อิทธิพลทางสังคม การรับรู้ และทัศนคติการใช้งานบาร์โค้ดที่มีต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์น ซีบอร์ด จังหวัดระยอง

Main Article Content

นัยน์ปพร ชุมเกษียร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับอิทธิพลทางสังคมของการใช้งานบาร์โค้ด ระดับการรับรู้การใช้งานบาร์โค้ด ระดับทัศนคติการใช้งานบาร์โค้ด ระดับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ด ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง 2) ศึกษาปัจจัยด้านอิทธิพลทางสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยี 3) ศึกษาปัจจัยด้านการรับรู้การใช้งานบาร์โค้ดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ด 4) ศึกษาปัจจัยด้านทัศนคติการใช้งานบาร์โค้ดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ระบบบาร์โค้ด 5) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านอิทธิพลทางสังคม การรับรู้ และทัศนคติการใช้งานบาร์โค้ดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ด ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย พนักงานระดับปฏิบัติการที่ใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ด ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression)


                   ผลการวิจัยพบว่า อิทธิพลทางสังคมส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้งานบาร์โค้ดในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05  โดยพบว่าด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง ด้านปัจจัยทางสังคม ด้านภาพลักษณ์ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ด ถัดมาคือการรับรู้การใช้งานบาร์โค้ดที่มีต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และลำดับสุดท้าย ทัศนคติการใช้งานบาร์โค้ดส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Chaweesuk, S. & Wongjaturaphat, S. (2013). Theory of Acceptance Model. Institute of Technology: King Mongkut’s Lat krabang University. (in Thai)

Davis, F. D. (1989). Perceived Usefulness Perceived Ease of Use and User Acceptance of Information Technology. Business Administration: University of Michigan.

Dechphapatsorn, N. (2016). Factors Affecting Online Purchase Decisions for Dietary Supplement

in Thailand. Faculty of Commerce and Accountancy: Thammasat University. (in Thai)

James, E. B. (2001). “Organizational Research: Determining Appropriate Sample Size in Survey Research. Information Technology”, Learning, and Performance Journal, (19) 1.

Kiatkamjorn, A. (2014). Factors Influencing in Acceptance Technology: A Case Study of Using Interactive Whiteboard in Faculty of Medicine Siriraj Hospital. Information Technology Management : Thammasat University. (in Thai)

Kornprasertwit, K. (2015). Attitude Understanding Personality and Operation and use of Technology have all had an Influence in the Decision of Bangkokians whether or not to use an Automatic Telephone Payment Kiosk in 2015. Graduate School: Bangkok University. (in Thai)

Matsumoto, D. (2009). The Cambridge Dictionary of Psychology. Human Factors Psychology: Cambridge University.

Ministry of science and technology. (2016). Impact of Scientific Progress and Technology. http:// www.e-manage.mju.ac.th. 22 August. (in Thai)

Wongthongchai, J. (2012). Perception factors Affecting Acceptance of 2-dimensions Barcode of Generation-Y. Institute of Technology: Suranaree University. (in Thai)