กระบวนการสื่อสารทางการเมืองของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ : ศึกษาในช่วงเวลาปี พ.ศ.2555–พ.ศ.2565

ผู้แต่ง

  • ชมัยพร หนุนภักดี วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก
  • นันทนา นันทวโรภาส วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

การสื่อสารทางการเมือง, บริบททางการเมือง, กระบวนการสื่อสาร

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องกระบวนการสื่อสารทางการเมืองของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์: ศึกษาในช่วงเวลาปี พ.ศ.2555–พ.ศ.2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบริบททางการเมืองที่มีผลต่อการสื่อสารทางการเมืองของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในช่วงระหว่างปี 2555 – 2565 และ (2) ศึกษากระบวนการสื่อสารทางการเมืองของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในช่วงระหว่างปี 2555 – 2565 ซึ่งผู้ศึกษาใช้การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และบทสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) โดยการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ทางด้านแนวคิด ทฤษฎี รายงานเอกสารต่างๆ บทความ วารสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนบทสัมภาษณ์ผ่านสิ่งพิมพ์ สื่อช่องทางต่างๆ มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์
ผลการศึกษา พบว่า การสื่อสารทางการเมืองของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นผลมาจากภูมิหลัง ทั้งครอบครัว และการศึกษา ที่ทำให้เขาเป็นคนเก่งและฉลาด มีทัศนคติเชิงบวกในหลายๆ ด้านประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา ทั้งการเป็นนักวิชาการ อาจารย์ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ตลอดจนผู้บริหารบริษัทเอกชน ก็เป็นสิ่งสะท้อนความสามารถที่หลากหลาย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการสื่อสารทางการเมือง โดยสะท้อนออกมาผ่านทางวาทกรรม รูปแบบวิถีชีวิต ตลอดจนตัวสารที่สื่อออกไปถึงแนวทางหรือนโยบายการพัฒนาต่างๆ ผ่านช่องทางการสื่อสารทั้งสื่อวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ เช่น facebook, Instagram, twitter, youtube ไปสู่ผู้รับคือประชาชน ซึ่งตลอดระยะเวลาบนเส้นทางทางการเมือง เริ่มต้นจากปี พ.ศ.2555-2557 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ต่อมาระหว่างปีพ.ศ.2561-2562 เป็นบัญชีผู้สมัคร (candidate) นายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยในปลายปีพ.ศ.2562 และหลังจากนั้นได้มีการประกาศที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จนกระทั่งปีพ.ศ.2565 นายชัชชาติ ก็ชนะการเลือกตั้งในครั้งนั้น ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจนถึงปัจจุบัน ซึ่งไม่ว่าจะในช่วงใดบนเส้นทางทางการเมือง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ก็ยังได้รับความนิยมอยู่เรื่อยมา เพราะภาพลักษณ์ที่เป็นคนติดดิน เข้าถึงง่าย และลงพื้นที่ทำงาน พบปะประชาชนจริง ๆ ผ่านกระบวนการสื่อสารทางการเมือง อย่างมีประสิทธิภาพ

References

Jantapimpa, T. (2004). Marketing Communication on the Image of Female Members of Parliament Candidates in Bangkok. Master's Thesis, Journalism Program, Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University.

Nuntavoropas, N. (2015). Political Communication: Theory and Application (2nd ed.). Bangkok: Mass Media Publishing.

Hanchana, P. (2012). The Political Communication of Thaksin Shinawatra during 2006–2009. Master's Thesis, Mass Communication Program, Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University.

Wipatipoomiprathet, P. (2018). The Political Communication Process of the Prime Minister: A Case Study of Ms. Yingluck Shinawatra. Doctoral Dissertation, Ph.D. Program in Political Communication, College of Political Communication, Krirk University.

Benjaparnrangsikun, P. (2011). Political Marketing Factors Influencing Voting Behavior for Thai Political Parties among Eligible Voters in Bangkok. Master's Independent Study, Marketing Program, Srinakharinwirot University.

Chuenoo, V. (2011). Political Communication Strategies of Chuwit Kamolvisit. Master's Thesis, Political Science Program, Faculty of Political Science, Chulalongkorn University.

Voice Mater Thailand. (2016). Power of Voice: Chadchart Sittipunt and the Great Power of Communication as an Online Celebrity, the Strongest Minister in the World. Retrieved October 25, 2020, from https://www.youtube.com/watch?v=RRkV9L1Zrsc

Chadchart Sittipunt. (n.d.). @chadchartofficial. Retrieved October 24, 2020, from https://www.facebook.com/chadchartofficial/

Naewna. (n.d.). Hot Issues: The Bangkok Governor Who Sits in the Hearts of the People. Retrieved from https://www.naewna.com/politic/columnist/41405

Bansomdej Poll. (2019). Opinions of Bangkok Residents Regarding the Election of Bangkok Governor. Retrieved October 25, 2020, from https://www.thebangkokinsight.com/185754/

McNair, B. (1999). An Introduction to Political Communication (2nd ed.). New York: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-10-2024

How to Cite

หนุนภักดี ช. ., & นันทวโรภาส น. . (2024). กระบวนการสื่อสารทางการเมืองของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ : ศึกษาในช่วงเวลาปี พ.ศ.2555–พ.ศ.2565. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 9(5), 320–331. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/272487

ฉบับ

บท

บทความวิจัย