การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

นวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษา, , ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21, , สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมพัฒนาผู้เรียน และสร้างรูปแบบนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งประเมินและรับรองรูปแบบนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยผสานวิธีแบบหลายขั้นตอนโดยใช้เทคนิคเดลฟาย และการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารสถานศึกษาที่อยู่ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตาม พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อความถูกต้องและความเหมาะสม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

          ผลการวิจัยพบว่าการบริหารสถานศึกษา สิ่งสำคัญคือระบบในทำงาน ซึ่งต้องประกอบด้วย 1) ปัจจัยนำเข้าเป็นองค์ประกอบแรกจะนำไปสู่การดำเนินงาน โดยครอบคลุมถึงสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย ภาวะผู้นำ บุคคลาทางการศึกษา  โครงสร้างองค์กร แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา และวัฒนธรรมองค์กร 2) กระบวนการ ประกอบด้วย การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนและออกแบบ การใช้นวัตกรรม และการประเมินผล 3) ผลผลิต ประกอบด้วย นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมกระบวนการ และนวัตกรรมรูปแบบการบริหาร ทั้งนี้ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าเหมาะสม ส่วนผลการประเมินความถูกต้องและความเหมาะสมของรูปแบบนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารสถานศึกษามีความเห็นว่า มีความถูกต้องระดับมากที่สุด และความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน

References

Chandra Dankongrak. (2018). Development of teaching creative thinking skills. Bangkok : Publisher of Chulalongkorn University.

Chakkrit Siririn. (2018). Innovation Management leads educational institutions into the 5.0 era. https://www.salika.co/2019/09/05/innovation_management-educational-5-0-era.

Duangduean Satraphat. (2014). Creative thinking. Journal of Health and Health Management, 1(1)

Jittima Kulprasertrat. (2019). Educational innovation. From https://bit.ly/374guxv.

Jitima Wansri. (2020). Innovation for educational institution development. Phitsanulok: Rattanasuwan Printing

Kannika Sittichai. (2018). Organizational management according to McKinsey's 7s concept that facilitates being an innovative organization. Case study of an organization that received the Outstanding Innovation Organization award. Silpak University Journal.

Nawachon Somboonsin. (2022). Administrative innovation management model in basic educational institutions. Doctor of Philosophy in Educational Administration Naresuan University

Office of the National Economic and Social Development Board. (2020). National reform plan. (3rd edition). Bangkok: Office of the Secretary of the National Strategy Committee. Office of the National Economic and Social Development Board.

Office of the Basic Education Commission. (2007). Guidelines for decentralizing administration. and provision of education-to-education area committees and educational institutions According to the ministerial regulations specifying the criteria and methods for decentralizing educational administration, 2007. Bangkok: Agricultural Cooperatives Association of Thailand.

Office of the Secretariat of the Education Council. (2008). Framework for educational development. During the National Economic and Social Development Plan No. 10 (2007-2011) which is consistent with the National Education Plan (2002-2016), summary version. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Office of the Secretariat of the Education Council. (2019). State of Thai education 2018/2019. Educational reform. In the digital age. Bangkok: Office of the Secretariat of the Education Council.

Panya Lertkrai. (2019). Innovation management for organizational development. From https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/218069.

Phrakru Pariyatkhunrangsi.(2018). Developing student potential in the 21st century. https://so07.tci-thaijo.org › article › download.

Worawut Ramchan. (2012). Educational innovation and learning. Creatively in educational institutions in the new era. Romphruek Journal Krirk University, 30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-02-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย