พลวัตขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูปที่ดินหลังรัฐธรรมนูญ 60 : กรณีศึกษาปัญหาไม่มีที่ดินทำกินของเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดคณวัฒน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พลวัต;, ขบวนการเคลื่อนไหว; , การปฏิรูปที่ดิน; , รัฐธรรมนูญ

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการไม่มีที่ดินทำกินของเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวของเกษตรกรเพื่อการปฏิรูปที่ดินหลังรัฐธรรมนูญ 2560 3) นำเสนอแนวทางปฏิรูปที่ดินเพื่อแก้ปัญหาไม่มีที่ดินทำกินของเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิธีดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาความ

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการไม่มีที่ดินทำกินของเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา คือการบังคับใช้กฎหมายปฏิรูปที่ดินเกษตรกรที่ใช้ที่ดินในการประกอบอาชีพเกษตรส่วนหนึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของนายทุนและเกษตรกรเข้าไปบุกรุกที่ดินของรัฐ 2) ขบวนการเคลื่อนไหวของเกษตรกรเพื่อการปฏิรูปที่ดินหลังรัฐธรรมนูญ 2560 ด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การส่งเสริมการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอย่างถูกเป้าหมายและปฏิบัติให้สมดุลกับเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ การผลักดันให้โครงการปฏิรูปที่ดินเป็นนโยบายระดับชาติในการพัฒนาชนบท 3) แนวทางปฏิรูปที่ดินเพื่อแก้ปัญหาไม่มีที่ดินทำกินของเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา โดยนำนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำและแก้ไขปัญหาการไร้ที่ดินทำกินของเกษตรกรและผู้ที่ยากจนภายใต้การปฏิรูปที่ดินหลังรัฐธรรมนูญ 60 มีเป้าหมายในการลดความเหลื่อมล้ำและแก้ไขปัญหาการไร้ที่ดินทำกินของเกษตรกร พร้อมทั้งส่งเสริมและพัฒนาอาชีพตามศักยภาพของพื้นที่การใช้ประโยชน์ของทรัพยากรอย่างยั่งยืน

References

Academic Affairs and Planning Bureau, Agricultural Land Reform Office. (2017). The 8th Executive Meeting Report/ 2017. Bangkok. , Agricultural Land Reform Office.

Arunpong, P. (2013). Land Reform Handbook. Bangkok: Duan Tula Printing House.

Buranrak, W. (2015). People’s Political Movement: A Case Study of Environment Conservation

Group in Udon Thani Province. Master thesis, M.Pol.Sc. Chiang Mai University.

Charoensin-o-larn, C. (2011). New Social Movements. Bangkok: Wipasa.

Horeprasirt, W. (2012). Communities Title Deeds Policy Implementation. Master thesis, M.Pol.Sc. Thammasat University.

Lapudomkarn, L. (2021). Thailand’s Inequality Insight, Can it be Solved? , How to solve? Bangkok. Kiatnakin Phatra.

Manager Online. (2022). Four Group Cooperation in the Arable Land Solution for People. Retrieved on 15th April 2022. https://mgronline.com

Pintoptang, P. (2009). Political Framework Analysis of Theory of Social Movement. Chiangmai : Heinrich Boll Foundation, South East Asia Office.

Sakdivorapong, C. (2007). Legal Measures for Consumer Protection on Advertising Media. Journal of Social Science and Humanities. 33(1) ( January-June 2007), 13-24.

Techatongsinght, P. (2016). Problems on Acquisition of Private Land According to the Land Reform Law for Agricultural Purpose: Case Study of the Purchase of Private Land for

the Agricultural Land Reform. Bangkok. Sripatum University.

The Secretariat of the National Strategy Committee Office. (2017). The National Strategy 2018-2037 (Summary). Bangkok. The Secretariat of the National Strategy Committee Office.

The Secretariat of the National Strategy Committee Office. (2021). The Performance Report According to the Annual National Strategy 2021. Bangkok: The Secretariat of the National Strategy Committee Office.

The Secretariat of the Prime Minister. The 1st Committee Meeting about the Solutions of Isaan People Network Council and Four Regions’ People Council was held by the Deputy

Prime Minister, General Prawit Wongsuwan. Retrieved on 15th April 2022. https://spm.thaigov.go.

Thongchock, M. (2011). The Policy of Land Distribution compared with the Land of the State Action on Derelict Land Under Section 6 of the Land Code. Bangkok. Thammasat University.

เผยแพร่แล้ว

31-10-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย