รูปแบบการพัฒนาทักษะวิชาชีพทางการศึกษาในการขับเคลื่อนและยกระดับนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล
คำสำคัญ:
ทักษะวิชาชีพ, นวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ปัจจัย รูปแบบ และแนวทางการพัฒนาทักษะวิชาชีพทางการศึกษา รวมทั้งทดสอบความสอดคล้องของรูปแบบในการขับเคลื่อนและยกระดับนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน ทั้งเทคนิควิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
1 องค์ประกอบและแนวทางการพัฒนาทักษะวิชาชีพทางการศึกษาในการขับเคลื่อนและยกระดับนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล มีจำนวน 4 องค์ประกอบ คือ ด้านภาวะผู้นำ ด้านวัฒนธรรมของสถานศึกษา ด้านการสนับสนุนบุคลกร และด้านการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์
- สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบปกติของปัจจัยของปัจจัยในสมการพยากรณ์ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = 1.073 + 0.289 (IL) + 0.186 (MQ) + 0.165 (HR) + 0.140 (EFF) ,สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน y = 0.380 (IL) + 0.223 (MQ) + 0.204 (HR) + 0.202 (EFF)
- จากการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์ พบว่า ตัวแปรสังเกตได้ในแต่ละตัวแปรแฝงของโมเดลตามสมมติฐานการวิจัยเป็นตัวชี้วัดจริงตามกรอบแนวคิดการวิจัย และสอดคล้องกับโมเดลการวัด
- ตัวแปรแฝงภายนอก คือ ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ตัวแปรแฝงภายใน คือ มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมสถานศึกษาเชิงนวัตกรรม การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ และการสนับสนุนบุคลกรทางการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมซึ่งตัวแปรแฝงภายนอกมีความสัมพันธ์กับแฝงภายใน โดยส่งอิทธิพลต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมในยุคดิจิทัล
- การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาทักษะวิชาชีพทางการศึกษาในการขับเคลื่อนและยกระดับนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในการพัฒนาผู้บริหาร มีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01
ทั้งนี้ รูปแบบฯ ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตครู/บุคลากรทางการศึกษา เพื่อออกแบบการจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่ให้มีลักษณะที่เหมาะสมกับการเป็นพลเมืองโลก พัฒนาสถานศึกษาให้มีความพร้อม สามารถจัดการเรียนรู้ได้หลากหลาย การพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาให้มีลักษณะเป็นนวัตกรเพื่อความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล
References
Chaemchoy, S. (2019). Educational institution administration in the digital age. Chulalongkorn University Printing House.
Chumwaengwapee, A. (2017). The development model of innovation organization for secondary schools under the office of basic education commission (Doctoral dissertation, Burapha University).
Kunrat, T. (2022). Professional development of education administration in the digital age. Journal of
Quality of Life and the Law, 11(2).
Ministry of Education. (2019). Status of teacher production and development in Thailand. Prigwhan Graphic Company.
Najampa, T. (2021). The development of educational management model in the digital era for secondary school in the central region under the office of the Basic Education Commission (Doctoral dissertation, Srinakharinwirot University).
Office of the Education Council. (2017). The national education plan B.E. 2560-2579 (2017-2036). Prigwhan Graphic Company.
Office of the Public Sector Development Commission. (2011). Knowledge management: KM to modern public administration. Thailand Local Administrative Organization. http://www.thailocaladmin.go.th/work/km/home/kmstory2.htm
Pengsanga, M., & Wangthanomsak, M. (2023). School administration in the digital era. Srinakharinwirot
Academic Journal of Education, 24(2), July-December.
Sittichai, K. (2018). Organization management according to McKinsey’s 7s framework that contributes to innovation organization: Case study: Organization awarded an excellent innovation organization. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3).
Voratitipong, A. (2018). The study of digital technology model for education – Basic education. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 1200-1215.
Wuttirong, P. (2020). Innovation management, resources, learning organizations, and innovation. Chulalongkorn University Printing House.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.