ปัจจัยที่มีผลต่อระดับทักษะทางการเงิน: กรณีศึกษาเกษตรกรในอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับทักษะทางการเงิน และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระดับทักษะทางการเงินของเกษตรกรในอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ซึ่งเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานด้านประชากร ตอนที่ 2 ข้อมูลทางการเงิน และตอนที่ 3 ข้อมูลทักษะทางการเงิน ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ด้านคือ ด้านความรู้ทางการเงิน ด้านพฤติกรรมทางการเงิน และด้านทัศนคติทางการเงิน ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยมีจำนวนเท่ากับ 369 คน โดยใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ สถิติการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 ตัว สถิติความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลสรุปจากการวิจัยพบว่า คะแนนทักษะทางการเงินที่ได้จากผลรวมของความรู้ทางการเงิน พฤติกรรมทางการเงิน และทัศนคติทางการเงิน อยู่ในระดับสูง โดยสิ่งที่น่าสนใจคือกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตอบคำถามผิดใน 4 ข้อคำถาม ได้แก่ มูลค่าของเงินตามกาลเวลา การคำนวณดอกเบี้ยแบบทบต้น เงินเฟ้อ และการกระจายความเสี่ยง นอกจากนี้ยังพบอีกว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทัศนคติการชีวิตอยู่แค่วันนี้ไม่วางแผนเพื่ออนาคต สำหรับผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่า ระดับการศึกษา จำนวนที่ดินทำกิน จำนวนรายได้ และจำนวนรายจ่าย มีผลต่อระดับทักษะทางการเงินของเกษตรกรในอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
Downloads
Article Details
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.
จรัลพิสิษฐ์ จ่างพันธุ์. (2562, 24 ตุลาคม). พะเยาโมเดลนำร่องขายข้าวหอมมะละ 18,000 บาทต่อตัน. [ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. คมชัดลึก. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2562, จาก https://www.komchadluek.net/news/regional/ 395054
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2553). พื้นฐานการวางแผนการเงิน. กรุงเทพฯ: บริษัท บุญศิริการพิมพ์ จำกัด.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559). รายงานผลการสำรวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2559. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2562, จาก https://www.1213.or.th/th/aboutfcc/knownfcc/Documents/ThaiFLsurvey59.pdf
นิศานาถ มั่งศิริ และธิดารัตน์ ตันนิรัตร์. (2561). การส่งเสริมการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของประชาชน ในจังหวัดนครนายก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 7, 101-120.
รัชนีกร วงศ์จันทร์. (2558). การบริหารการเงินส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: บริษัท บุญศิริการพิมพ์ จำกัด.
รัฐชัย ศีลาเจริญ, พรอนงค์ บุษราตระกูล, อนิรุต พิเสฏฐศลาลัย, รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น, ณรงค์ฤทธิ์ อัศวเรืองพิภพ, และสุนทรี เหล่าพัดจัน. (2559). ประสิทธิผลของการให้ความรู้ต่อการตัดสินใจเลือกแผนการลงทุนสำหรับการเกษียณอายุ. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 38(150), 149-190.
รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร และนิศรา จันทร์เจริญสุข. (2556). การจัดทำบัญชีครัวเรือนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น, 7(1), 23-36.
วิกรานต์ เผือกมงคล. (2560). ความรู้ทางการเงินของประชาชนจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(3), 311-323.
วิไล เอื้อปิยฉัตร. (2560). ความรู้ทางการเงิน: ตัวกำหนดและผลกระทบที่มีต่อพฤติกรรมการออม. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(47), 67-93.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
เสาวนีย์ สุวรรณรงค์. (2557). ความรู้แห่งยุคสมัย. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2562, จาก http://capital.sec.or.th/webedu/ upload/file-21052014155831654.pdf
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: วิสิทธิพัฒนา.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สถิติข้อมูลทางการเงินภาคครัวเรือนของจังหวัดพะเยา. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2562, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/08.aspx
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร. (2562). จำนวนเกษตรกรในอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. สืบค้น 8 ธันวาคม 2562, จาก http://www.ndoae.doae.go.th/alc.php?item=oh463g&fbclid=IwAR1EWUUvGmoaSoMx7Bg H4mE3KlaSLq_8sfzXssYH7CS0nBP987i4cOCooSQ
Halilovic, S., Zaimovic, A., Berilo, A. A., & Zaimovic, T. (2019). Financial literacy assessment in Bosnia and Herzegovina. Procedia Computer Science, 158, 863-843.
Huston, S. J. (2010). Measuring financial literacy. The Journal of Consumer Affairs, 44(2), 296-316.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Lopus, J. S., Amidjono, D. S., & Grimes, P. W. (2019). Improving financial literacy of the poor and vulnerable in Indonesia: A empirical analysis. International Review of Economics Education, 32, 1-14.
Potrich, A. C. G., Vieira, K. M., & Mendes-Da-Silva, W. (2016). Development of a financial literacy model for university students. Management Research Review, 39(3), 356-376.
Skagerlund, K., Lind, T., Stromback, C., Tinghog, G., & Vastfjall, D. (2018). Financial literacy and the role of numeracy-how individuals’ attitude and affinity with numbers influence financial literacy. Journal of Behavioral and Experimental Economics, 74, 18-25.
The Organization for Economic Co-operation and Development. (2009). Framework for the development of financial literacy baseline surveys. Retrieved December 15, 2019, from http://www.oecd.org/ finance/financial-education/45153314.pdf
Titko, J., Ciemleja, G., & Lace, N. (2015). Financial literacy of Latvian citizens: Preliminary survey results. Procedia–Social and Behavioral Sciences, 213, 12-17.