มุมมองของพนักงานในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกด้านความพร้อมของบริษัทในการเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0

Main Article Content

ธีรชาติ คงสมัย*
จุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับผลกระทบต่อธุรกิจและความเร่งด่วนในการพัฒนาสู่ความเป็นอุตสาหกรรม 4.0 ของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะตามมุมมองของพนักงาน และ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบในการเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานในบริษัทขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 230 คน เก็บตัวอย่างโดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบโควต้า นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ทั้งสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการศึกษาพบว่าการใช้ระบบเชื่อมต่อที่ครบวงจรแบบดิจิตอลมีระดับผลกระทบและความเร่งด่วนมากที่สุดในการพัฒนาสู่ความเป็นอุตสาหกรรม 4.0  ผลจากการวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่าสามารถจัดกลุ่มองค์ประกอบการเป็นอุตสาหกรรม 4.0 ของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้จำนวน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การตรวจสอบและการควบคุมไร้สายแบบอัตโนมัติที่มีการเชื่อมโยงของเซ็นเซอร์ของข้อมูลภายในบริษัทที่ครบวงจร 2) ความสม่ำเสมอในการเพิ่มพูนความรู้ของคน เครื่องจักร และการวิเคราะห์ข้อมูล ประมวลผลบนระบบคลาวด์ 3) การบำรุงรักษาแบบคาดการณ์ล่วงหน้า 4) ระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และ 5) การออกแบบการผลิตและการควบคุมแบบดิจิทัล

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กฎกระทรวงกำหนดจำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2545. (2545, 20 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 119 ตอนที่ 93 ก. หน้า 17-19.

กระทรวงแรงงาน. (2560). ดัชนีชี้วัดภาวะแรงงาน พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก https://www.mol.go.th/wp-content/uploads/sites/2/2019/03/rwmelmhnangsuuedachniichiiwadphaawaaerngngaan_ph.s.2560.pdf

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

เจน นำชัยศิริ. (2558). Thai Industries 2026 กับแนวทางอุตสาหกรรมในอนาคต. Industry Focus, 4(50), 5-7.

ธีระดา ภิญโญ. (2561). เทคนิคการแปลผลการวิเคราะห์องค์ประกอบสำหรับงานวิจัย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(ฉบับพิเศษ), 292-304.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2558). พัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางการจัดการอนาคต. Future Management, (119), 11-18.

สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. (2562). จำนวนผู้ประกอบการและแรงงาน. สืบค้นจาก http://eiu.thaieei.com/Labour.aspx.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2562). อุตสาหกรรมอิเลกทรอนิกส์อัจฉริยะ. สืบค้นจาก https://www.eeco.or.th.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). มูลค่าและอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP: Gross Domestic Product). สืบค้นจาก https://www.nesdb.go.th/main.php?filename=qgdp_page.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2560). อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) แนวทางของอุตสาหกรรมแห่งอนาคต. สืบค้นจาก https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/11529-industry-4-0.

สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). ประเทศไทย 4.0. สืบค้นจาก http://www.parliament.go.th/library

Antonsson, M. (2017). Industry 4.0 where are Swedish manufacturers in the transition towards Industry 4.0? (Master’s thesis). Chalmers University of Technology, Department of Technology Management and Economics.

Berger, R. (2016). Digitalisering av svensk industry. Retrieved from https://www.vinnova.se/contentassets/74b4b3181824438585898a378b2bc726/digitalisering-av-svensk-industri.pdf.

Haddara, M., & Elragal, A. (2015). The readiness of ERP systems for the factory of the future. Procedia Computer Science, 64(2015), 721-728.

Hamzeh, R., Zhong, R., & Xu, X. W. (2018). A survey study on industry 4.0 for New Zealand manufacturing. Procedia Manufacturing, 26(2018), 49-57.

Hecklau, F., Galeitzke, M., Flachs, S., & Kohl, H. (2016). Holistic approach for human resource management in industry 4.0. Procedia CIRP, 54 (2016), 1-6

Hermann, M., Pentek, T., & Otto, B. (2016). Design principles for industrie 4.0 scenarios. In L., O’Conner (Ed.). 2016 49th Hawaii International Conference on System Sciences (HICSS), 3928-3937.

McKinsey Digital. (2016). Industry 4.0 after the initial hype, where manufacturers are finding value and how they can best capture it. Retrieved from https://www.mckinsey.com/~/media/mckinsey/business%20functions/mckinsey%20digital/our%20insights/getting%20the%20most%20out%20of%20industry%204%200/mckinsey_ind ustry_40_2016.ashx.

Moeuf, A., Pellerin, R., Lamouri, S. & Giraldo, S., T. (2017). Industry 4.0 and the SME: a technology-focused review of the empirical literature. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/326345441_Industry_40_and_the_SME_a_technology-focused_review_of_the_empirical_literature.

Schumacher, A., Erol, S. & Sihn, W. (2016). A maturity model for assessing Industry 4.0 readiness and maturity of manufacturing enterprises. Procedia CIRP, 52 (2016), 161-166

Stock, T. & Seliger, G. (2016). Opportunities of sustainable manufacturing in industry 4.0. Procedia CIRP, 40(2016), 536-541.

Lorenz, M., Küpper, D., Rüßmann, M., Heidemann, A., & Bause, A. (2016). Time to accelerate in the race toward Industry 4.0. Retrieved from http://www.metalonia.com/w/documents/BCG-Time-to-Accelerate-in-the-Race-Toward-Industry-4.0-May-2016_tcm80-209674.pdf.