ข้อเสนอการจัดการและกลไกการกำกับการดูแลข่าวสารเพื่อป้องกันความรุนแรงทางสังคมในสื่อยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • กฤติยา รุจิโชค -
  • สุประวีณ์ ศิรินุกุลวัฒนา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

คำสำคัญ:

การจัดการ, การกำกับดูแล, ความรุนแรงทางสังคม, สื่อยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการและกลไกการกำกับการดูแลข่าวสาร 2) สร้างข้อเสนอความร่วมมือต่อการสร้างกลไกการกำกับดูแลข่าวสารที่มีประสิทธิภาพสำหรับสื่อมวลชน 3) พัฒนาข้อเสนอความร่วมมือต่อการสร้างกลไกการกำกับดูแลข่าวสารที่มีประสิทธิภาพสำหรับสื่อมวลชนเพื่อป้องกันความรุนแรงทางสังคมในสื่อยุคดิจิทัล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์คือ การจัดการ การบริหารจัดการ ความรุนแรง สื่อดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการกำกับดูแลสื่อรวม 13 หน่วยงาน รวม 26 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1. แบบการวิเคราะห์เนื้อหา 2.แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก 3.แบบการสัมภาษณ์กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเขียนแบบเชิงพรรณนา  

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่นำมาสร้างข้อเสนอ คือ มาตรการการควบคุมจากภาครัฐ ควบคุมกันเอง เทคโนโลยี ประชาชน สร้างคู่มือแนะนำและตัวอย่าง การให้การศึกษาเรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ การใช้สื่อ และ การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานสื่อด้วยการจัดตั้งหน่วยงานวิจัยและพัฒนาสื่อในองค์กรสื่อ 2) ได้ข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับมาตรการการควบคุม การให้การศึกษาด้านการรู้เท่าทันสื่อกับกลุ่มผู้รับสาร ประชาชน 3) ได้ปัจจัยที่นอกเหนือไปจากข้อเสนอคือ การพัฒนาสื่อด้านการทำงานให้เกิดการทำงานภายใต้จริยธรรมสื่อด้วยการจัดตั้งหน่วยงานวิจัยและพัฒนาในองค์กรสื่อ 

  องค์ความรู้งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ด้านการจัดการและกลไกการกำกับดูแลข่าวสารเพื่อป้องกันความรุนแรงในสื่อยุคดิจิทัลให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ทำหน้าที่กำกับดูแลสื่อด้วยการนำปัจจัยที่เกิดจากผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาป้องกันไม่ให้สื่อนำเสนอเนื้อหาความรุนแรงและส่งผลต่อความรุนแรงทางสังคมต่อไป    

References

Edwards, R. (2018). An elaboration of the administrative theory of the 14 principles of management by Henri Fayol. International journal for empirical education and research, 1(1), 41-51.

Taylor. (1990). The principles of scientific management. New York: Harper & Brothers.

Thongjit, T (2010). Influence of media with violent content on aggressive behavior of youth in juvenile detention and protection centers. Chiang Mai Province. (Special problems in the Master of Arts degree program) Communication Arts, Maejo University.

Gulick, Luther, and Urwick. (1937). Paper on the Science of Administration. Clifton: Augustus M. Kelly.

Hanwilai, N. (2018). Guidelines for promoting ethics in the Thai media based on integrated Buddhist principles. Retrieved April, 18, 2022. fromhttps://ethesis.mcu.ac.th/storage/

Hinduja, S., & Patchin, J. W. (2020). Bullying, cyberbullying, and LGBTQ students. Cyberbullying Research Center. Retrieved September,15 ,2021, from https://www.humanitarianlibrary.org/sites/default/files/2020/07/Bullying%2C%20Cyberbullying%2C%20and%20LGBTQ%20Students.pdf

Silverblatt, I. (1995). Lessons of gender and ethnohistory in Mesoamerica. Ethnohistory, 42(4), 639-650. https://doi.org/10.2307/483149

Sukonrattanamethi, N. (2019). Social media literacy of youth for citizenship in a democratic society. Retrieved March 14, 2022, from https://kpi.ac.th/knowledge/research/data/380?page=7

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย