การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ SQ6R ร่วมกับแหล่งเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์
คำสำคัญ:
ความสามารถการอ่านจับใจความ; , ทักษะการคิดวิเคราะห์; , การจัดการเรียนรู้แบบ SQ6Rบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ SQ6R ร่วมกับแหล่งเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และ 2) พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์จากการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ SQ6R ร่วมกับแหล่งเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านงิ้วศิริราฎร์บำรุง ใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) จำนวน 3 วงจร เครื่องมือที่ใช้ แบ่งเป็น 3 ประเภท 1) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติการ ได้แก่ (1) แบบบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ (2) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน (3) แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ (4) แบบทดสอบการอ่านจับใจความ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล (1) แบบทดสอบทักษะการอ่านจับใจความ (2) แบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1)ความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ SQ6R ร่วมกับแหล่งเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์ นักเรียนมีความสามารถในการอ่านจับใจความ นักเรียนร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 71.70 ขึ้นไป 2) ทักษะในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ SQ6R ร่วมกับแหล่งเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์ นักเรียนร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70.00 ขึ้นไป
References
Ministry of Education, Department of Curriculum. (2008). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok: Express Transport Organization of Thailand (ETO).
Department of Curriculum. (2003). National Education Act B.E. 2542 (1999) as Amended by the Second National Education Act B.E. 2545 (2002). Bangkok: Kurusapa Ladprao Press.
Kuhapinant, C., (1999). Reading Techniques. Bangkok: Silpakorn Bookstore.
Phuthangna, C., (2020). A Comparison of Reading Comprehension Ability through Multimedia Teaching Method and SQ4R Teaching Method of Grade 6 Students at Thetsaban Muang Khlung 1 (Burawitthayakarn) School. Master of Education in Curriculum and Instruction, Faculty of Education, Rambhai Barni Rajabhat University.
Duangwilai, D., (2022). Effects of Learning Management Using the SQ5R Reading Process to Promote Critical Reading Ability and Reading Behavior of Primary School Students. Journal of Yala Rajabhat University, 17(2), 97-102.
Khammani, T., (2002). The Science of Teaching: Knowledge for Effective Learning Process Management. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Sangkalak, T., (2020). Development of Reading Comprehension Skills through Skill Exercises with SQ6R Reading Technique for Grade 9 Students. Master of Education in Thai Language, Naresuan University.
Nilphan, M., (2001). Course Materials for Course 464 460: Research Methods in Behavioral and Social Sciences. Nakhon Pathom: Department of Curriculum and Instruction, Silpakorn University.
Academic and Educational Standards Bureau. (2005). Integrated Learning. Bangkok: Kurusapa Ladprao Press.
Butratch, A., (2010). Social Network. Retrieved on March 23, 2012, from http://km.ru.ac.th/computer/?p=199.
Bloom, B. S., & Krathwohl, R. D. (1984). Taxonomy of Educational Objectives: The Classification of Educational Goals, by a Committee of College and University Examiners. Handbook 1: Cognitive Domain. New York: Longmans.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.