ความสำคัญของการวิเคราะห์ปัจจัยการดำเนินงานด้านการผลิต

ผู้แต่ง

  • วราวุฒิ ปัจฉิมพิหงค์ -
  • ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ปัจจัยการดำเนินงาน, การจัดการด้านการผลิต, อุตสาหกรรมการผลิต

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ปัจจัยการดำเนินงานและการจัดการการผลิตเป็นส่วนสำคัญในการประสบความสำเร็จทางธุรกิจ เพื่อให้องค์กรสามารถพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานและการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์หรือบริการ ให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสูงสุด การจัดการการดำเนินงานการผลิต เน้นการวางแผนและการควบคุมกระบวนการผลิต สร้างผลผลิตและกำไรสูงสุดในองค์กร  การทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานและการผลิตเป็นสิ่งสำคัญ ในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา เพราะมีผลต่อความสามารถในการผลิตสินค้าหรือบริการที่ดีขึ้นและลดค่าใช้จ่ายในการผลิต การวิเคราะห์ปัจจัยการดำเนินงานด้านการผลิตยังช่วยให้องค์กรปรับปรุงกระบวนการทำงานและผลิตภัณฑ์ของตนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การนำเสนอทฤษฎีและแนวคิดเหล่านี้ จึงมุ่งเน้นการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตโดยนำเสนอทฤษฎีและแนวคิด ดังนี้ 1.) ออกแบบการวางแผน 2.) ปรับปรุงกระบวนการ, 3.) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ 4.) การจัดการเครื่องจักรและบำรุงรักษา 5.) การควบคุมคุณภาพ  6.) การจัดการสินค้าคงคลัง 7.) การวิเคราะห์ต้นทุนด้านการผลิต และ 8.) การพัฒนาระบบการผลิตอัตโนมัติ การวิเคราะห์ปัจจัยการดำเนินงานและการผลิตสามารถสร้างความสำเร็จและความยั่งยืนของธุรกิจ ช่วยให้องค์กรปรับปรุงการดำเนินงานการผลิตให้เพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความยั่งยืนในยุคการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นได้อย่างคุ้มค่า

References

Drucker, 1954 cite by Satheesan, P. and Narashiman, K. (2016, SEP. 6). Performance effectiveness of total quality management implementation in small and medium enterprises 6(9). Asian Journal of Research in Social Sciences and Humanities, 1841-1862.

Gronphet, S., Chaloeyjanya, K., Suksawat, B., & Attavinijtrakarn, P. (2020, September – December Vol. 11 No. 3). The Development of Business Management Model in the High Precision Cutting Tools Industry. Technical Education Journal : King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, p. 59.

Heizer, J., & Render, B. (2011). Operations Management. (1. G. Edition, Ed.) and Render, B.: Pearson Prentice Hall.

Kanboonruang, C. (2013). The Production Management of Organic Vegetables Group in Tumbon Nongpakrung, Muang District, Chiang Mai Province with participations of the community. Chiang Mai: Payap University.

Kumar , S., & Suresh, N. (2009). Operations Management. New Delhi: New Age International.

Pinichchan, G., Jeharrong, P., Muleng, T., Kutipakdee, T., & Salae, A. (2020, OCT-DEC). The Development of Potential in Production Process and Marketing of Freshwater Fish Products Processing Community Enterprise, Baan Ta Pha Yao Tan To District, Yala Province. Journal of Accountancy and Management Mahasarakham University, 12(4), 70-71.

Schonberger, R. J. (2008). World Class Manufacturing Japanese Manufacturing Techniques. New York Usa: THE FREE PRESS A Division of Simon&Schuster Inc.

Siaoprachuap, M. (2014). Operations Managment. Udon Thani: Faculty of Management Science, Udon Thani Rajabhat University,.

Somjai, P. (2021). STRATEGIC MANAGEMENT. (21, Ed.) Bangkok: Amarin How To.

Varnakomala, P., & Thapayom, A. (2020). Strategy of Productivity Management for Thailand Manufacturing. Academy of Marketing Studies Journal, 24(2), 1-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2024

How to Cite

ปัจฉิมพิหงค์ ว. ., สุขะปรเมษฐ ศ. ., & เชาว์แสงรัตน์ เ. . (2024). ความสำคัญของการวิเคราะห์ปัจจัยการดำเนินงานด้านการผลิต. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 9(6), 461–473. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/277976

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ