ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยความรับผิดชอบต่อสังคมกับต้นทุนเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

โสรญา เนื่องกุมพร
ปิติมา ดิศกุลเนติวิทย์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยความรับผิดชอบต่อสังคมกับต้นทุนเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 363 บริษัทในปี 2558การศึกษาครั้งนี้ใช้กระดาษทำการเพื่อเก็บข้อมูลการเปิดเผยความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักการรายงานของ GRI 4 (Global Reporting Initiative 4) ซึ่งสอดคล้องกับที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแนะนำให้ใช้   ผลการศึกษาพบว่าบริษัทส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.75 มีระดับการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่ระหว่างร้อยละ 30-39     เมื่อใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุเพื่อทดสอบสมมุติฐาน  พบว่า การเปิดเผยความรับผิดชอบต่อสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก สำหรับตัวแปรควบคุม ได้แก่ ความเสี่ยงทางการเงิน อัตราส่วนมูลค่าทางบัญชีต่อมูลค่าตลาด และประเภทอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมสินค้าอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง และอุตสาหกรรมทรัพยากร มีความสัมพันธ์เชิงลบกับต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก  ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ผู้ลงทุนและเจ้าหนี้ให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยความรับผิดชอบต่อสังคมเฉพาะอุตสาหกรรมสินค้าอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง และอุตสาหกรรมทรัพยากร

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กานต์แก้ว กุลวานิช. (2550). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อต้นทุนเงินทุนส่วนของผู้ถือหุ้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
สาขาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฐิติมา กิ่งแก้ว. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมตามความสมัครใจของบริษัทจดทะเบียนใน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นพธีรา ก้อนสมบัติ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนเงินทุนกับการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พัธนิตย์ เหลืองภัทรเชวง. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมและต้นทุนเงินทุนของผู้ถือหุ้น. การค้นคว้าการค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรรณุภา ธุวนิมิตรกุล. ( 2559). การเงินธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัชนียา บังเมฆ, รวี ลงกานี และ มนทิพย์ ตั้งเอกจิต. ( 2554). “การเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมและต้นทุนเงินทุนส่วนของเจ้าของ: กรณีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.” ใน การประชุมผลงานวิจัยด้าน การจัดการธุรกิจ ครั้งที่ 4.
วรชยา สุธีเชษฐ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมกับการวางแผนภาษีของกลุ่มบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าการค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม. (2555). แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท เมจิกเพรส จำกัด.
สถาบันไทยพัฒน์. (2548). “ประโยชน์ของซีเอสอาร์.” สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2559 จาก https://www.thaicsr.com /2005/09/blog-post_112747511569655705.html
สถาบันไทยพัฒน์. (2556). “การเปิดเผยข้อมูล CSR ในรายงานประจำปี.” สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2559 จาก https://www.thaicsr.com/2013/02/csr.htm
สถาบันไทยพัฒน์. (2557). กระบวนการรายงานเพื่อความยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: วนิดาการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2555). “รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน.” สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2560 จาก www.sec.or.th/th/Aboutus/Document/Sustain_ report/2555.pdf
สุมาลี อุณหะนันทน์. (2552). การบริหารการเงิน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุทธิศักดิ์ ไกรสรสุธาสินี. (2556). ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 1. สมุทรสาคร: บริษัท แปลน พริ้นท์ติ้ง จำกัด.
โสภณ พรโชคชัย. (2553). CSR ที่แท้. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ส.วิรัช การพิมพ์ (1996).
Camfferman, K. & Cook, T. (2002). An Analysis of Disclosure in the Annual Reports of UK and Dutch
Companies. Journal of International Accounting Research, 1, 3-31.
Carmelo, R. (2011). The Impact of Better Corporate Social Responsibility Disclosure on the Cost of Equity
Capital. Corporate Social Responsibility and Environmental Management, 11(19), 253-272.
Ghoul, S. E., Guedhami, O., Kwok, C.,C.Y, & Mishra, D., R. (2011). Does corporate social responsibility affect the cost of capital?, Journal of Banking & Finance, 35 (9), 2388-2406.
Global Reporting Initiative. (2013). G4 Sustainability Reporting Guidelines: Reporting Principles and
Standard Disclosure. Retrieved December 15, 2016, from https://www.globalreporting
/resourcelibral/GRI4-Part1-Reporting-Principles-and-Standard- Disclosures.pdf
Murcia, F. D., & Santos, A. D. (2012). Discretionary-Based Disclosure: Evidence from Brazillian Market. Brazilian Administration Review, 9(1), 88-109.
Shih-wei, W., Fengyi, L., & Chia-ming, W. (2014). Corporate Social Responsibility and Cost of Capital: An Empirical Study of the Taiwan Stock Market. Emerging Markets Finance & Trade, 14(50), 107-120.
Zohreh, H. & Bahman, S. (2013). “Relationship Between Corporate Social Responsibility and Cost of Capital in Listed Companies in Tehran Stock Exchange. World Applied Sciences Journal, 11(28),1544-1554.