การประยุกต์ใช้เครื่องมือเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) ในการบริหารงานภาครัฐ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการเทียบเคียงสมรรถนะ และเสนอตัวแบบการเทียบเคียงสมรรถนะที่เหมาะสมกับหน่วยงานภาครัฐ จากการศึกษา พบว่า แนวคิดการเทียบเคียงสมรรถนะเริ่มต้นจากองค์กรธุรกิจที่ต้องการปรับปรุง ผลการดำเนินงานอย่างก้าวกระโดด ตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 ในขณะที่หน่วยงานภาครัฐเพิ่งตื่นตัวกับแนวคิดนี้ ในปี ค.ศ.1990 เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงานภาครัฐตามแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (NPM) โดยตัวแบบการเทียบเคียงสมรรถนะ มีพื้นฐานแนวคิดมาจาก PDCA ของ Deming ประกอบด้วย ขั้นตอนการวางแผน และขั้นตอนการเทียบเคียงสมรรถนะ ซึ่งสิ่งสำคัญในการทำ Benchmarking หน่วยงานต้องตอบคำถาม 4 ข้อ คือ เราอยู่ที่ไหน ใครเก่งที่สุด เขาทำอย่างไรจึงสำเร็จ และเราจะทำให้ดีกว่าเขาได้อย่างไร ส่วนปัญหาในการนำเครื่องมือ Benchmarking มาใช้ในภาครัฐ คือ การสร้างแรงจูงใจในการแข่งขัน ความยากในการค้นหาองค์การที่เป็นเลิศ เป้าหมายขององค์การขาดความชัดเจน และปัญหาในการนำไปปฏิบัติจริง
Article Details
บทความที่ตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อย่างไรก็ตาม กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการทำซ้ำ คัดลอก หรือเผยแพร่ แต่จะต้องอ้างอิงให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ