อิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การส่งผลต่อความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงานในบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง

Main Article Content

อธิพัชร์ กอบรัตนสวัสดิ์
จุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อประเมินระดับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และความตั้งใจลาออกจากงานของพนักงานในบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรม   ยานยนต์เขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง 2. เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อความต่อความตั้งใจลาออกจากงานของพนักงาน 3. เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีต่อความตั้งใจลาออกจากงานของพนักงาน 4. เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีต่อความตั้งใจลาออกจากงานของพนักงาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือแบบสอบถาม  กลุ่มตัวอย่างได้แก่พนักงานในบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


                ผลการศึกษาพบว่า พนักงานพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การของพนักงานในระดับมาก  ส่วนความตั้งใจลาออกจากงานของพนักงานอยู่ในระดับน้อย สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกจากงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ สภาพแวดล้อมด้านความปลอดภัยในการทำงาน ความเข้มของแสงสว่าง อุณหภูมิในที่ทำงาน การถ่ายเทของอากาศ กลิ่น และสารเคมี  ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้งความสัมพันธ์ต่อเพื่อนร่วมงานและความสัมพันธ์ต่อผู้บังคับบัญชาส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การทั้งในด้านผลตอบแทนและสวัสดิการ ความรู้และความก้าวหน้าในงาน ความมั่นคงในการทำงาน การสนับสนุนด้านจิตอารมณ์ และด้านการปฏิบัติงาน ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะลาออกจากงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
กอบรัตนสวัสดิ์ อ., & ทวีไพบูลย์วงษ์ จ. (2019). อิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การส่งผลต่อความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงานในบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(16), 1–17. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/171512
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ธนา จินดาโชตินันท์. (2556). อิทธิพลของแรงจูงใจในกิจกรรมและการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การต่อความตั้งใจลาออกโดยมีความผูกพันกับองค์การเป็นตัวส่งผ่าน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาประยุกต์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธวัชชัย บุญเพิ่มราศรี. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการตั้งใจลาออกจากงานของบุคคลกร: ศึกษาเฉพาะกรณีบุคคลากร สาย ค ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ปกรณ์ ลิ้มโยธิน. (2555). ตัวแบบสมการโครงสร้างขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจจะลาออกจากงาน ของพนักงานโรงแรงในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เปรมจิตร คล้ายเพ็ชร์. (2548). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความยุติธรรมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันองค์การ และความตั้งใจลาออก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาประยุกต์และองค์การ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พงศ์ หรดาล. (2540). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ.
มาลิณี อ้นวิเศษ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของงาน อุปนิสัย 8 ประการรูปแบบการบังคับบัญชาของหัวหน้างาน การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การกับความตั้งใจที่จะลาออก ของเจ้าหน้าที่บริการลูกค้าในธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร โดยมีความผูกพันต่อองค์การเป็นตัวแปรสื่อ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิชิต เพชรกลัด. (2553). ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานฝ่ายผลิต กรณีศึกษา บริษัท แพรคติก้า จำกัด. ปัญหาพิเศษปริญญาอุตสาหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สมพร สุทัศนีย์. (2541). มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สืบศิริ รุ่งเรืองบุณศิริ. (2556). ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมในการทำงานและการรับรู้ต่อพฤติกรรมการนำของหัวหน้างานที่ส่งผลต่อการตั้งใจลาออกของพนักงานระดับปฏิบัติการในโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานแรงงานจังหวัดระยอง. (2558). การเข้าออกจากงานของลูกจ้างจำแนกตามอุตสาหกรรม. ระยอง.
Bidisha, L.D., & Mukulesh, B. (2013). Employee retention: A review of literature. Journal of Business and Management, 14, 8-16.
Ferris, G.R., Rossen, S.D., & Barhum, D.T. (1996). Handbook of Human Resource Management. (2nd ed.). Oxford: Blackwell Publishers.
Karatepe, M.O., & Uludag, O. (2008). Affectivity, conflicts in the work-family interface, and hotel employee outcomes. International Journal of Hospitality Management, 27, 30-41.
Yang, J.T. (2010). Antecedents and consequences of job satisfaction in the hotel industry. International Journal of Hospitality Management, 29: 609-619.