การส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชนในตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การส่งเสริม, วัฒนธรรมสร้างสรรค์, เยาวชน, ตำบลยางเนิ้งบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ชองชุมชนตำบลยางเนิ้ง 2) เพื่อพัฒนาวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชนตำบลยางเนิ้ง และ3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชนตำบลยางเนิ้ง รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัย คือ ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้ให้การสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล จำนวน 18 รูป/ท่าน 2) ผู้ให้การสนทนากลุ่ม จำนวน 7 รูป/ท่าน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ คือ ประเพณีถวายสลากภัตเป็นประเพณีที่มีบทบาทต่อวิถีชีวิตของคนในตำบลยางเนิ้ง ซึ่งมีการอนุรักษ์และสืบทอดปฏิบัติมาตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น ปัจจุบันกลุ่มผู้ให้ความสำคัญคือ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ปกครอง แต่กลุ่มเยาวชน พบว่า ไม่มีองค์ความรู้และไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมประเพณีถวายสลากภัต 2) การพัฒนาวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ โดยการจัดกิจกรรมการอบรมให้ความรู้และการจัดกิจกรรมบทบาทสมมติ โดยการให้เยาวชนและผู้ปกครองได้มีบทบาทในกิจกรรมประเพณีถวายสลากภัตตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่เยาวชนซึ่งนำไปสู่การพัฒนาวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ 3) รูปแบบการพัฒนา โดยการใช้รูปแบบเชิงบูรณาการแบบมีส่วนร่วม ระหว่างองค์กรศาสนา องค์กรสถานศึกษา องค์กรสังคม และครอบครัว ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนภูมิปัญญาสู่ศิลปะสร้างสรรค์และวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชนตำบลยางเนิ้งต่อไป
องค์ความรู้จากงานวิจัยพบว่า ในแต่ละพื้นที่จะมีภูมิประเทศประเพณีวัฒนธรรมที่แตกต่าง ซึ่งนำมาสู่การพัฒนาสู่เยาวชนให้กลายเป็นวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ที่แสดงให้เห็นถึงประเพณีวัฒนธรรมที่มีความเป็นอัตลักษณ์ในพื้นที่นั้น ๆ
References
Chinnapong, P. The Meaning of Participation. Pathum Thani : Valaya Alongkorn Rajabhat University, 2008.
Chumpradit, K. “Participatory Communication for Preserving Lanna Identity of Wiangchai Sub-District Municipality Community. Chiang Rai Province”, Research Report, (Chiang Rai Rajabhat University, 2018), abstract page.
Gina, Y. and others. “Bovorn Peace: Participatory Models of Houses, Temples and Schools in Promoting the Twelve Moral Values, Chiang Mai Province”, Journal of Peace Studies Review, Year 6 (Special Edition, 2019).
Intrakkhamphon, W. Promotion of agriculture and rural development. Chiang Mai : Department of Agricultural Extension and Dissemination, Faculty of Agriculture. Chiang Mai University, 2003.
Khongkham, S. “Community Participation in Preserving and Inheriting the Phra Bok Dragging Tradition Phipun District Nakhon Si Thammarat Province”, Nakbutr Review Journal, Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, Vol. 14, No. 1, (January 1-April 2022).
Pongsapich, A. Culture, Religion and Ethnicity An anthropological analysis of Thai society. 2nd edition. Bangkok: Chulalongkorn University Press, 1991.
Poonthawee, K. "States and needs for participation in educational management of the basic education institutes committee. in the group of Bang Bo 3 schools under the Samut Prakan Educational Service Area Office 2”. Branch of Educational Administration. Graduate School: Rajabhat Rajanagarindra University. 2006.
Sivaraksa, A and others, “Studying the history and preserving the tradition of Lasang rice at Ban Phru Jood, Bor Hin Sub-district, Sikao District, Trang Province”, Research Report, (Faculty of Science and Fishery Technology: Rajamangala University of Technology Srivijaya Trang Campus, 2017), page 54
Sonthirak, P. Social order, tradition, culture, religion. Bangkok: Ramkhamhaeng University Press, 1971.
Sutham, P. (2003). “Community dynamics and self-reliance in the western region”. Bangkok : Visual Vision Institute.
Suwirangkun, S. Social problems. Bangkok: Odeon Store, 2008.
The English-Thai Sociological Dictionary, Royal Institute Edition, 1st Edition, (Bangkok: Royal Institute, 1981).
Thongboon, A. (1999). “Collect diamonds from the Tripitaka scriptures”. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Printing Press.
Wanichwattanawarachai, S. and others, “Creative Integration of Local Wisdom to Teaching and Learning in the 21st Century”, Thai version of the journal. Humanities, Social Sciences and Arts, Year 11, No. 3 (September-December 2018).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.