การนิเทศการศึกษาในยุควิถีใหม่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • อารีลักษณ์ ปุ๊กน้อย มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การนิเทศการศึกษา, ยุควิถีใหม่, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบการนิเทศการศึกษาในยุควิถีใหม่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ได้ศึกษาแนวคิดการนิเทศการศึกษา จุดมุ่งหมายความสำคัญและความจำเป็น รวมถึงกระบวนการนิเทศการศึกษาในยุควิถีใหม่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเป็นกรอบการวิจัย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการนิเทศการศึกษา จำนวน 19 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง 2) แบบสอบถาม โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่ามัธยมฐาน ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า การนิเทศการศึกษาในยุควิถีใหม่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านบุคลากรการนิเทศการศึกษา ผู้นิเทศต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ 2) ด้านการวางแผนการนิเทศการศึกษา กำหนดเป้าหมาย จัดทำแผนการนิเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับการนิเทศ กำหนดปฏิทิน เครื่องมือ สร้างความเข้าใจระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ 3) ด้านกระบวนการนิเทศการศึกษา ผู้นิเทศให้คำชี้แนะ ข้อมูลย้อนกลับ สร้างขวัญกำลังใจ สร้างเครือข่ายการนิเทศ 4) ด้านสื่อนวัตกรรมการนิเทศการศึกษา ส่งเสริมให้ครูมีความรู้ในด้านเทคโนโลยี สามารถผลิตและเลือกใช้สื่อนวัตกรรมได้อย่างหลากหลาย และ 5) ด้านการสรุปและรายงานผลการนิเทศการศึกษา โดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) นำผลการนิเทศไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการศึกษา นำเสนอผลงานที่เป็นแบบอย่าง บันทึกเรื่องราวความประทับใจที่เกิดขึ้น เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ผู้นิเทศควรเป็นผู้ตื่นรู้ มีความรู้รอบด้าน สามารถให้คำชี้แนะแนวทางได้อย่างสร้างสรรค์ เป็นกัลยาณมิตร และควรดำเนินการนิเทศในลักษณะของภควันตภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

References

Abdulla, M., Al-Malki, H., (2021). Supervision in the time of COVID-19 at Rustaq College of Education” Retrieved from: https://www.researchgate.net/publication/345978055

Bunsiriphan, M., (2021). New way of life. Retrieved from: https://news.thaipbs.or.th/content/292126.

Chuenjit, N., (2021). The 14th National and International Research Presentation Conference "Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2021,

Educational Supervision Unit Office of the Basic Education Commission., (2021). Science and Arts in Educational Supervision. Bangkok: 8-16.

Educational Supervision Unit Office of the Basic Education Commission., (2023). Development of the Quality of Educational Supervision. Bangkok: 2-3

Gray, J., (2016). Leadership coaching and mentoring: A research-based model, University Council for Educational Administration Annual Conference. 1-26.

Kaewsud. W., et al., (2018). Development of the PPDER supervision model to develop active learning management that emphasizes the PLC process for small schools. Under the area office Secondary Education Area 20, Research Report Office of the Basic Education Commission, Abstract.

Khamchan, P., (2022). Future picture of educational supervision for educational supervisors under the Primary Educational Service Area Office in the next decade: the case of technology (computational science), Ph.D. thesis, Department of Development Education: Graduate School Naresuan University. Abstract.

Mulyanti, D., (2023). Educational Supervision to Improve Teachers’ Learning Quality and Performance in the New Normal Era, Al-Ishlah: Jurnal Pendidikan. 3749-3755.

Taup, W., Thammasit, P., and Panyasai, W., (2022). Guidelines for internal supervision in the New Way of Life era of secondary schools in Uttaradit province, Journal of Roi Kaensarn Academi. 254-272.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย