วัตถุประสงค์ในการจัดพิมพ์
               เพื่อเผยแพร่ศิลปวิทยาการ ความรู้และแนวคิดใหม่ทางด้านบริหารธุรกิจ การจัดการภาครัฐและเอกชน

ขอบเขตสาขาบทความที่เปิดรับพิจารณา
                    - สาขาการจัดการ
                    - สาขาการบัญชี
                    - สาขาการเงิน
                    - สาขาการตลาด
                    - สาขาระบบสารสนเทศ
                    - สาขาบริหารทรัพยากรมนุษย์
                    - สาขาการจัดการโลจิสติกส์
                    - สาขาการจัดการประชุม นิทรรศการและการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล
                    - สาขาการจัดการการท่องเที่ยว
                    - สาขารัฐประศาสนศาสตร์
                    - สาขาเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการ

กลุ่มเป้าหมายในการรับพิจารณาบทความ
               กองบรรณาธิการรับพิจารณาบทความที่เป็นผลงานของอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

ประเภทบทความที่รับพิจารณาตีพิมพ์
               บทความวิจัย (Research Article)  และบทความวิชาการ (Review Article) โดยเปิดรับพิจารณาบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

การกำหนดออกเผยแพร่
               วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำหนดออกเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม

การพิจารณาบทความของผู้ทรงคุณวุฒิ
               บทความที่ผ่านการพิจารณาในเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ จะถูกส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ เพื่อทำการประเมินคุณภาพของเนื้อหาบทความ ซึ่งจะทำการส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่านต่อ 1 บทความ และการพิจารณาบทความของผู้ทรงคุณวุฒินั้นจะเป็นประเภท Double - blinded โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบข้อมูลของผู้เขียนบทความแต่อย่างใด และผู้เขียนบทความก็จะไม่ทราบข้อมูลของผู้ทรงคุณวุฒิด้วยเช่นกัน

กระบวนการพิจารณาบทความ
               ผู้เขียนจะต้องทำการส่งบทความผ่านทางระบบออนไลน์เท่านั้น โดยสามารถส่งบทความได้ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu  บทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์นั้น จะต้องไม่ได้รับการเผยแพร่ที่ใดมาก่อน หรือไม่อยู่ในกระบวนการพิจารณาของวารสารวิชาการหรืองานประชุมวิชาการอื่นใดพร้อมกัน ทั้งนี้ บทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต้องผ่านกระบวนการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ โดยมีกระบวนการดังต่อไปนี้
                    1. เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความผ่านทางระบบแล้ว ก็จะทำการแจ้งให้ผู้เขียนบทความทราบ
                    2. กองบรรณาธิการทำการตรวจสอบรูปแบบบทความ ว่าเป็นไปตามที่กองบรรณาธิการกำหนดหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามที่กองบรรณาธิการกำหนด ก็จะทำการแจ้งให้ผู้เขียนบทความปรับแก้ต่อไป
                    3. กองบรรณาธิการทำการตรวจสอบหัวข้อและเนื้อหาของบทความ ว่าสอดคล้องกับขอบเขตและวัตถุประสงค์ของวารสารหรือไม่ รวมถึงประโยชน์ในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ
                    4. หากบทความผ่านการพิจารณาในเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการดังข้อ 2. และข้อ 3. กองบรรณาธิการก็จะแจ้งให้ผู้เขียนชำระค่าธรรมเนียมในการส่งบทความเพื่อพิจารณาต่อไป (ดูรายละเอียดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในหัวข้อ “อัตราค่าธรรมเนียมของวารสาร”) อย่างไรก็ตาม หากบทความไม่ผ่านการพิจารณาในเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการดังข้อ 2. หรือข้อ 3. ก็ตาม กองบรรณาธิการก็จะแจ้งปฏิเสธการรับพิจารณาบทความให้ผู้เขียนทราบต่อไป
                    5. หลังจากผู้เขียนชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการจะส่งบทความไปยังผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ เพื่อทำการประเมินคุณภาพบทความต่อไป โดยส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่านต่อ 1 บทความ ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบข้อมูลของผู้เขียนบทความแต่อย่างใด และผู้เขียนบทความก็จะไม่ทราบข้อมูลของผู้ทรงคุณวุฒิด้วยเช่นกัน (Double - blinded)
                    6. เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิทำการประเมินคุณภาพบทความเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการก็จะพิจารณาตัดสินผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิอีกครั้ง ว่าบทความนั้นควรให้ปรับแก้เพื่อตีพิมพ์ต่อไปหรือไม่
                    7. กองบรรณาธิการทำการแจ้งผลการประเมินคุณภาพบทความของผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้เขียนบทความทราบ  หากผลการพิจารณาดังข้อ 6. ผ่าน ก็จะแจ้งให้ผู้เขียนปรับแก้บทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการ (ถ้ามี) ภายในระยะเวลาที่กองบรรณาธิการกำหนดตามสมควร อย่างไรก็ตาม หากผลการพิจารณาดังข้อ 6. ไม่ผ่าน ก็จะแจ้งให้ผู้เขียนบทความทราบพร้อมกับผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิเช่นกัน
                    8. กรณีที่การปรับแก้บทความฉบับแก้ไขยังไม่สมบูรณ์ กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนบทความทำการปรับแก้เพิ่มเติม หรือกองบรรณาธิการสามารถปฏิเสธการตอบรับการตีพิมพ์บทความสำหรับการปรับแก้ในครั้งนั้นได้ทันที และถือว่าบทความนั้นไม่ผ่านการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
                    9. ในการปรับแก้บทความแต่ละครั้ง กองบรรณาธิการจะทำการตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของชื่อบทความ บทคัดย่อ เนื้อหา เอกสารอ้างอิง และรายละเอียดอื่น ๆ ตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการ รวมถึงการจัดรูปแบบบทความตามที่กองบรรณาธิการกำหนดด้วย ทั้งนี้ หากผู้เขียนไม่ส่งบทความฉบับแก้ไขมายังกองบรรณาธิการภายในระยะเวลาที่กำหนด กองบรรณาธิการจะถือว่าผู้เขียนสละสิทธิ์ในการตีพิมพ์บทความในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
                    10. เมื่อกองบรรณาธิการพิจารณาตรวจสอบบทความฉบับแก้ไขแล้ว เห็นว่าบทความควรได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กองบรรณาธิการก็จะทำการออกหนังสือรับรองการตีพิมพ์ให้ผู้เขียนบทความต่อไป ทั้งนี้ เนื่องจากกองบรรณาธิการมีการจัดพิมพ์วารสารเป็นรูปเล่ม กรณีที่บทความมีจำนวนหน้าเกินตามที่กองบรรณาธิการกำหนด ผู้เขียนบทความจะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในส่วนหน้าที่เกินเพิ่มเติม (ดูรายละเอียดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในหัวข้อ “อัตราค่าธรรมเนียมของวารสาร”)

               ทั้งนี้ กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับแก้ความถูกต้องของข้อมูล รูปแบบบทความเพื่อให้เป็นไปตามที่กองบรรณาธิการกำหนดในรูปแบบเดียวกัน และขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการพิจารณาหรือการตอบรับการตีพิมพ์บทความในทุกขั้นตอนของกระบวนการพิจารณาหากเห็นสมควร

               บทความที่ตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อย่างไรก็ตาม กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการคัดลอกหรือเผยแพร่ แต่ขอให้อ้างอิงให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

อัตราค่าธรรมเนียมของวารสาร
              ค่าธรรมเนียมในการส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร บทความละ 2,500 บาท (ชำระเมื่อบทความผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ เพื่อจะทำการส่งไปยังผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาต่อไป)
             
               หมายเหตุ: การชำระค่าธรรมเนียมในการส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์นั้น ไม่ได้ถือว่าบทความจะได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เสมอไป เพราะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการก่อน จึงจะสามารถแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้เขียนได้ ว่าบทความผ่านการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารต่อไปหรือไม่ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมให้กับผู้เขียนบทความ ไม่ว่าบทความจะได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือไม่ก็ตาม

นโยบายการเข้าถึงวารสาร
               วารสารนี้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างทั่วถึง โดยยึดหลักการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณะอย่างอิสระเสรี เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในระดับสากลที่มากขึ้น

ผู้สนับสนุน
               คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
               เลขที่ 15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112