ระดับความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล และระดับความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและ 2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน เงินเดือน และระยะเวลาปฏิบัติงาน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากร คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจำนวน 89 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่มย่อย กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ประธานหลักสูตร 4 หลักสูตร และบุคลากร 2 คน
ผลการศึกษา พบว่า ระดับความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยโดยรวมสูงสุด (=4.03) มีความคิดเห็นในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านค่าตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ และด้านระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ (=3.33 และ =3.27) การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คือ สถานภาพสมรส และระดับการศึกษา ที่แตกต่างกัน จะมีคุณภาพชีวิตการทำงาน ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) อย่างไรก็ตามจากการสนทนากลุ่มย่อย พบว่า 1) ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ อาจจะไม่เท่าบุคลากรสายวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งใดก็ตาม ที่สถาบันกำหนด และไม่มีสวัสดิการต่าง ๆ รองรับอนาคต จึงมีความมั่นคงน้อยกว่า สายวิชาการ ซึ่งไม่สอดคล้องกับผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานในเชิงปริมาณด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ที่พบว่ามีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) ด้านสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ปัญหาระยะสั้น อาทิ ฝุ่นที่เกิดจากการก่อสร้างอาคาร รวมถึงสถานที่จอดรถบางส่วน ยังไม่มีหลังคา จึงส่งผลเสียต่อสุขภาพ ปัญหา ระยะยาว อาทิ แสงสีน้ำเงินจากคอมพิวเตอร์ ที่เป็นอันตราย ต่อสายตา ความสะอาดของอาคารเรียน ที่ยังมีความสะอาดไม่เพียงพอและทั่วถึง เก้าอี้ทำงานที่มีลักษณะที่ไม่เหมาะกับสรีระร่างกาย ซึ่งไม่สอดคล้องกับผลระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงาน ที่พบว่ามีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากเช่นกัน
Downloads
Article Details
References
งานประกันคุณภาพฯ คณะบริหารศาสตร์. (2551). รายงานการประเมินตนเองระดับคณะ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ : งานประกันคุณภาพฯ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ชนนาถ รอดอยู่. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.
โชติกา นามบุญเรือง. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรกองกำกับการสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ณัฐฏลดา รัตนคช. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรครูระดับประถมศึกษา ในจังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
ทัศนีย์ ชาติไทย. (2559). รายงานการวิจัย คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นพพล วงศ์ศรีสังข์. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน โรงพยาบาลรามาธิบดี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นรา หัตถสิน และวิริญญา ชูราษี. (2560). การวิเคราะห์ปัจจัยจูงใจในการตีพิมพ์ผลงานวิชาการของอาจารย์: ศึกษากรณีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(2): 19-36.
บริรักษ์ เชาว์กบินทร์. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วน จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรภิมล ปานดี. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานยุติธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา. ปัญหาพิเศษปริญญารัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิริญญา ชูราษี และสุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2554). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 6(1): 60-74.
ศิริพรรณ ทรงคำ. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล วัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริลักษณ์ คีรีแก้ว. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรกรมทางหลวงชนบท กรณีศึกษากรมทางหลวงชนบท กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Huse, E. F., & Cummings, T. G (1985). Organnization Development and Change. Minnerrota: Weat Publishing.
Jahanbani, E., Mohammadi, M., Noruzi, N. N., Bahrami, F. (2018). Quality of Work Life and Job Satisfaction Among Employees of Health Centers in Ahvaz, Iran. Jundishapur Journal of Health Sciences, 10(1).
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Mirkamalia, S. M., & Thani, F. N. (2011). A Study on the Quality of Work Life among faculty members of University of Tehran and Sharif university of Technology. Procedia Social and Behavioral Sciences, 29, 179-187.
Srivastava, S., & Kanpur, R. (2014). A Study On Quality Of Work Life: Key Elements & It’s Implications. IOSR Journal of Business and Management, 16(3), 54-59.
Walton, R. E. (1975). Criteria for Quality of Working Life. In Louis E David and Albert BChems(eds), New York Free Press.