ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมต้นทุนยึดติดของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

ญาดา เดชพงษ์
ปิติมา ดิศกุลเนติวิทย์
ภูริทัต อินยา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมต้นทุนยึดติด ได้แก่ การกำกับดูแลกิจการ นักลงทุนสถาบัน และโครงสร้างการถือหุ้น โดยศึกษาพฤติกรรมต้นทุนยึดติดของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร กลุ่มตัวอย่างคือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2556 – 2558 รวมทั้งสิ้น 736 ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการทดสอบพบว่า การกำกับดูแลกิจการ และนักลงทุนสถาบันส่งผลกับพฤติกรรมต้นทุนยึดติด แต่ไม่พบว่าโครงสร้างการถือหุ้นส่งผลต่อพฤติกรรมต้นทุนยึดติด โดยพบพฤติกรรมต้นทุนยึดติดในกลุ่มที่มีคะแนนการกำกับดูแลกิจการระดับต่ำและกลุ่มที่มีสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนสถาบันต่ำ เนื่องจากการกำกับดูแลกิจการเป็นกลไกที่ช่วยลดปัญหาตัวแทนในองค์กร ซึ่งเป็นสาเหตุของพฤติกรรมต้นทุนยึดติด รวมถึงการมีนักลงทุนสถาบันที่จะช่วยติดตามและตรวจสอบการบริหารงานของกิจการ ลดปัญหาการรักษาผลประโยชน์ของผู้บริหาร ส่งผลให้ลดพฤติกรรมต้นทุนยึดติดลงได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

การ์ริสัน, อาร์., นอรีน, อี., และ บริเวอร์, พี. (2555). การบัญชีบริหาร Managerial Accounting, 13th ed. (นวพร บุศยสุนทร, รศ.ดร.ประจิต หาวัตร, รศ. ศรัณย์ ชูเกียรติ, ผศ.ดร.วิศรุต ศรีบุญนาค และ อ.วศธร ชุติภิญโญ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.

กัลยา ตันมณี. (2559). ผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่มีต่อคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

จิภัสสร บุญรอด. (2558). การกำกับดูแลกิจการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนสถาบันและผลตอบแทนจากนักลงทุนสถาบันที่ส่งผลต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สาขาการบัญชี.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2555). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2555. วารสารสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2558 จาก

https://www.set.or.th/sustainable_dev/th/cg/files/2013/CGPrinciple2012Thai-Eng.pdf

ณัฏฐพัชร์ ธรรมนุสาร. (2553). กลไกการกำกับดูแลกิจการ: ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างความเป็นเจ้าของกับค่าธรรมเนียมการสอบ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นริสา เยาวลักษณ์. (2558). การถือหุ้นของบุคคลภายในและนักลงทุนสถาบันต่อผลการดำเนินงานและผลตอบแทนจากหลักทรัพย์. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 4(2), 18-31.

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2551ก). ทฤษฎีบรรษัทภิบาล. วารสารบริหารธุรกิจ, 31(120), 1-4.

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2551ข). ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท โครงสร้างของผู้ถือหุ้น กับมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์. วารสารวิชาชีพบัญชี, 4(10).

ศศิวิมล มีอำพล และ ศรายุทธ เรืองสุวรรณ. (2553). บรรษัทภิบาลจะช่วยยกระดับผลการดำเนินงานของกิจการได้จริงหรือ กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนหมวดอาหารและเครื่องดื่มในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี, 6(17), 57-71.

เสกศักดิ์ จำเริญวงศ์. (2554). การบริหารการเงินธุรกิจ: แนวคิดและแนวปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สัจจวัฒน์ จันทร์หอม. (2554). คุณภาพกำไรของบริษัทที่มีโครงสร้างการถือหุ้นและการบริหารงานโดยครอบครัว. (การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สาขาการบัญชี.

สุชนนี เมธิโยธิน. (2555). กลยุทธ์เพื่อการแข่งขัน. วารสารนักบริหาร, 32(3), 27-133.

สุทธิชา เกริกฤทธิ์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการกำไรกับสัดส่วนการถือหุ้นที่ถือโดยนักลงทุนสถาบันของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาการบัญชี.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2552). การบัญชีบริหาร. ฉบับปรับปรุงล่าสุด 2 edition. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.

หุดา วงศ์ยิ้ม. (2561). ผลกระทบของโรงสร้างการถือหุ้นแบบครอบครัวที่มีต่อระดับการจัดการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. รายงานการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Anderson, M. C., Banker, R. D & Janakiraman, S. N. (2003). Are Selling, General, and Administrative Costs “Sticky”?. Journal of Accounting Research, 41(1), 47-63.

Balakrishnan, R., Labro, L. & Soderstrom, N. (2014). Cost Structure and Sticky Cost. Journal of Management Accounting Research, 26(2), 91-116.

Calleja, K., Steliaros, M. & Thomas, D. C. (2006). A Note on Cost Stickiness: Some International Comparisons. Management Accounting Research, 17(2), 127-140.

Chen, C. X., Lu, H. & Sougiannis, T. (2012). The Agency Problem, Corporate Governance, and the Asymmetrical Behavior of Selling, General, and Administrative Costs. Contemporary Accounting Research, 29(1), 252-282.

Fan, J. & T. J. Wong. (2002). Corporate Ownership Structure and the Informativeness of Accounting Earnings in East Asia. Journal of Accounting & Economics, 33,401–425.

He, D., Teruya, J. & Shimizu, T. (2010). Sticky Selling, General, and Administrative Cost Behavior and Its Change in Japan. Global Journal of Business Research, 4(4), 1-10.

Morck, R., A. Shleifer & R. Vishny. (1988). Management Ownership and Market Valuation: An Empirical Analysis. Journal of Financial Economics, 20, 293–315.

Nuchjaree Pichetkun, (2012). The Determanants of Sticky Cost Behavior on Political Costs, Agency Costs, and Corporate Governance Perspective. (Doctoral dissertation). Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

Subramaniam, C. & Weidenmier, M. L. (2003). Additional Evidence on the Sticky Behavior of Costs. Working Paper, Texas Christian University, February 10.

Xue, S. & Hong, Y. (2016). Earning Management, Corporate Governance and Expense Stickiness. China Journal of Accounting Research, 9(1), 41-58.