แนวทางการพัฒนาศักยภาพทุนทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมือง จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • รัฐพล ภุมรินทร์พงศ์ Rajamangala University of Technology Lanna Tak

คำสำคัญ:

ทุนทางวัฒนธรรม, การพัฒนาผลิตภัณฑ์, การท่องเที่ยว, เศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์และประเมินศักยภาพของทุนทางวัฒนธรรม และ 2) เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมือง จังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์ ผู้บริหาร ตัวแทนชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน และการสนทนากลุ่ม ตัวแทนชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 70 คน 2) การวิจัยเชิงปริมาณ คือ ประชาชนในตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมือง จังหวัดตาก จำนวน 351 คน และ 3) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในการฝึกปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทุนทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว 2 ผลิตภัณฑ์ จำนวน 25 คน รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การระดมสมอง และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสรุปอุปนัยและสถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผลการประเมินศักยภาพของทุนทางวัฒนธรรมพบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านทุนด้านการท่องเที่ยว มีศักยภาพมากที่สุด รองลงมาคือ ทุนด้านหัตถกรรม อยู่ในระดับปานกลาง และทุนด้านวัฒนธรรมประเพณี ทุนด้านเกษตรกรรม และทุนด้านอื่น ๆ ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย 2) แนวทางในการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมือง จังหวัดตาก คือ การดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าจากทุนทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว “โมเดลสะพานแขวน” และ “พวงกุญแจศาลหลักเมือง” โดยประยุกต์ใช้ทั้งทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนหรือใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำ ถือเป็นการดำเนินงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ โดยผสานเข้ากับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สินค้าที่เกิดขึ้นมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์และน่าสนใจมากขึ้น ด้านการตลาดในระยะ 3 เดือนแรก พบว่า สามารถจำหน่ายได้ในปริมาณเฉลี่ยเกิน 83% ต่อครั้งที่ผลิตของทั้ง 2 กลุ่มผลิตภัณฑ์ นำมาซึ่งรายได้แก่กลุ่มซึ่งจะทำให้เกิดความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ต่อไปในอนาคต

References

กชธมน วงศ์คำ. (2562). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหัวขัว ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กัญญารัตน์ แก้วกมล, นิติคุณ ท้าวทอง, สุปวีณ์ รสรื่น, อนุศิษฎ์ เพชรเชนทร์, อมรรัตน์ รัตนสุภา และจันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. (2564). การใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน.วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1): 77-93.

ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2554). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทุนวัฒนธรรมและโอกาสทางธุรกิจ. วารสารนักบริหาร, 31(1): 32-37.

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร?. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2): 25-46.

ณัฐนรี ศรีทอง. (2549). เศรษฐกิจพอเพียงกับสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. กาญจนบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ดาริน วรุณทรัพย์, นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์, ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ และ กาสัก เต๊ะขันหมาก. (2561). รูปแบบการจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทย. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า. 5(1): 17-24.

ธัชกร ภัทรพันปี. (2561). กระบวนการส่งเสริมเอกลักษณ์อาชีพสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุในตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

สายพิณ สังคีตศิลป์. (2554). การประยุกต์พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมสาขาศิลปะประดิษฐ์ของจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2544). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8. สืบค้น 28 กันยายน 2566, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=3784.

สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์. (2546). คู่มือการวัดทางจิตวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์เมดิคัล มีเดียร์.

สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมาลี เจริญบุญ. (2555). การส่งเสริมกลุ่มอาชีพในองค์การบริหารส่วนตำบลคุยม่วง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ให้เข้มแข็งและพึ่งตนเองได้. ปริญญารัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

องค์การบริหารส่วนตำบลป่ามะม่วง, (2566). ข้อมูลทั่วไปตำบลป่ามะม่วง. สืบค้น 20 ตุลาคม 2566, จาก https://www.pamamuang.go.th.

องค์การบริหารส่วนตำบลป่ามะม่วง. (2564). จำนวนประชากรในตำบลป่ามะม่วง ปี 2564. สืบค้น 16 มีนาคม 2566, จาก https://www.pamamuang.go.th/condition.

อัญธิชา มั่นคง. บทบาทของทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษาชุมชนในตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 12(39): 99.

อุทิศ ทาหอม และคณะ. (2558). ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านตามา จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 11(2): 47.

เอกราช จันทร์กลับ. (2563). แนวทางการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์: กรณีศึกษาสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

C. Campbell. (2010). “Creative Tourism Providing a Competitive Edge Tourism Insight” [online]. Retrieved August. 20, 2023, from www.insights.org.uk/articleitem.aspx?title=Creative%20Tourism%20Providing%20a%20Competitive%20Edge.

Cohen,J.M. & Uphooff,N.T. (1981). Rural development participation: Concept and measures for project design implementation and evolution rural development committee center for international studies. New York: Longman.

G. Richard. (2009). “Creative Tourism and Local Development” [online]. Retrieved August. 20, 2023, from https://www.academia.edu/4386384/Creative_Tourism_and_Local Development.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2024

How to Cite

ภุมรินทร์พงศ์ ร. . (2024). แนวทางการพัฒนาศักยภาพทุนทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมือง จังหวัดตาก. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 9(6), 65–82. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/281416

ฉบับ

บท

บทความวิจัย