การเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมจีนของชุมชนเยาวราชผ่านพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงจำลองออนไลน์
คำสำคัญ:
การเรียนรู้, วัฒนธรรมจีน, เยาวราช, พิพิธภัณฑ์จำลอง, พิพิธภัณฑ์ออนไลน์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและสร้างองค์ความรู้ทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี วีถีชีวิตของชุมชนเยาวราช 2) เพื่อสร้างสื่อเทคโนโลยีพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงจำลองออนไลน์สืบสานศิลปะและวัฒนธรรม ประเพณี และวีถีชีวิตอันดีงามของชุมชนเยาวราชในยุคดิจิทัล 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของการเรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยีพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงจำลองออนไลน์สืบสานศิลปะและวัฒนธรรม ประเพณี และวีถีชีวิตอันดีงามของชุมชนเยาวราช เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี ใช้แนวคิดเกี่ยวกับทุนวัฒนธรรม และแนวคิดเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงเป็นกรอบการวิจัย การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาและรวบรวมข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี วีถีชีวิตของชุมชนเยาวราช กลุ่มตัวอย่างได้แก่ หัวหน้าชุมชน ปราชญ์ชุมชน ผู้รู้ในชุมชน และคนในชุมชน จำนวน 60 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมจีนของชุมชนเยาวราช ผ่านพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงจำลองออนไลน์ จำนวน 404 คน ใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แนวคำถามเพื่อใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในกรณีการวิจัยเชิงปริมาณ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนเยาวราชประกอบด้วยองค์ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมประเพณีสืบสานภายในชุมชนเยาวราช และองค์ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมและประเพณีอื่นๆ 2) การสร้างสื่อเทคโนโลยีพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงจำลองออนไลน์ เป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้ความรู้ผ่านเว็บไซต์พิพิธภัณฑ์เสมือนจริงจำลองออนไลน์ ด้วยการใช้รูปแบบภาพมุมมอง 360 องศา ทำให้การเข้าถึงข้อมูลนั้นเสมือนผู้เข้าได้เข้าในสถานที่จริง 3) ความพึงพอใจของการเรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยีพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงจำลองออนไลน์สืบสานศิลปะและวัฒนธรรม ประเพณี และวีถีชีวิตอันดีงามของชุมชนเยาวราช มีความพึงพอใจอยู่ในภาพรวมโดยเฉลี่ยที่ระดับมากที่สุด
องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้และพัฒนาทางด้านการศึกษาในการเรียนการสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรมจีนในประเทศไทยและยังเป็นการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมจีนของชุมชนเยาวราชผ่านพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงจำลองออนไลน์ แบบ 360 องศา ที่เป็นวิธีการเรียนรู้และสืบสานวัฒนธรรม ประเพณี และวีถีชีวิตจีนของชุมชนเยาวราช ที่ไม่จำกัดเพียงแค่คนในชุมชนอีกต่อไป เพราะเป็นการเปิดกว้างและเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ได้เรียนรู้ไม่ว่าจะอยู่ ณ แห่งหนใดก็ตาม เวลาใดก็ตาม เพราะการเรียนรู้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา และยังเป็นการประชาสัมพันธ์และสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มขึ้นอีกด้วย
References
Ardrugsa, I. (2013). A Development of A Virtual Museum Model on Computer Technology. Master Thesis, M.Ed. (Education Technology). Bangkok: Srinakharinwirot University.
bareo interior design & decoration. (2019). Virtual Museum. Retrieved from https://www.bareo-isyss.com/2019/art-culture/virtual-museum/
Chittarach, P. (2017). Development Dinosaur Virtual Museum Model with Virtual Image. A thisis of Master of Science, Mahasarakham University.
Department of Industrial Promotion. (2016). Thai Cultural Capital for Economic Creation. Industrial Journal. 58 (6), 5-8.
Disara, T. Kasinant, C. and Topitak, K. (22019). The Development of Virtual Museum on Thungwa Ancient Elephant, Satun Province. e-Journal of Education Studies, Burapha University. 1(4): 55-68. Retrieved from
https://www.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/211120
Hinso, P. and Chanamarn, N. (2021). A Development of Media Learning for the Eight Necessities of A Buddhist Monk (Achan Fan Acharo) with Augmented Reality Technology (AR), A Case Study: Achan Fan Acharo Museum, Udomsompron Temple. Proceeding of the 3rd National Conference of Science, Technology, and Innovation in 2021. pp 534 – 543.
Jiraboot, K. Jaihuek, S. Jitkhum, P. and Chueachetton, P. (2022). The Creating a Digital Museum Showing Murals of Wat Phra Singh in a Virtual World. Proceeding of GNRU22nd Conference. pp 29-39.
Kongkakul, M. and Narin, B. (2018). The Development of Tourist Centers Using Augmented Reality Via Smart Phone to Promote Sustainable Tourism in Ratchaburi Province. Proceeding of the 6th National Conference of Muban Chombueng Rajabhat University Retrieved from http://rms.mcru.ac.th/uploads/264629.pdf
Kousuratand, S. and Muangmuang, S. (2023). Government Policy for New Normal Tourism in the Post Covid-19 Crisis. Journal of MCU Buddhapanya Review. 8(3): 98-109.
Lertthayakul, D. (2018). Development of a Virtual Local Museum: The Case Study of Learning Center for Traditional Local Fabrics Hand-woven by Lao Ethnicities of Chee and Khrang in Suphanburi Province. Nakhon Phanom University Journal. 8(3)
Ministry of Information and Communication Technology. (2009). Information and Communication
Technology Master Plan (2nd edition) of Thailand 2009-2013. Retrieved from
http://www.mict.go.th/download/ICT_masterplan/ no6_ICTMP2_NITC_Vision.doc.pdf
Pattamasiriwat, D. (2004). Social and cultural capitals in modern economy and management. Collection of articles from the 2004 Academic Conference of Naresuan University.
Phongphanich, N. Mueangkaew, K. and Aupala, J. (2023). Journal of MCU Buddhapanya Review. 8(3): 287-302.
Prasongthan, S. (2013). Social Capital Potentiality for Creative Community Based Tourism: The Study of Tai Puan Community, Pak Plee District, Nakorn Nayok Province. Journal of Social Sciences Srinakharinwirot University. 16 (2556), Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/3819/3808
Punyanuparp, S. (1957). Cultural Sciences. Bangkok: Religious Printing press.
Rungklin, C. Chinsamranwong, T. Sae-Lim, K. and Chowchang, R. (2019). The development of a virtual tour website of the Had Yai museum. Proceeding of the 10th Hatyai National and International Conference. pp. 687-698.
Saenpicha, S. Sirikulpipat, P. and Nadprasert, S. (2020). Development Interactive Virtual Museum Application with 360-Degree and 3D scans Virtual Reality Technology: Case study 10 Museums of Thailand. Journal of Information Science. 38(1):
Sakhajun, C. (2014). Development of Virtual Museum Design: Phutthamonthon Center of World Buddhism. Rajamangala University of Technology Rattakosin.
Schweibenz, W. (1998). Museums information in Internet am Beispiel der Webseitenzweier Kunstmuseen in den USA. In Marlies Ockenfeld. Proceedings des 50. Deutschen Dokumentartages. Frankfurt/M.: DGD.
Sricharoen, J. Siharad, D. and Sukparsert, A. (2019). The Tourism Promotion Application of 8 Attractions that Need to go to Phetchabun Province with the Augmented Reality Technology. Journal of Project in Computer Science and Information Technology. 5(1): 84-94.
Ueawiwatsakul, S. (2020). The impact and direction of the industry after the outbreak of the COVID-19. The Office of Industrial Economics. Retrieved from https://www.oie.go.th/assets/portals/1/fileups/2/files/ArticlesAnalysis/Direction_industry_after_COVID-19.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.