การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ประดิษฐ์ ดีวัฒนกุล สถาบันรัชต์ภาคย์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่, การบริหารงานทรัพยากรบุคคล

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่และการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษกรุงเทพมหานคร ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่และการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษกรุงเทพมหานคร และรูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ และการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างของขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษกรุงเทพมหานครกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,313  คนจากประชากรทั้งสิ้น 30,871 คน  โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นการวิจัยเชิงสำรวจเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล

           ผลการวิจัย พบว่า ระดับการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่และการพัฒนาทรัพยากรบุคคลการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ด้านการมุ่งเน้นผลลัพธ์ การวัดผลการปฏิบัติงานการกระจายอำนาจและการแบ่งย่อยเป็นหน่วยงานต่าง ๆ ด้านการแข่งขันด้านการทำงานในรูปแบบสัญญาหรือคล้ายสัญญาด้านการจัดการทางการเงินและบัญชีด้านความโปร่งใสอยู่ในระดับปานกลางและด้านการเลียนแบบการจัดการภาคเอกชนด้านการเน้นลูกค้าด้านการมีภาระความรับผิดชอบด้านการมีส่วนร่วมของพลเมืองอยู่ในระดับมากและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษกรุงเทพมหานครด้านการพัฒนาสมรรถนะด้านความผูกพันต่อองค์กรด้านการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ด้านการให้สิ่งจูงใจและด้านการประผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่และการพัฒนาทรัพยากรบุคคลส่งผลไปในทิศทางเดียวกัน

References

Allen, Natalie J. and Meyer. John P. (1990). The Measurement and Antecedents of Affective, Continuance and Normative Commitment to the Organization. Journal of Occupational Psychology. 63 (6) : 1-18.

Christopher Hood. (1991). A public management for All Seasons Public Administration.

Chulachakwat, J., (2004). Opinions on the performance of Thai civil servants and the new style of public management. Doctor of Political Science Degree Thesis Major: Political Science, Faculty of Political Science: Chulalongkorn University.

Department of Local Administration Promotion. (2018). Includes announcements regarding personnel management of sub-district employees and sub-district administrative organization employees. Bangkok : Human Resources Management System Development Office Department of Local Administration Promotion.

Nimpanich, J., (2007). New public administration: principles, concepts and examples of Thailand. Nonthaburi, Sukhothai Thammathirat Open University Press.

Pancharoenkit, L., (2017). Organizational development according to the learning organization concept: A specific case study of Siam Commercial Bank Public Company Limited. Thesis for the Master of Public Administration program. Department of Public Administration Graduate School Chulalongkorn University.

Peters, B. G. (2001). The Future of governing: Four emerging models. Lawrence:University of Kansas.

Sirisamphan, T., et al. (2018). Development of the government inspection system and government inspectors. Research report on the development of the public administration inspection system. Bangkok : Thailand Research Fund.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย