กลยุทธ์การบูรณาการทักษะด้านการตลาดดิจิทัล ผลการดำเนินงานทางการตลาด และความอยู่รอดขององค์การของธุรกิจขายปลีกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กในประเทศไทย

Main Article Content

ผศ.ดร.อารีรัตน์ ปานศุภวัชร
ดร.ประวีณ ปานศุภวัชร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อกลยุทธ์การบูรณาการทักษะด้านการตลาดดิจิทัล ที่มีผลต่อความอยู่รอดขององค์การในธุรกิจขายปลีกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กในประเทศไทย โดยปัจจัยของกลยุทธ์การบูรณาการทักษะด้านการตลาดดิจิทัล ประกอบด้วย ด้านความมุ่งมั่นที่จะใช้ข้อมูลดิจิทัลในการดำเนินงาน ด้านความเต็มใจที่จะรับเอาอุปกรณ์ดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินงาน และด้านการตอบสนองลูกค้าอย่างรวดเร็ว ที่ส่งผลต่อการสื่อสารด้วยพฤติกรรมการบอกต่อ คุณภาพของความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคและ ตราสินค้า ผลการดำเนินงานทางการตลาด และความอยู่รอดขององค์การ ซึ่งเก็บข้อมูลมาจากผู้บริหารธุรกิจขายปลีกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กในประเทศไทย จำนวน 197 กิจการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่ากลยุทธ์การบูรณาการทักษะด้านการตลาดดิจิทัล ด้านความมุ่งมั่นที่จะใช้ข้อมูลดิจิทัลในการดำเนินงาน ด้านความเต็มใจที่จะรับเอาอุปกรณ์ดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินงาน และด้านการตอบสนองลูกค้าอย่างรวดเร็ว มีความสัมพันธ์และผลทางกระทบทางบวกต่อทั้งการสื่อสารด้วยพฤติกรรมการบอกต่อ คุณภาพของความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคและ ตราสินค้า ผลการดำเนินงานทางการตลาด และความอยู่รอดขององค์การ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ปานศุภวัชร ผ., & ปานศุภวัชร ด. (2019). กลยุทธ์การบูรณาการทักษะด้านการตลาดดิจิทัล ผลการดำเนินงานทางการตลาด และความอยู่รอดขององค์การของธุรกิจขายปลีกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กในประเทศไทย. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(15), 14–27. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/197115
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

จีราวรรณ บุญเพิ่ม. (2559). เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) เพื่ออนาคตประเทศไทย. วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 2. 13-17
มาร์ควอดต์, ไมเคิล เจ. (2554). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ Building the Learning Organization: Mastering the 5 Elements for Corporate Learning. (บดินทร์ วิจารณ์, ผู้แปล). พิมพ์ครั้งที่ 8: กรุงเทพฯ : เอ็กเปอร์เน็ท.
เสรี วงษ์มณฑา. (2552). กลยุทธ์การตลาด: การวางแผนการตลาด.กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2560). รายงานผลการสำรวจมูลค่าพิณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2560. ดึงข้อมูลวันที่ 26 สิงหาคม 2561, จาก https://www.etda.or.th/publishing-detail/value-of-e-commerce-survey-2017.html.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). การมีการใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ. ดึงข้อมูลวันที่ 1 พฤษภาคม 2560, จาก http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries22.html.
สำนักวิเคราะห์โครงการลงทุนภาครัฐ. (2559). เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) เพื่ออนาคตประเทศไทย. วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 2. 2-12.
Adewale, O. O., Abolaji, A. J. & Kolade, O. J. (2011). Succession planning and organizational survival: Empirical study on Nigerian private tertiary institutions. Serbian Journal of Management. 6 (2), 231-246.
Aaker, D. A., Kumar, V., & Day, G S. (2008). Marketing research: John Wiley & Sons.
Alam, K., Erdiaw-Kwasie, M. O., Shahiduzzaman, M. & Ryan, B. (2018). Assessing regional digital competence: Digital futures and strategic planning implications, Journal of Rural Studies, 60, 60-69.
Bovée, C. L., Houston, M. J. ,& Thill, J. T. (1995). Marketing. Pennsylvania: McGraw-Hill.
Duarte, P., Silva, S. C., & Ferreira, B. M. (2018). How convenient is it? Delivering online shopping convenience to enhance customer satisfaction and encourage e-WOM. Journal of Retailing and Consumer Services, 44: 161-169.
Fouad, N. (2017). Viral marketing effect on digital knowledge acquisition: WhatsApp as a model. Alexandria: The Journal of National and International Library and Information Issues. 27(1), 10-29.
Guenzi, P. ,& Troilo, G. (2007). The joint contribution of marketing and sales to the creation of superior customer value. Journal of Business Research. 60(2), 98-107.
Hill C. W. L., Jones G. R., Schilling M. A. (2015). Strategic management: Theory & cases: An integrated approach. 12th edition. United States : Cengage Learning.
Hair, J. F. Jr., Anderson, R. E., Tatham, R. L. & Black, W. C. (1995). Multivariate Data Analysis (3rd ed). New York: Macmillan.
Hwang, J., & Christensen, C. M., (2008). Disruptive Innovation in Health Care Delivery: A Framework for Business-Model Innovation, Health Affairs, 27(5), 1329-1335.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30, 607-610.
Mangold, W. G., Miller, F., & Brockway, G. R. (1987). Word‐of‐mouth communication in the service marketplace. Journal of Services Marketing. 1, 73-89.
Mena, J. A., Hult, G. T. M., Ferrell, O.C., & Zhang, Y. (2018). Competing assessments of market-driven, sustainability-centered, and stakeholder-focused approaches to the customer-brand relationships and performance, Journal of Business Research, 1-13.
Nonaka, I., Byosiere, P., Borucki, C. C., & Konno, N. (1994). Organizational knowledge creation theory: A first comprehensive test. International Business Review, 3(4), 337-351.
Nunnally, J. & Bernstein, I. (1994). Psychometric Theory. 2nd ed. New York : McGraw-Hill.
O'sullivan, D., & Abela, A.V. (2007). Marketing performance measurement ability and firm performance. Journal of Marketing. 71(2), 79-93.
Perrow, C. & Pulver, S. (2015). Climate Change and Society: Sociological Perspectives. United Kingdom: Oxford University Press.
Royle, J & Laing, A. (2014). The digital marketing skills gap: Developing a Digital Marketer Model for the communication industries, International Journal of Information Management, 34(2), 65-73.
Wu, J. Shu-Hua, C., & Kang-Ping, L. (2017). Why should I pay? Exploring the determinants influencing smartphone users’ intentions to download paid app. Telematics and Informatics, 34, 645-654.