การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการสาธารณะ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

Main Article Content

ทวนธง ครุฑจ้อน*
ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ
อภิรดี จิโรภาส

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตและเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนผู้รับบริการงานบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต จำนวน 1,267 คน และผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 20 คน โดยใช้แบบสอบถามและแนวคำถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐานและการสร้างข้อสรุป


             ผลการวิจัยพบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตในภาพรวมระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเภทงานบริการเป็นดังนี้ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการงานการจ่ายเงินมากที่สุด รองลงมาคือ งานสวนสุขภาพเขาโต๊ะแซะ งานบริการรถห้องสมุดเคลื่อนที่ และงานคลินิกหน้าเล ตามลำดับ สำหรับรายด้านบริการเป็นดังนี้ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านช่องทางการให้บริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านขั้นตอนการให้บริการ ตามลำดับ


               ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตที่สำคัญ คือ ควรประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจให้กับผู้รับบริการในการให้บริการงานบริการรถห้องสมุดเคลื่อนที่ผ่านช่องทางออนไลน์ ควรมีนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาหรือปรับภูมิทัศน์บริเวณสถานที่หรือพื้นที่ให้บริการงานคลินิกหน้าเล ควรมีการจัดบริเวณหรือพื้นที่สำหรับให้ผู้มาติดต่อรอรับบริการงานการจ่ายเงิน และควรแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสัตว์ที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้มาใช้บริการในพื้นที่ให้บริการของบริเวณสวนสุขภาพเขาโต๊ะแซะ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรวรรณ สังขกร, สุรีย์ บุญญานุพงศ์, ศิริศักดิ์ มีเมล์, กาญจนา จี้รัตน์ และเพ็ญพิชชา สุรินต๊ะ. (2555). รายงานโครงการสำรวจคุณภาพความพึงพอใจงานบริการสาธารณะตามยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ประจำปี 2555 (รายงานวิจัย). เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชนะดา วีระพันธ์. (2555). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. (ปัญหาพิเศษปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน.

ทวนธง ครุฑจ้อน. (2561). การปกครองท้องถิ่นและการบริหารท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

ทวนธง ครุฑจ้อน, ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ, อรสา อนันต์ และอภิรดี จิโรภาส. (2562). การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. ภูเก็ต: องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต.

ทวนธง ครุฑจ้อน, ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ, อรสา อนันต์ และอภิรดี จิโรภาส. (2563). การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์. 3(1), 11-23.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภนิดา ชัยปัญญา. (2541). ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อกิจกรรมไร่นาสวนผสมภายใต้โครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตรของจังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะเกษตรศาสตร์, สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร.

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. (2559). การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนในจังหวัดภูเก็ตที่มีต่อการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ 2559. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. (2561). การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนในจังหวัดภูเก็ตที่มีต่อการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ 2561. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. (2560). การประเมินผลความพึงพอใจของผู้รับบริการเทศบาลตำบลกระหวัน อำเภอ ขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (รายงานวิจัย). ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏ ศรีสะเกษ.

รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์, ธารทิพย์ พจน์สุภาพ, อาจารีย์ ประจวบเหมาะ และใกล้รุ่ง กระแสร์สินธุ์. (2560). การสำรวจความ พึงพอใจของผู้รับบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. วารสารสารสนเทศ. 16(1), 37-47.

วิจิตร วิชัยสาร, สมาน งามสนิท, พรภัทร์ หวังดี และอรทิณี ทวยนาค. (2558). การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานีกับยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต (ประจำปีงบประมาณ 2557). วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 5(2), 122-130.

สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2558). การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ประจำปีงบประมาณ 2558. อุดรธานี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2560). การประเมินความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลเมืองหนองสำโรง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (รายงานวิจัย). อุดรธานี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สุธรรม ขนาบศักดิ์. (2560). ความพึงพอใจต่อการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 10(1), 64-84.

สุนันทา ทวีผล. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการด้านให้คำปรึกษาแนะนำปัญหาด้านกฎหมายของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย ‎3‎ (สคช.). (ปัญหาพิเศษปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, สาขาวิชาการบริหารทั่วไป.

สำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต. (2562). รายงานสถิติจังหวัดภูเก็ต. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562, จาก

http://phuket.nso.go.th/

องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต. (2562ก). ขอบเขตการดำเนินงาน (Term of Reference: TOR) สำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. ภูเก็ต: องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต. (2562ข). วิสัยทัศน์และพันธกิจ องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2562, จาก http://www.phuketcity.org/vision_responsibility.php

อมรารัตน์ บุญภา. (2557). ความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลพวา อำเภอแก่ง หางแมว จังหวัดจันทบุรี.(งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยบูรพา, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน.

Badran, A. T., Mohamed, A. F., Al Ghais, M. R., & Hamdy, H. I. (2020). Measuring citizen satisfaction with public services delivery: Evidence from Kuwait public sector. Frontiers in Management Research, 4(1), 8-17.

Bryman, A. (2004). Social research methods. 2nd Ed. New York: Oxford University Press.

Engdaw, B. D. (2020). The impact of quality public service delivery on customer satisfaction in Bahir Dar city administration: The case of Ginbot20 sub-city. International Journal of Public Administration, 43(7), 644-654.

Mabry, E. A. & Atiridge, M. D. (1990). Small group interaction and outcome correlates for structured and unstructured tasks. Small Group Research, 21(3), 315-332.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. 2nd Ed. New York: Harper and Row.