การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนจังหวัดปัตตานี ด้านห่วงโซ่คุณค่าสู่ความเป็นมืออาชีพเพื่อความยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • ทักษญา สง่าโยธิน มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

วิสาหกิจชุมชน, ห่วงโซ่คุณค่า, มืออาชีพ, ความยั่งยืน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชน จังหวัดปัตตานี ด้านห่วงโซ่คุณค่าสู่ความเป็นมืออาชีพเพื่อความยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่ม โดยแบบเจาะจง คือ กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มข้าราชการ กลุ่มนักธุรกิจในพื้นที่และผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชน รวม 17 คน วิเคราะห์ด้วยเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique)

ผลการวิจัย พบว่า แนวทางพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชน จังหวัดปัตตานี ควรส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรการบริหารจัดการ 4M’s ได้แก่ ด้านคน (Man) คือ ควรมีการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะในการผลิตและบริการ ด้านเงิน (Money) ควรมีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการพึ่งตนเองมาใช้ ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ (Material) ควรนำนวัตกรรมจากผลการศึกษาของสถาบันการศึกษาในพื้นที่มาปรับใช้ และด้านการบริหารจัดการ (Management) ควรนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการพึ่งตนเองมาใช้ ในการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าในกิจกรรมหลัก ในด้าน Inbound Logistics มีการจัดทำระบบสั่งซื้อล่วงหน้า วางแผนการผลิตและการจัดหาผู้จำหน่าย มีระบบการสั่งซื้อ จัดเก็บและเบิกใช้วัตถุดิบที่มีประสิทธิภาพ ด้าน Operation (Manufacturing) มีการพัฒนาความรู้และทักษะการแปรรูปที่ได้มาตรฐาน ด้าน Outbound Logistics จัดส่งสินค้าที่รวดเร็วเชื่อมโยงเครือข่ายในพื้นที่และร่วมมือกับบริษัทประชารัฐรักสามัคคีปัตตานีวิสาหกิจเพื่อสังคมในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านร้าน Farm Outlet Pattani ด้าน Marketing and Sales มีการสร้างตราสินค้าที่สื่อสารถึงเอกลักษณ์ของสินค้า และด้าน Service มีระบบสมาชิก และนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยในการให้บริการ ส่วนการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าในกิจกรรมสนับสนุน ด้าน Procurement ต้องสร้างเครือข่ายในการจัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ด้าน Technology Development ควรจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้น ด้าน Human Resource Management ควรนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ และ ด้าน Firm Infrastructure กำหนดระบบงาน แบ่งความรับผิดชอบให้ชัดเจน ส่งเสริมสังคมแห่งการแบ่งปันและช่วยเหลือกัน

References

Blair, D.C. (2002). Knowledge Management : Hype, hope, or help. Journal of the American

De Carolls, Donna M. (2014). We Are All Entrepreneurs: It’s A Mindset, Not A Business Model. Website https://www.forbes.com/sites/forbeswomanfiles/2014/01/09/

Kaewsang, U. and Rattanapahu, S. (2021). Guidelines for developing the logistics system for herbal products in the southern provinces on the Gulf of Thailand: Chumphon, Surat Thani, Nakhon Si Thammarat and Phatthalung. Journal of Buddhist Social Sciences and Anthropology. 6(4)M 39-50.

Macmillan, Thomas T. (1971). The Delphi Technique. Paper Presented at The Annual

Meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development. Ca: Monterey, May 3-5.

National Economic and Social Development Board, Office. “National Economic and Social Development Plan No. 12 (2017-2021)”. (online). Accessible from http : //www.nesdb.go. th/

National Innovation Agency (Public Organization). (2019) . 10th Year NIA : Toward Innovation Nation. Bangkok: National Innovation Agency (Public Organization).

National Strategy Preparation Committee. “20-year national strategy (2018 - 2037)”. (online). Accessible from http : //www.thaitribune.org/contents/detail/

New York: Free.

Nithichaianan, N. and Chidchong, M. (2022). Guidelines for community business development to strengthen potential. and strength in developing the community economy for stability and sustainability. Case study: Community business, Kap Choeng District, Surin Province. Research and Development Journal Rajabhat University 17(59), 84-92.

Porter, M. E. (1985). Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance.

Sangayothin, T. (2022). Developing the potential of community enterprises in southern border provinces to raise the level Competitive ability. RMUTT Global Business and Economics Review. 17(1), January-June 2022.

Sangayotin. T. (2021). The potential and professionalism development of community enterprises in Thailand for sustainability. Journal of Management Information and Decision Sciences, 24(S1), 1-10.

Society for Information Science and Technology, 53(12), 1019-1028.

Sridan, P. (2021). Complete report of the Social Innovation Project. Community enterprise group for Develop products to compete commercially under the concept of Circular Economy (Circular Economy). Social Research Institute Chulalongkorn University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-02-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย