ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับมูลค่ากิจการของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกแก่สาธารณชน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

ปทุมวดี โบงูเหลือม
ผศ.ดร.ชัยมงคล ผลแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับมูลค่ากิจการของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกแก่สาธารณชน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกแก่สาธารณชนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) มูลค่ากิจการของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกแก่สาธารณชนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับมูลค่ากิจการของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกแก่สาธารณชนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ โดยศึกษาข้อมูลจากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยช่วง พ.ศ. 2551 ถึงปี พ.ศ. 2559 รวม 214 ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ


                  ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่เสนอฯ คือ อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงาน อัตราส่วนกำไรสุทธิ อัตราส่วนกำไรต่อหุ้น และอัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรก่อนและหลังจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับอัตราส่วนผลตอบแทนสินทรัพย์และอัตราส่วนการจ่ายเงินปันผลก่อนและหลังจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2) มูลค่ากิจการของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกแก่สาธารณชน ภายหลังที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่ามูลค่ากิจการที่วัดจากค่า Tobin’s Q มีค่ามากกว่า 1 แสดงถึงกิจการสามารถบริหารสินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อมูลค่าทางการตลาดของกิจการ มากกว่ามูลค่าของสินทรัพย์ที่ใช้ไป 3) อัตราส่วนทางการเงินที่แสดงความสามารถในการทำกำไรที่มีความสัมพันธ์กับมูลค่ากิจการของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกแก่สาธารณชน คือ อัตราส่วนกำไรสุทธิ อัตราส่วนกำไรต่อหุ้น อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไร มีความสัมพันธ์กับมูลค่ากิจการ ผลการวิจัยทำให้นักลงทุนสามารถประเมินมูลค่าของกิจการ  คาดการณ์ผลตอบแทนในการลงทุนและใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจลงทุนกับหลักทรัพย์ที่เสนอขายฯ และเพื่อพัฒนาความสามารถทางการแข่งขันของกิจการต่อไปในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

คณพล จรูญโรจน์ ณ อยุธยา. (2556). ผลกระทบต่อมูลค่าของกิจการภายหลังปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่มีผลบังคับ
ใช้ในปี พ.ศ. 2554 โดยใช้ทฤษฎี Tobin’s Q. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นัจษร วุฒิพงศาธร. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย กรณีศึกษา หลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยรวมและแยกตามกลุ่ม
อุตสาหกรรม. สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2548). การประเมินผลการปฏิบัติงานตามแนวคิด Tobin-Tobin’s Q. วารสารบริหารธุรกิจคณะ
พาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปีที่ 28 ฉบับที่ 106: 13-22.
วรภพ เสือพลาย. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรกับมูลค่าบริษัท. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เวสารัช จรัสวรวุฒิกุล. (2557). ผลตอบแทนของหลักทรัพย์ใหม่ (หุ้น IPO) กรณีเป็นบริษัทย่อยของบริษัทที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต.
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศิริพร ศรีบุญเจริญ. (2540). ผลการดำเนินงานในระยะยาวของหลักทรัพย์ที่เสนอขายเป็นครั้งแรกแก่ประชาชน: ในช่วงปี
2535-2536. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อริยะพงษ์ พันธ์ศรีวงค์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนระยะยาวและผลการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย ของกิจการที่เสนอขายหลักทรัพย์ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. งานวิจัย คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Abdulkadir Ali, T., & Ozlem, S. (2015). Capital Structure and Firm Performance: An Analysis of Manufacturing
Firms in Turkey. Eurasian Journal of Business and Management, Vol 3, Iss 4, Pp 13-22
Anderson, K., & Brooks, C. (2006). Decomposing the price-earnings ratio. Journal of Asset Management, 6(6), 456-469
Asiri, B. K., & Hameed, S. A. (2014). Financial Ratios and Firm's Value in the Bahrain Bourse. Journal of
Finance and Accounting. Vol.5, No.7,2014
Beaver, W. (1989). Financial reporting: An accounting revolution (Second edition). Saddle River, NJ: Prentice
Hall. Research Journal of Finance
Chung-Cheng, C. (2013). The IPO Stock Price Performance Analysis of Taiwan and Mainland Chaina.
Chung, K.H., and Pruitt, S.W. 1994. A simple approximation of Tobin’s q. Financial Management. 23(3): 70-74.
Halimanhton B., Rozita N., & Mohamed N. A. (2014). “The impact of financial ratios on the financial performance of a chemical company.” World Journal of Entrepreneurship, Management and Sustainable Development 10 (2), 154-160.
Fang, E., Palmatier, R.W.j & Steenkam, J.E. (2008). Effect of Service Transition Strategies of Firm Value. Journal of Marketing, 72(5), 1-4.
Ibbotson, R. G. (1975). Price performance of common stock new issues. Journal of Financial Economics, 2(3), 235-272
Joanna, L., & Leszek, C. (2014). Performance of Polish IPO Firms: Size and Profitability Effect.
Lewellen, Wibur G. & Badrinath S.G. (1997). “On the Measurement of Tobin’s Q”, Journal of Financial
Economic, Vol.44, 77-122.
Landsman, W.R. & Shapiro, A.C. (1995), “Tobin’s Q and the Relation between Accounting ROI and
Economic Return”, Journal of Accounting, Auditing and Finance, Vol,10, No.1: 1030118
Mc Taggart, J.M., Kontes, P.W. and Mankins, M. (1994). Value Imperative: Managing for Supperior Shareholder Returns, The Free Press, New York, pp.367.
Pattaranutaporn, P. (2005). The Relationship between Underpricing, Ownership Concentration and Aftermarket Performance (An Empirical Study in Thailand). Independent Study (Master of Science).
Thammasat University, Faculty of Commerce and Accountacy.
Paudyal, K., Saadouni, B., & Briston, R. (1998). Privatization Initial Public Offering in Malaysia: Initial Premium
and Long-Term Performance. Pacific-Basin Finance Journal, 6, 427-451.
Ritter, J.R. (1991). The Long-Run Performance of Initial Public Offerings. Journal of Finance, 46, 3-27.
Xiong, Y., Zhou, H., & Varshney, S. (2010). The economic profitability of pre-IPO earnings management and
IPO underperformance. Journal of Economics & Finance, 34(3), 229.