำธุรกิจนั้น 5 ปีขึ้นไป 4) เงินลงทุนในการดำเนินธุรกิจไม่เกิน 10 ล้านบาท และใช้การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation Technique) ส่วนในเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม 300 คน โดยอาศัยแนวคิดของ Hair, Black, Babin, and Anderson (2010) ได้แก่ อัตราส่วนระหว่างกลุ่มตัวอย่างต่อจำนวนพารามิเตอร์หรือตัวแปร เพื่อให้เหมาะสมในการวัดคือ 15 ตัวอย่าง ต่อ 1 พารามิเตอร์หรือตัวแปร ซึ่งงานวิจัยนี้มีตัวแปรอยู่ทั้งหมด 16 ตัวแปร ได้แก่ การเตรียมความพร้อมเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจหลังเกษียณของข้าราชการครู 7 ด้านและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจ ทั้ง 9 องค์ประกอบ ดังนั้นงานวิจัยครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่าง 240 ตัวอย่าง แต่เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของข้อมูลงานวิจัยให้มากขึ้นผู้วิจัยได้เพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างอีก 60 ตัวอย่างรวมเป็น 300 ตัวอย่าง และใช้การวิเคราะห์หาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) เป็นการวิเคราะห์เพื่อสำรวจและระบุองค์ประกอบร่วม (Common Factor) โดยผลการวิจัย พบว่าการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการหลังเกษียณของข้าราชการครู ภาคตะวันออก มีรูปแบบการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการหลังเกษียณของข้าราชการครู 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มของปัจจัยด้านการบริหารจัดการแบบสมดุล (Balanced Scorecard) 4 ด้าน กลุ่มของปัจจัยด้านสุขภาวะและคุณภาพชีวิต 3 ด้านและกลุ่มของความรู้ความเข้าใจในรูปแบบธุรกิจ ซึ่งใน 3 กลุ่มนี้แสดงถึงแนวทางการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการหลังเกษียณของข้าราชการครู ภาคตะวันออก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2559). หนี้สินของสมาชิกครูในระบบสหกรณ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 จาก https://www.cad.go.th/ewt_news.php?nid=14319

บรรลุ ศิริพานิช. (2550). คู่มือผู้สูงอายุฉบับเตรียมตัวก่อนสูงอายุ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ และ ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2556). ประชากรไทยในอนาคต. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2562 จาก http://www.hed.go.th/menuHome/file/140

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สถิติการศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2563 จาก

http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx

สุขใจ น้ำผุด, อนุชนาฏ เจริญจิตรกรรม, และ สมนึก วิวัฒนะ. (2557). กลยุทธ์การบริหารการเงินส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนงค์นาฏ ผ่านสถิน. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมตัวก่อนการเกษียณของข้าราชการครูจังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหิดล, บัณฑิตวิทยาลัย.

อารยา แป๊ะป๋อง. (2558). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล การประเมินองค์กรแบบสมดุล (Balanced Scorecard) และการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในเขตย่านธุรกิจการค้าสีลม. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, บัณฑิตวิทยาลัย.

Al-Gamazi, R. Z., & Kaddumi, T. A. (2020). Balanced scorecard implementation and its effect on banks` financial. International Journal of Innovation, Creativity and Change, 13(10), 654-673.

Atchley, R. C. (1980). The Social Forces in Later Life: An Introduction to Social Gerontology (3rd ed). California : Wadsworth publishing company.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ : Pearson.

Kaplan, R. S. & Norton, D. P. (1996). Using the balanced scorecard as a strategy management system. Harvard Business Review, (January/February), 75-85.

Koul, L. (1984). Methodology of Educational Research. New Delhi: Vikas Publishing House.

Lee, W. K. M., & Law, K. W. K. (2004). Retirement planning and retirement satisfaction: The need for a national retirement program and policy in Hong Kong. Journal of Applied Gerontology, 23(3), 212-233.

Osterwalder, A. & Peigner, Y. (2010). Business Model Generation. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc. Hoboken.

Zorek, T. J. (2020). Successful balanced scorecard implementation strategies for a manufacturing organization. (Doctoral Dissertation). Walden University, College of Management and Technology.