ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเลือกซื้อสินค้าในร้านของฝากท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ประสงค์ อุทัย
สมบัติ ทีฆทรัพย์
วัฒนา เอกปมิตศิลป์
ศรัญญา แจ้งขำ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเลือกซื้อสินค้าในร้านของฝากท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี  วัตถุประสงค์ ดังนี้  1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของนักท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรี  2. เพื่อศึกษาปัจจัยผลกระทบที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อสินค้าในร้านของฝากท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี  3. เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานของร้านของฝากในของนักท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรีให้อยู่รอดและยั่งยืน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) กลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยว วิธีการสุ่มตัวอย่างเป็นแบบง่าย จำนวน 400 คน และตัวแทนของ เจ้าของธุรกิจ และราชการ จำนวน 10 คน โดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหาการพัฒนาและเพื่อแก้ไขปัญหาของร้านของฝากท้องถิ่น ในจังหวัดเพชรบุรี เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ พบว่านอกจากเงื่อนไขที่ทำให้นักท่องเที่ยวและเจ้าของธุรกิจร้านของฝากท้องถิ่น และส่วนราชการ ที่มีส่วนสำคัญในแก้ไขและพัฒนาร้านค้าของฝากท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีความสำคัญทั้งหมด 5 ด้านคือ ด้านคุณภาพ ด้านราคา การให้บริการ และด้านทำเลที่ตั้ง ตามลำดับ ซึ่งผลกระทบที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อสินค้าในร้านของฝากในจังหวัดเพชรบุรีคือ ในช่วงระยะเวลา ฤดูกาลก็มีส่วนสำคัญ เช่น ช่วงปิดเปิดภาคเรียนของนักศึกษา ช่วงพักผ่อนวันหยุดยาวตามเทศกาล สถานะทางเศรษฐกิจ การเมือง และการปกครอง มีความสำคัญกับการอยู่รอดของธุรกิจร้านค้าของฝากท้องถิ่นของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรีเพื่อให้ยั่งยืน ควรมีการพัฒนาและปรับปรุงให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหลัก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

จุฑาทิพย์ ทิพย์เหรียญ. (2559). พฤติกรรมการซื้อของฝากของนักท่องเที่ยวชาวจีนแบบอิสระ
ในเขตกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ธีรกิติ นวรัตน ณ อยธุ ยา. (2547). การตลาดสำหรับการบริการ :แนวคิดและกลยทุธ์. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฏฐิณี ทิมทอง. (2554). กลยุทธ์การขายสินค้าที่ระลึก กรณีศึกษาสินค้าที่ระลึกประเภทงานศิลปหัตถกรรม
บริเวณลานศิลปหัตถกรรมไนท์บาร์ซา จ. เชียงใหม่. เศรษฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นที ธูปทอง. (2550). ผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่มีต่อธุรกิจด้านท่องเที่ยวด้านการขายสินค้าที่ระลึก ใน
จังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2540. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นันทิยา ตันตราสืบ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าที่ระลึกประเภทหัตถกรรมของผู้บริโภคชาว
ไทยจากศูนย์หัตกรรมภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 1. คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปานลดา อินทร์ไชย. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของที่ระลึกในการเชียร์ฟุตบอลของ
ผู้ชมฟุตบอลในจังหวัดเชียงใหม่. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประสพชัย พสุนนท์ และคณะ. (2557). การซื้อผลิตภัณฑ์ป่าศนารายณ์ : กรณีศึกษากลุ่มสตรี
สหกรณ์การเกษตรหุบกะพง ตำบลใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยา
เขตสารสนเทศเพชรบุรี.
วสันต์ เดชะกัน. (2546). ทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดของผลิตภัณฑ์
หัตถกรรมหมู่บ้านถวาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิไลวรรษ ศิริอำไพ (2555). ปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวตลาดโบราณบ้านสะแกกรัง
(ถนนคนเดินตรอกโรงยา) จังหวัดอุทัยธานี. ปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต เอกธุรกิจระหว่างประเทศ คณะ
บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ (2541) การวิจัยธุรกิจ.กรุงเทพมหานคร: เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.
. (2547). องค์การการท่องเที่ยวแห่งโลก (WTO). พิมพ์ครั้งที่ 5 . กรุงเทพฯ ธรรมสาร.
Parasuraman, A, Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality
and its implications for future research. Journal of marketing 49, Fall: 41-50.