รูปแบบการเรียนรู้“Me Mind Learn” เพื่อการรู้แจ้งโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีสรรคนิยม

ผู้แต่ง

  • ระวีวรรณ แก้ววิทย์ คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • รุ้งลาวัลย์ สกุลมาลัยทอง คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

รู้แจ้ง, รูปแบบการเรียนรู้ใหม่, ทฤษฎีสรรคนิยม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ใหม่ “Me Mind Learn” ที่มุ่งหวังการสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเป้าหมายของการศึกษาสำหรับผู้เรียนในปัจจุบันและอนาคตทำให้ผู้เรียนรู้เกิดการรู้แจ้ง (Enlightened Individual) โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีสรรคนิยม (Constructivism) มีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 1,172 คน ที่เรียนในรายวิชาศึกษาทั่วไปและรายวิชาเฉพาะด้าน
ผลของการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้ใหม่ “Me Mind Learn” ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามความคาดหวัง 2) การนำเข้าสู่บทเรียน 3) การตั้งคำถาม 4) การสร้างกิจกรรมและบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกัน 5) การสะท้อนการเรียนรู้ 6) การสรุปบทเรียน และเมื่อการเรียนรู้ดำเนินการครบทั้ง 6 ขั้นตอนแล้ว พบว่า ผู้เรียนรู้มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด มีพัฒนาการด้านความรู้ ทักษะและทัศนคติที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งในด้านการเรียนและการดำเนินชีวิต

References

Gupta, R. & Gupta, V. (2017). Constructivist approach in teaching. International of Humanities and Social Sciences (IJHSS), 6(5), 77-88.

Haemaprasith, S. (2001). Constructivism. In Encylopedia of Education (Vol. 21, pp.91-96). Bangkok: Pattanasuksa.

Khemmanee, T. (2017). Science of Teaching Pedagogy. (21st ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.

Lumpoothong, N. (2022). The Development of Instructional Model to Enhance The Critical Thinking Skills for Secondary School Students. Journal of MCU Buddhapanya Review. 7(3), 283-295.

Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. (2019). Policy and Strategy of Thailand HESI 2020-2027 and Thailand SRI Plan 2020-2022. Bangkok: Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation.

Olusegun, B. (2015). Constructivism Theory: A Paradigm for Teaching and Learning. IOSR Journal of Research & Method in Education (IOSR-JRME), 6(1), 66-70.

Phrakru Sootakijworakhun. (2013). Buddhist Teaching Methods. In Encylopedia of Education (Vol. 47, pp.104-114). Bangkok: Pattanasuksa.

Santadrob, P. (2014). Effeects of Using Higher Order Questions on Critical Reading Ability and Learning Retention of Third Grade Students (Research Report). Bangkok: Chulalongkorn University.

Sapianchai, P. et al. (2018). Proposal for Teacher Development Using Educational Research Networks. as cited in Commemorative Cremation Ceremony Prof.Dr.Poj Sapianchai (4 February 189-201). Bangkok: Icon Printing.

Somdet Phra Buddhaghosacariya (P.A. Payutto). (2007). Thai People to The IT Era. (8th ed.). Bangkok: Pimsuay.

Sriklaub, K. (2014). Development of an Effective Learning Climate Enhancement Model: Design Based Research and MMSEM Analysis. (Doctoral dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.

Sungrugsa, N. & Thammapipn. S. (2020). Learning Reflection: Perspective in order to Construct the Body of Knowledge in Education Research. Silpakorn Education Research Journal, 12(2), 1-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-02-2025

How to Cite

แก้ววิทย์ ร. ., & สกุลมาลัยทอง ร. . (2025). รูปแบบการเรียนรู้“Me Mind Learn” เพื่อการรู้แจ้งโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีสรรคนิยม . วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 10(1), 122–136. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/271848

ฉบับ

บท

บทความวิจัย