รูปแบบการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสถาบันการอาชีวศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์*
พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ
รุ่งทิวา ชูทอง
อาคีรา ราชเวียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสถาบันการอาชีวศึกษาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ประเมินรูปแบบการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสถาบันการอาชีวศึกษาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เสนอรูปแบบการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสถาบันการอาชีวศึกษาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสถาบันการอาชีวศึกษา 2) การใช้เทคนิคเดลฟายกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาองค์ประกอบด้านการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสถาบันการอาชีวศึกษา จำนวน 15 คน 3) การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เพื่อทราบข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม และ 4) ประเมินรูปแบบจากความคิดเห็นของผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษาและบุคลากรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 525 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสถาบันการอาชีวศึกษามีความเหมาะสมในระดับมาก โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 6 ด้าน ได้แก่ 1) การยึดองค์กรเป็นศูนย์กลาง 2) การปรองดอง 3) การไกล่เกลี่ย 4) การยอมให้ 55) การหลีกเลี่ยง และ 6) การแข่งขัน และมีตัวชี้วัดทั้งหมด 32 ตัว

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
วรพงศ์พัชร์* ณ. . ., ผกามาศ พ. ., ชูทอง ร. ., & ราชเวียง อ. . (2021). รูปแบบการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสถาบันการอาชีวศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 10(1), 23–35. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/219168
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, ชัยวัฒน์ ประสงค์สร้าง และอุษา งามมีศรี. (2561). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครูผู้สอนยุคเศรษฐกิจดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านมนุษย์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 8. ภุเก็ต: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตภูเก็ต.

รุ่งฤดี สุวรรณโคตร. (2555). ตัวชี้วัดการจัดการความขัดแย้งสำหรับการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บัณฑิตวิทยาลัย.

วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย. (2554). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งในนโยบายกระจายอำนาจการจัดการศึกษาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์.

สุทธญาณ์ ใจซื่อ และเด่น ชะเนติยัง. (2562). รูปแบบการบริหารความขัดแย้งตามแนวความคิดใหม่ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 14(1), 171-181.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). มาตรฐานการอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

Bradford, K. D., Stringfellow, A., & Weitz, B. A. (2004). Managing conflict to improve the effectiveness of retail networks. Journal of Retailing, 80(3), 181-195.

Miall, H., Ramsbothan, O., & Woodhouse, T. (2011). Contemporary Conflict Resolution. Cambridge: Polity Press.

Morris, C. (2004). Managing conflict in health care settings: principles, practices & policies. Bangkok, Thailand. Prepared for a workshop at King Prajadhipok’s Institute.

Robbins, S. P., & Judge, T. A. (2013). Organizational Behavior. 15th ed. New Jersey: Pearson Education, Inc.

Stenner, K. (2005). Conflict Avoidance and Political Participation. Cambridge: Cambridge University Press.