การศึกษาแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

Main Article Content

ณัฏฐกันย์ สืบศรี*
ชนิดา ยาระณะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุของปัญหาการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของเจ้าหน้าที่ในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของเจ้าหน้าที่ ตามลักษณะประชากรศาสตร์ (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักวิชาการเงินและบัญชีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีในศึกษาธิการจังหวัด ทำการเก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 70 คน และการสัมภาษณ์ จำนวน 14 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS และการถอดรหัส แบ่งกลุ่มข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของเจ้าหน้าที่ในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด คือ ทำงานไม่ทัน สาเหตุเพราะภาระงานมีมาก เนื่องจากรับคนไม่เต็มกรอบอัตรากำลัง ปฏิบัติหลายหน้าที่ ขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานทำให้เกิดข้อผิดพลาด งานล่าช้าและประสิทธิภาพลดลง จากการวิเคราะห์ระดับปัญหาการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของเจ้าหน้าที่ ตามลักษณะประชากรศาสตร์ พบว่า เจ้าหน้าที่ในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดประสบปัญหาด้านการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มตัวอย่างได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นไปตามหลักการควบคุมภายในที่ดีว่า ควรมีการสรรหาบุคลากรให้ครบตามกรอบอัตรากำลังและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้ตรงตามมาตรฐานตำแหน่ง ให้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถด้านการเงินและบัญชีโดยตรงมาปฏิบัติงานและมีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีการพัฒนาการปฏิบัติงานโดยจัดอบรมให้ความรู้กับบุคลากรอย่างสม่ำเสมอและจัดทำคู่มือแนวทางการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีเพื่อเป็นกรอบในการดำเนินงานตามขั้นตอนที่ถูกต้องตามระเบียบและข้อบังคับของทางราชการ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

การปฏิรูปการศึกษาในส่วนภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ. (2560, 3 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134, ตอนพิเศษ 96 ง, หน้า 14-22.

จิตติมา ขำดำ, สุพิศ ฤทธิ์ และสมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2562). ความรู้ความสามรถของนักบัญชีและความเข้าใจในมาตรฐานการจัดทำบัญชีภาครัฐที่มีผลต่อประสิทธิภาพงานบัญชีของสำนักงานอัยการสูงสุด. วารสารนักบริหาร, 39(2), 52-65.

ประสพ กันจู. (2562). ข้อตรวจพบจากการปฏิบัติงานการเงินและบัญชี สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด พ.ศ. 2561. เอกสารประกอบการอบรมโครงการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค : หลักสูตรการพัฒนาบุคลากรด้านการเงิน บัญชีและพัสดุ, นครปฐม : สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

มาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ พ.ศ. 2561. (2561, 20 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135, ตอนพิเศษ 231 ง, หน้า 9.

รัชนี เจริญวารี. (2559). อิทธิพลของแนวคิดทางการบัญชี (Accounting value) กับผลการดำเนินงาน : กรณีศึกษาบริษัท

จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์, สาขาวิชาการบัญชีบริหาร.

รัตนาภรณ์ ศุภประเสริฐ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของงานการเงินและบัญชีของสถาบัน ศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, คณะบริหารธุรกิจ, วิชาเอกการบัญชี.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์.

วีรนันท์ พาวดี. (2556). แนวทางพัฒนางานการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยแม่โจ้. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, คณะบริหารธุรกิจ.

สุทธิดา จันทร์คง. (2543). แนวทางพัฒนางานการเงินและบัญชีของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคพายัพ. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย.

สรวิชญ์ เปรมชื่น. (2562). การส่งเสริมการบริหารจัดการภาครัฐของไทย. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 5(1), 214-228.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือปฏิบัติงานสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด. กรุงเทพฯ.

สำนักบัญชีและตรวจสอบภายใน. (2551). แนวปฏิบัติระบบการควบคุมภายในภาคราชการ. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง

Abimbola, A. O., Ben-Caleb, E., Joseph, M. U., Adekunle, A. E., & Damilola, E. F. (2020). International public sector accounting standards (IPSAS) adoption and implementation in Nigerian public sector. International Journal of Financial Research, 11(1), 434-446.

Araújo, J. G. N., & Souza, F. G. (2020). Walking toward IPSAS adoption: a discussion about Brazilian public sector changes under the perspective of institutional theory. CAFI, 3(1), 103-113.

Bandura, A. (1986). Social Foundations of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. Englewood Cliffs, N.J. : Prentice-Hall.

Kolk, B., Bogt, H. J., & Dirks, P. M. G. (2019). The impact of management control on employee motivation and performance in the public sector. European Accounting Review, 28(5), 901-928.

Ouda, H. A. G., & Klischewski, R. (2019). Accounting and politicians: a theory of accounting information usefulness. Journal of Public Budgeting, Accounting & Financial Management, 31(4), 496-517.

Rajib, S. U., Adhikari, P., Hoque, M., & Akter, M. (2019). Institutionalisation of the cash basis international public sector accounting standard in the central government of Bangladesh. Journal of Accounting in Emerging Economies, 9(1), 28-50.

Steccolini, I. (2019). Accounting and the post-new public management re-considering publicness in accounting research. Accounting, Auditing & Accountability Journal, 32(1), 255-279.