การศึกษาวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายผลไม้แบบส่งผ่าน กรณีศึกษา: พื้นที่การค้าผลไม้ระหว่างอำเภอหาดใหญ่ และอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์คัดเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์กลางผลไม้แบบส่งผ่านที่มีการซื้อขายระหว่างอำเภอหาดใหญ่ และอำเภอสะเดา (ผ่านด่านปาดังเบซาร์) จังหวัดสงขลา เพื่อนำไปสู่การลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่ต่ำที่สุด และเป็นทำเลที่ตั้งที่มีความเหมาะสมที่สุด การวิจัยได้มุ่งพิจารณาปริมาณการไหลเวียนสินค้าจากผู้ประกอบการในบริเวณตลาดซื้อขายผลไม้หลัก 4 แห่งในอำเภอหาดใหญ่ ที่ได้มีการนำเข้าผลไม้ผ่านทางด่านปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นการพิจารณาร่วมกันระหว่างปัจจัยเชิงปริมาณ และปัจจัยเชิงคุณภาพ เปรียบเทียบต้นทุนการขนส่งตามแนวคิดการคำนวณทำเลที่ตั้งจากทฤษฎี Center of Gravity และ Exact Center of Gravity Approach เก็บข้อมูลรอบแรกสำหรับกลุ่มตัวอย่างเป็น 80% ของผู้ประกอบการในพื้นที่โดยประมาณ จำนวน 51 ราย และการเก็บข้อมูลลำดับถัดไปเป็นกลุ่มตัวอย่างจากผู้ประกอบการและผู้บริโภคจำนวนทั้งสิ้น 30 ราย เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงคุณภาพทั้ง 7 ด้าน เช่น ด้านแหล่งผลิต แหล่งผู้บริโภค แหล่งแรงงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เป็นต้น รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยพบว่า ทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมควรตั้งอยู่ในบริเวณตลาดทวีทรัพย์ ถนนประธานอุทิศ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ ซึ่งมีค่าละติจูด 7.014044 ลองจิจูด 100.469638 ซึ่งการเปิดศูนย์กระจายสินค้าส่งผ่านในบริเวณดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนการขนส่งจากเดิมได้ถึง 9.69% และเป็นตำแหน่งที่ให้ผลคะแนนการวิเคราะห์ 7 ปัจจัยเชิงคุณภาพสูงที่สุดสืบเนื่องจากองค์ประกอบสำคัญเรื่องแหล่งผู้บริโภค และสิ่งอำนวยความสะดวก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อย่างไรก็ตาม กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการทำซ้ำ คัดลอก หรือเผยแพร่ แต่จะต้องอ้างอิงให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
References
Apiprachyasakul, K. (2010). Customer Relationship Management. Bangkok: Duangkamolsamai.
Attatheerawong, A. & Jantaraprakaykul, W. (2006). Designing and Managing the Supply Chain. Bangkok: Top Publishing.
Ballou, H. R. (2004). Business Logistics Management: planning, organizing and controlling the supply chain (5th edition). Prentice Hall: Pearson.
Centre of Agricultural Information. (2013). Thailand Foreign Agricultural Trade Statistics 2013. Ministry of Agriculture and Co-operatives, 403(1), 77-78.
Chaimankong, C. & Chaimankong, M. (2013). Logistics and Supply Chain Sttrategy Competing in the Global Market.
(7th edition). Nonthaburi: Duangkamolsamai.
Chamnanwech, S. (2013). Quantitative Analysis. (2nd edition). Bangkok: Witthayaphat Co., Ltd.
Cheonaksorn, S. (2013). Agriculture Logistics. The paper presented at the Industrial Engineering Seminar - Academic Annual Conference on Thailand Agriculture Logistics, Kasetsart University, Bangkok, Thailand.
Chusri, R. (2011). The study of optimal location for construction materials in Chiang-Khong, Chiang-Rai. (Master’s thesis, Mae Fah Luang University).
Eddie W. L, Cheng H.L, & Ling Y. (2007). A GIS approach to shopping mall location selection. Building and Environment, 42(2), 884-892.
Mentzer T. J., (2008). 7 keys to facility location, Supply Chain Management Review, 12(5), 25-31.
Paskornjarat, S. (2008). Principle of International Business Management. (2nd edition). Bangkok: Chula book.
Salika, A. (2018). The Logistic Costs of Southeast Asian Countries, In Rankings. SEASIA., Retreived November 01, 2018 from https://seasia.co
Tiemtaisong, T. (2010). Logistics management : a case study of northeast distribution center, ABC public company limited., MBA-KKU Journal, 3(1), 14-22.
Wongmanee, W. & Rattanawong, W. (2006). The study of optimal location for distribution center in Indochina Intersection, Phitsanulok. The paper presented at the sixth GS1/TLAPS/Thai VCML Industrial-Academic Annual Conference on Supply Chain and Logistics Management, Anoma Hotel, Bangkok, Thailand.