การวัดประสิทธิภาพธนาคารพาณิชย์ไทยโดยวิธี Data Envelopment Analysis
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประสิทธิภาพธนาคารพาณิชย์ ที่ดำเนินงานในประเทศไทยจำนวน 11 แห่ง ในช่วงเวลาปี 2549 ถึง ปี 2551 เพื่อระบุค่าประสิทธิภาพ เสนอแนะแนวทางปรับปรุงประสิทธิภาพ และแสดงการพัฒนาประสิทธิภาพทางการผลิตโดยรวมของธนาคาร โดยใช้วิธี Data Envelopment Analysis และ Malmquist Productivities Index ผลการศึกษาพบว่า มีธนาคารจำนวน 5 แห่งที่มีประสิทธิภาพตามข้อสมมุติผลตอบแทนต่อขนาดคงที่ ตลอดช่วงระยะเวลาที่ศึกษา ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารสินเอเชีย จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และมีธนาคารจำนวน 7 แห่งที่มีประสิทธิภาพตามข้อสมมุติฐานผลตอบแทนต่อขนาดผันแปรตลอดช่วงระยะเวลาที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารสินเอเชีย จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และการวัดการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมของธนาคารในแต่ละปี พบว่า ธนาคารทุกแห่งมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต หรือมีการพัฒนากระบวนการผลิตแบบใหม่ในช่วงระยะเวลาที่ศึกษา และธนาคารส่วนใหญ่มีการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นยกเว้น ธนาคาร ทหารไทย จำกัด (มหาชน) เพียงแห่งเดียวที่มีการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมลดลง ซึ่งธนาคารดังกล่าวควรที่จะให้ความสำคัญในการจัดการปัจจัยการผลิตไปผลิตเป็นผลผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Article Details
บทความที่ตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อย่างไรก็ตาม กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการทำซ้ำ คัดลอก หรือเผยแพร่ แต่จะต้องอ้างอิงให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ