การศึกษาปัจจัยส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้าชายแดน กรณีศึกษาบริเวณจังหวัดนครพนมและจังหวัดมุกดาหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัจจัยทางธุรกิจส่งผลกระทบและส่งเสริมต่อการประกอบธุรกิจการค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) บริเวณจังหวัดนครพนมและจังหวัดมุกดาหารอย่างไร โดยประชากรที่ใช้ในการสำรวจ ได้แก่ ผู้ประกอบการรายย่อย ทั้งชาวไทยและชาวสปป.ลาวที่ประกอบธุรกิจบริเวณจุดผ่อนปรน อ.ธาตุพนม จ.นครพนม และสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 จ.มุกดาหาร จำนวน 48 ราย โดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ณ บริเวณด่านชายแดนมุกดาหาร จำนวน 4 ราย ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.85 โดยการทดสอบค่า Cronbach's alpha การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่าปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจการค้าชายแดนคือ กฎระเบียบ ข้อบังคับ ทางกฎหมายภาษีศุลกากร นโยบายส่งเสริมจากภาครัฐ และ ปัญหาทางด้านการเมือง ในขณะที่ปัจจัยที่ส่งเสริมต่อการทำธุรกิจการค้าชายแดนคือ ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม ศาสนา ความเป็นเครือญาติ และการเดินทางท่องเที่ยว ส่วนปัจจัยที่ไม่ส่งผลต่อการทำธุรกิจการค้าชายแดนคือ สภาวะเศรษฐกิจ
Downloads
Article Details
References
จินตนา บุญบงการ. (2547) สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 5) กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าระหว่างประเทศ. (2557). สถานการณ์การค้าขายชายแดนไทย-สปป.ลาว ปี 2555 (มกราคม - สิงหาคม). ค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2557, จาก http://www.dft.go.th/Portals/0/ContentManagement/Document_Mod666/สถานการณ์ไทย-ลาว-ส.ค..55@25551123-1431474184.pdf
เรวดี แก้วมณี. (2554). 3 จังหวัดแดนอีสาน..ฐานการผลิตใหม่ที่ร่าจับตามอง. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2557, จาก http://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/article/northeast_three_provinces.pdf
Cristobal Young., (2009). Religion and Economic Growth in Western Europe: 1500-2000. Department of Sociology Stanford University, from
http://web.stanford.edu/~cy10/public/Religion_and_Economic%20Growth_Western_Europe.pdf
Faiz, M. Sh. (2009). Analysis of bilateral trade liberalization and South Asian Free Trade Agreement (SAFTA) on Pakistan’s economy by using CGE model. Journal of International Trade Law, 8, 227-251, doi: 10.1108/14770020910990632
Rey. K., (2011). The Evolution of Border Control as a Mechanism to Prevent Illegal Immigration. Retrieved September 16, 2014, from http://www.migrationpolicy.org
Sittichai. A., (2011). Study of Cross-Border Trading of Myanmar and Thailand: Reviewing the Unseen Importance of Maw Danung and Dan Singkorn Checkpoints. SIU Journal of management, 11, 41-57.