ปัจจัยด้านการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม แรงจูงใจระดับบุคคลและปัจจัยด้านสังคม ที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค

Main Article Content

วันทยา เฉลิมพลวรรณคดี
สมบัติ ธำรงสินถาวร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  (1) ศึกษาระดับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค  (2) ศึกษาระดับปัจจัยต่าง ๆ ประกอบด้วย ปัจจัยแรงจูงใจระดับบุคคล ปัจจัยด้านการรับรู้ของผู้บริโภคต่อกลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและปัจจัยด้านสังคม  (3) ศึกษาปัจจัยระดับแรงจูงใจระดับบุคคลที่มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค (4)ศึกษาปัจจัยการรับรู้ของผู้บริโภคต่อกลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค  และ (5) ศึกษาปัจจัยด้านสังคมมีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค การศึกษานี้ เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มบุคคลที่ตระหนักเพื่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย จำนวน 420 คน  หลังจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) ทำให้ได้กลุ่มตัวแปรใหม่ คือตัวแปรตามเพิ่มขึ้นอีก 2 ตัวแปร คือ การตระหนักถึงความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค (Y2) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค (Y3) รวมทั้งหมด 12 กลุ่มตัวแปร  


ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยด้านแรงจูงใจระดับบุคคล ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ แรงจูงใจในตนเอง (X1) แรงจูงใจเชิงความสัมพันธ์(X2) และแรงจูงใจด้านจริยธรรม(X3) พบว่าผู้บริโภคมีระดับความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับที่เห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 3.50 (2) ปัจจัยด้านการรับรู้ของผู้บริโภคต่อกลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านความหลากหลายด้านผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม (X4) ด้านราคาของผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม (X5) ด้านความสะดวกสบายในการซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม (X6) กิจกรรมปกป้องสิ่งแวดล้อมของรัฐบาล(X7) กิจกรรมปกป้องสิ่งแวดล้อมของบริษัท(X8) พบว่าผู้บริโภคมีระดับความคิดเห็น โดยรวมอยู่ในระดับที่เห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 3.62 (3) ปัจจัยทางสังคม คือ บรรรทัดฐานการตระหนักเพื่อสิ่งแวดล้อมของสังคม(X9) โดยผู้บริโภคมีระดับความคิดเห็นต่อบรรรทัดฐานการตระหนักเพื่อสิ่งแวดล้อมของสังคม อยู่ในระดับที่เห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 (4) ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค(Y1)  โดยผู้บริโภคมีระดับความคิดเห็นต่อความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคอยู่ในระดับที่เห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99


จากการทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุ  ที่สอดคล้องตามสมมติฐานอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  0.05 และ 0.10 พบว่า มีตัวแปรอิสระ คือ X1, X2, X3, X4, X5, X7, X9 มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม คือ Y1 และ X1, X4, X9  มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม คือ Y2 และ X1, X4, X5, X7, และ X9 มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม คือ Y3 เมื่อพิจารณาในภาพรวมของข้อสมมติฐานแล้ว พบว่ามีตัวแปรอิสระจำนวนหนึ่งที่สนับสนุนข้อสมมติฐานที่ตั้งไว้โดยมีความอิทธิพลต่อตัวแปรตามทุกตัว ยังมีตัวแปรอิสระจำนวนหนึ่งที่มีการสนับสนุนกับสมมติฐานที่ตั้งไว้โดยมีความอิทธิพลต่อตัวแปรตามบางส่วน และมีตัวแปรอิสระจำนวนหนึ่งที่ไม่สนับสนุนกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ นั่นคือ X6 และ X8

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กนกอร นิลวรรณจะณกุล และปวีณา คำพุกกะ. (2556). “ความรู้และทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2(3), 65-83.

กัลยา กมลรัตน์. (2553). ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อพฤตกิรรมการซื้อชุดชั้นในชายในกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สาขาการตลาด.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2547). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐวรรธน์ สุนทรวริทธิโชติ และกาญจณา สุขาบูรณ์. (2556). การศึกษาสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตตำบลสามบัณฑิต: กรณีศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชนในตำบลสามบัณฑิต. กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

นลินรัตน์ ถาวรเลิศรัตน์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมกับทัศนคติและพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์, สาขาวิชาการโฆษณา.

เบญจมาพร เจริญศรี. (2550). การตอบสนองของเจเนอเรชั่นวายต่องานการตลาดเพื่อสังคม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, สาขาเทคโนโลยีการจัดการ.

ปาลิดา สามประดิษฐ์. (2560). การรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติ และความรับผิดชอบทางสังคม ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้ถุงผ้าบรรจุสินค้าที่ซื้อจาก Tops Market ของคนในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะบริหารธุรกิจ, สาขาการตลาด.

ปิยนุช ลือชัย. (2554). ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด แรงจูงใจ และทัศนคติอิทธิพลต่อ พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อหนังสือการ์ตูนความรู้แนววิทยาศาสตร์ฉลาดรู้ของผู้บริโภคใน กรุงเทพมหานคร. (ปริญญานิพนธ์ บธ.ม. (การตลาด)). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พวงพรภัสสร์ วิริยะ, นาวิน มีนะกรรณ, พิพัฒน์ นนทนาธรณ์, และทิพย์รัตน์ เลาหวิเชียร.(2560). “ปัจจัยส่วนประสมการตลาดเพื่อสังคมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมประเทศไทย” วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี 7(130), 59-69.

วุฒิชาติ สุนทรสมัย. (2560). ตำราพฤติกรรมผู้บริโภค. ชลบุรี. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมบัติ ธำรงสินถาวร. (2560). “ตัวแบบความรับผิดชอบต่อสังคมของบริโภค: ผลการปฏิสัมพันธ์ของความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้บริโภคกับความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทไปยังผลสัมฤทธิ์ทางการตลาดระยะยาว” วารสารวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 12(1), 1-22.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2554). ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 เรียกใช้เมื่อ 7 พฤษภาคม 2562 สืบค้นจาก https://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=5748

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2560). วิจัยรายประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม. เรียกใช้เมื่อ 7 พฤษภาคม 2562 สืบค้นจาก https://www.nrct.go.th/home

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2557). แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2555-2559. เรียกใช้เมื่อ 7 พฤษภาคม 2562 สืบค้นจาก http://www.onep.go.th

สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. (2560). ยุทธศาสตร์การวิจัยรายประเด็น (พ.ศ.2556-2559). เรียกใช้งานเมื่อ 10 ธันวาคม 2561 สืบค้นจากhttp://www.surdi.su.ac.th

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). รายงานสถิติจำนวนประชากร พ.ศ. 2560.เรียกใช้งานเมื่อ 15 ธันวาคม 2561 สืบค้นจาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx

เสรีวัฒน์ เพ็ชรดิษฐ์. (2553). การศึกษาทัศนคติผู้บริโภคธุรกิจพลังงานกับการทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม: กรณีศึกษาผู้บริโภคธุรกิจพลังงาน ปตท. ในบริเวณรอบนิคมอุตสาหกรรมมาตตาพุด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิทยาลัยนวัตกรรม, สาขาการบริหารเทคโนโลยี.

อลิษา เกษทองมา, กัญญาวีร์ พรศรีเมตต์ และก่อพงษ์ พลโยราช (2560). “ความสอดคล้องกันระหว่างรูปแบบการดำเนินชีวิตสีเขียวของผู้บริโภคกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรด้านสิ่งแวดล้อม” วารสารธรรมศาสตร์ 36(3), 22-42.

Aguilera, R. V., Rupp, D. E., Williams, C. A., & Ganapathi, J. (2007). Putting the S Back in Corporate Social Responsibility: A Multilevel Theory of Social Change in Organizations. Academy of Management Review, 32(3), 836-863. doi: 10.5465/amr.2007.25275678

Benjamin, M. O., William, K. H., & Anne, C. B. (2007). “Purchasing Organic Food in US Food Systems; A

Study of Attitudes and Practice.” British Food Journal Bradford 109(5), 399-411.

Caruana, R. (2007). Morality and Consumption: Towards a Multidisciplinary Perspective. Journal of Marketing Management, 23(3/4), 207-225.

Caruana, R., & Chatzidakis, A. (2014). Consumer Social Responsibility (CnSR): Toward a Multi-Level, Multi-Agent Conceptualization of the 'Other CSR'. Journal of Business Ethics, 121(4), 577-592. doi: 10.1007/s10551-013-1739-6

Coddington, W. (1993). Environmental Marketing: Positive Strategies for Reaching the Green Consumer. New York: McGraw-Hill.

Colle, S. D., & Werhane, P. H. (2008). Moral Motivation Across Ethical Theories: What Can We Learn for Designing Corporate Ethics Programs? Journal of Business Ethics, 81(4), 751-764. doi: 10.1007/s10551-007-9545-7

Davis, J. A. (1971). Elementary Survey Analysis Prentice. New Jersey : Inc.Englewood Cliffs,

Devinney, T. M., Auger, P., Eckhardt, G., & Birtchnell, T. (2006). The Other CSR: Consumer Social Responsibility. Standford Social Innovation Review, 4(8).

Florenthal, B., & Arling, P. (2011). Do Green Lifestyle Consumers Appreciate Low Involvement Green Products? Marketing Management Journal, 21(2), 35.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Upper Saddle River, NJ.: Prentice-Hall.

Lee, N. R., & Kotler, P. (2011). Social Marketing: Influencing Behaviors for Good. (4rdedition). The United State of America: Sage Publications.

Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric Theory. 3rd ed. New York: McGraw-Hill.

Sivek, D. J. & H. Hungerford. (1989). “Predictors of Responsible Behavior in Members of Three Wisconsin Conservation Organizations”. Journal of Environmental Education 21, 34-40.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.