ความพึงพอใจการใช้ห้องปฏิบัติการทางสัตวแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

รพีพัฒน์ นาคีภัย
อัปสรา ตะระรัมย์
มธุพานี แก้วก่ำ
สุภารัตน์ ลีบ่อน้อย

บทคัดย่อ

ความพึงพอใจการใช้บริการห้องปฏิบัติการ เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้รับบริการเกิดความประทับใจ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแก่ผู้ให้บริการ การวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจ และแนวทางการพัฒนาการจัดการห้องปฏิบัติการทางสัตวแพทย์ 2. เปรียบเทียบความพึงพอใจ/แนวทางการพัฒนาการจัดการห้องปฏิบัติการทางสัตวแพทย์กับเพศของผู้ใช้บริการ 3. ความพึงพอใจและแนวทางการพัฒนาฯ กับอายุของผู้ใช้บริการ 4. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการขอใช้สารเคมี วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการ


                  ประชากร คือ อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ และนิสิตปีที่ 1 ถึง ปีที่ 5 จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 124 คน หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคของความพึงพอใจ และแนวทางการพัฒนาห้องปฏิบัติการทางสัตวแพทย์ได้เท่ากับ 0.8872 และ 0.9435 ตามลำดับ


                  ผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่พึงพอใจด้านบริการ คือ การให้บริการด้วยความเต็มใจ เอาใจใส่ ยิ้มแย้มแจ่มใส และเป็นมิตร แนวทางการพัฒนาฯ ความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ ทางด้านสารเคมี วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ คือ ความทันสมัยของเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ แนวทางการพัฒนาฯ ความสะดวกของการใช้งานด้านสารเคมี วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ โดยภาพรวม และด้านสถานที่ และสาธารณูปโภค คือ ความเพียงพอของห้องปฏิบัติการ แนวทางการพัฒนาฯ อุณหภูมิของห้องปฏิบัติการ เช่น ความร้อน การถ่ายเทอากาศ


   จากการวิเคราะห์ทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% พบว่าเพศของผู้ใช้บริการไม่มีความแตกต่างกันในการให้คะแนนความพึงพอใจและแนวทางการพัฒนาห้องปฏิบัติการทางสัตวแพทย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่กลุ่มอายุของผู้ใช้บริการพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ปัญหา อุปสรรค และสิ่งที่ต้องการให้พัฒนา (สิ่งที่อยากบอก) ทั้งสามอย่างสอดคล้องกัน โดยส่วนใหญ่เป็นทางด้านสาธารณูปโภค คือ ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำ เนื่องจากเป็นอาคารเรียนเก่าใช้งานมานานกว่า 30 ปีทำให้ระบบไฟฟ้าต้องทำการเพิ่มจำนวนกระแสไฟฟ้า ระบบน้ำมีการติดตั้งปั๊มน้ำเพื่อจ่ายน้ำไปยังอาคารเรียนทุกชั้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา. (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557. นนทบุรี : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
จารุวรรณ นิพพานนท์. (2543). พฤติกรรมศาสตร์พฤติกรรมสุขภาพในงานสาธารณสูข. ขอนแก่น : ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณรงค์ หงส์แก้ว (2548) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการและการบริการของห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2547. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก, 2556.
สันติ บุญภิรมย์. (2557). การบริหารจัดการในห้องเรียน. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, 2557.
Ittelson, William.H. (1968). The Ames demonstrations in perception. New York : Hafiner Publishing Co.
John, D. Millet. (1954). Management in the Public Service. The quest for effective performance. New York: McGraw-Hill Book.