สภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของผู้ประกอบการร้านขายของฝากในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

สัณชัย ยงกุลวณิช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของธุรกิจร้านขายของฝากในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของธุรกิจร้านขายของฝากในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจร้านขายของฝากในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 45 ร้าน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


                   สภาพปัจจุบันของการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของร้านขายของฝากส่วนใหญ่มีการใช้สื่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบที่เป็นของส่วนตัวหรือส่วนบุคคล การใช้สื่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันมากที่สุดคือ Facebook และรองลงมาคือใช้ Line และใช้ Web site วัตถุประสงค์การใช้สื่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์สินค้ามากที่สุด ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดยังไม่มีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


              ความต้องการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการร้านขายของฝากส่วนใหญ่มีความต้องการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อวัตถุประสงค์โฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้า โดยต้องการรูปแบบการของการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย Facebook ผลการสำรวจความต้องการคุณสมบัติของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 3 ลำดับแรก คือ มีระบบการติดต่อกับลูกค้าแบบทันทีได้ สามารถปรับปรุงข้อมูลสินค้าได้ด้วยตัวเอง และมีระบบฐานข้อมูลลูกค้า

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2559). รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยปี 2559 Value of E-Commerce Survey in Thailand 2016. กรุงเทพฯ: ส่วนงานดัชนีและสำรวจ สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน).
เทศบาลนครอุบลราชธานี. (2560). เทศกาลงานเด่น จังหวัดอุบลราชธานี. (แผ่นพับประชาสัมพันธ์). อุบลราชธานี: เทศบาลนครอุบลราชธานี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปาทิตตา สุขสมบูรณ์ การ์เซีย และคณะ. (2557). การพัฒนาธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับพิเศษ การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2560 จากhttps://repository.rmutp.ac.th/bitstream/handle/123456789/ 1748/IRD_58_225.pdf?sequence=1.
พรรณี สวนเพลง. (2555). ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พัชรินทร์ แสนศิริพันธ์. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติการทำธุรกรรมทางการเงินทางอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้งของวัยกลางคนในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2560 จาก http://www.info.ms.su.ac.th/sums02/PDF01/2555/GB/33.pdf.
ไพเราะ เลิศวิราม. (2559). คนไทยติดหนึบ “โซเชียล มีเดีย” ยอดเฟซบุ๊คทะลุ 41 ล้านราย ติดอันดับ 8 ของโลก. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2560 จาก http://positioningmag.com/1092090.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2558). ETDA เผยผลสำรวจมูลค่า e-commerce ไทยปี 58. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2559 จาก http://www.it24hrs.com/ 2015/etda-survey-e-commerce-2558/
สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2557). การสํารวจสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2559. จาก https://www.m-society.go.th/article_attach/ 13436/17477.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2558). บทสรุปสำหรับผู้บริหาร การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในครัวเรือน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2559. จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/icthh_exc_58.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศ จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2552-2558. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2559. จาก http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/ statseries23.html
สุนีย์ วรรธนโกมล และ อดิศักดิ์ วรพิวุฒิ. (2558). ปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายสินค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2559. จาก http://www.journal.kmutnb.ac.th/ journal/64252255990159.pdf
สุพล พรหมมาพันธุ์. (2554). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการธุรกิจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีปทุม.