การปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยแนวคิดลีน: กรณีศึกษาโรงงานผลิตถุงมือยาง จังหวัดสงขลา

Main Article Content

จุฑาภรณ์ แก้วสุด
ศรัณยู กาญจนสุวรรณ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการประยุกต์ใช้แนวคิดลีนเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตของโรงงานผลิตถุงมือยาง จังหวัดสงขลา ซึ่งเริ่มต้นจากการศึกษาปัญหา และสาเหตุของปัญหา วิเคราะห์กระบวนการทำงานแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยหลัก 5W1H โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก 11 คน ด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสนทนากลุ่ม อีกทั้งผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้เครื่องมือลีนในการสร้างแผนผังสายธารคุณค่าและหลักการ ECRS ซึ่งประกอบด้วย การกำจัด (Eliminate) การรวมกัน (Combine) การจัดใหม่ (Rearrange) และการทำให้ง่ายขึ้น (Simplify) เพื่อทำการปรับปรุงกระบวนการทำงานเดิม โดยลดการทำงานที่ไม่จำเป็น ปรับปรุงกระบวนการบางกระบวนการให้สามารถทำงานพร้อมกันได้ และใช้วิธีการใหม่ ซึ่งผลการเปรียบเทียบกระบวนการทำงานก่อนและหลังการปรับปรุง พบว่า งานระหว่างผลิตลดลงร้อยละ 2.56 และส่งผลให้เวลากระบวนการทำงานรวมก่อนการปรับปรุงลดลงจาก 229.92 ชั่วโมง เป็น 217.72 ชั่วโมง หลังการปรับปรุง ซึ่งทำให้ลดเวลาลงได้ถึงร้อยละ 5.31 ชี้ให้เห็นว่า แนวคิดลีนเป็นแนวคิดที่นำไปสู่การลดความสูญเปล่า ซึ่งส่งผลให้องค์กรมีกระบวนการผลิตที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และสามารถลดความล่าช้าในการส่งมอบงานให้กับลูกค้าได้ ผู้วิจัยจึงเสนอให้ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการลดความสูญเปล่าที่เกิดจากการทำงานซ้ำซ้อน และไม่จำเป็นในกระบวนการผลิตถุงมือยางโดยใช้แนวคิดลีน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจโรงงานผลิตถุงมือยางต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Bank of Thailand. (2018). Report of important agricultural product prices in Thailand Quarter 2/2018. Retrieved June 15, 2019, from https://www.bot.or.th

Buakaew, N. (2015). Introduction to lean manufacturing. Bangkok. SE-ED.

Chen, J., Lee, H., Chiu, S., & Tseng, B. (2011). Productivity improvement with lean production in glove manufacturing industry. The paper presented at the 3rd International Conference on Advanced Design and Manufacture, Nottingham.

Lu, T., Wu, M., & Wu, C. (2018). Improve production process performance by using lean Management a case study

of lady underwear. The paper presented at the 18th International Conference on Electronic Business, China.

Nimitphuwadon, N. (2014). Waste reduction in warehousing process with lean concept case study: furniture industry. Journal of Business Administration Lampang Rajabhat University, 7(2), 66-72.

Ruekkasaem, L., & Nivasanon, C. (2019). Implementation of lean production a fashion clothing factory. Journal of Industrial Management Phranakhon Rajabhat University, 2(2), 45-46.

Russell, R., & Taylor, B. (2011). Operation management. Virginia. John Willey & Sons.

Saetung, S., Thirasirikul, J., & Premchaiswadi, W. (2018). A Study of components of total quality management and lean manufacturing system affecting management efficiency of hard-disk-drive industry in Thailand, Journal of Social Academic, 11(3), 360-370.

Srisungsuk, K. (2009). Waste reduction by lean six sigma approach in micro coaxial cable manufacturing process. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University, Bangkok.

Suhardi, B., Anisa, N., & Laksono, P. (2019). Minimizing waste using lean manufacturing and ECRS principle in Indonesian furniture industry, Cogent Engineering, 6(1), 1-13.

The Office of Industrial Economics and Plastics institute of Thailand. (2018). Industry report production of rubber and rubber products in Thailand. Retrieved June 30, 2019, from http://rubber.oie.go.th/box/Article/56638/.pdf

Wajanawichakon, K., Srisawat, P., & Thippo, W. (2015). Application of value stream mapping for Increasing an efficiency of logistics and supply chain of automatic rice steamer in Ubonratchathani, Journal of Industrial Management Technology Ubon Ratchathani Rajabhat University, 8(2), 2-3.