นโยบายรัฐบาลดิจิทัลเพื่อบริการสาธารณะ
คำสำคัญ:
นโยบายรัฐบาลดิจิทัล, บริการสาธารณะ, ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลดิจิทัลในการบริหารงานข้อมูลภาครัฐและการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลดิจิทัลในการบริหารงานข้อมูลภาครัฐและการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลของหน่วยงานของรัฐ 3) ศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลดิจิทัลในการบริหารงานข้อมูลภาครัฐและการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลของหน่วยงานของรัฐที่มีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร จำนวน 5 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 10 คน จากสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และหน่วยงานของรัฐ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลดิจิทัลในการบริหารงานข้อมูลภาครัฐและการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลมีแนวคิดการเป็นศูนย์กลางในการเข้าถึงข้อมูลเปิดภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์และสร้างการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาประเทศ 2) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานข้อมูลภาครัฐและการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล คือความไม่พร้อมของหน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะขาดการบูรณาการการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ และบุคลากรขาดทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 3) แนวทางการบริหารงานข้อมูลภาครัฐและการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลของหน่วยงานของรัฐที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย การจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลในระดับหน่วยงานของรัฐ การบันทึกความร่วมมือในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ การกำหนดมาตรการความปลอดภัยในการใช้งานระบบดิจิทัล และการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานของรัฐด้านทักษะดิจิทัล
References
Siriprakob, P., (2017). Three Paradigms in Public Administration: Concepts, Theories, and Practical Applications (4th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
PromwiIn, W., (2019). BIG DATA Analytics: A Pathway to Developing Organizational Data Analysis Systems. Nonthaburi: Core Function Publisher, Ramkhamhaeng University Press.
Office of the Council of State. (2019). Public Administration and Digital Services Act B.E. 2562 (2019). Retrieved May 4, 2020, from http://www.ratchakitcha.soc.go.th.
National Digital Economy and Society Commission. (2019). National Digital Development Policy and Plan for Economy and Society (2018-2037). Retrieved May 4, 2020, from http://www.ratchakitcha.soc.go.th.
Secretariat of the House of Representatives. (2019). Reform of Public Administration: Public Administration and Digital Services. Retrieved May 4, 2020, from https://library2.parliament.go.th.
Siribunnyakan, A., & Sompong, S.,. (2019). The Role of the Ministry of Digital Economy and Society in Driving Digital Economy and Society Strategy. MCU Social Science Review, 8(3), July–September, 255-269.
Laohwichien, U., (2020). Public Administration: Subjects and Dimensions (25th ed.). Bangkok: P.S. Group (1954) Co., Ltd.
Rakkhamsuk, E., (2017). New Public Service Delivery by Provincial Parliament Offices. Retrieved August 24, 2020, from https://western.ac.th/media/service.pdf.
Bardach, E. (1998). Cited in Ricardo S. Morse. (2005). Facilitating Interlocal Collaboration: Community and the Soft Skills of Public Management. Paper presented at the 8th National Public Management Research Conference, University of Southern California, September 29–October 1, 2005. Retrieved December 5, 2011, from http://localgov.fsu.edu.
Denhardt, J. V., & Denhardt, R. B. (2000). The New Public Service: Serving Rather Than Steering. Public Administration Review, 60(6), 549-560.
Layne, K., & Lee, J. (2001). Developing Fully Functional E-government: A Four-Stage Model. Retrieved June 15, 2020, from https://www.sciencedirect.com.
Anthopoulos, L. G., Siozos, P., & Tsoukalas, I. A. (2006). Applying Participatory Design and Collaboration in Digital Public Services for Discovering and Redesigning E-Government Services. Retrieved June 15, 2020, from https://www.sciencedirect.com.
Hughes, O. E. (2018). Public Management and Administration: An Introduction (5th ed.). Palgrave Macmillan.
Dunleavy, P., Margetts, H., Bastow, S., & Tinkler, J. (2012). Digital Era Governance: IT Corporations, the State, and E-Government. United Kingdom: Oxford University Press.
Pollitt, C. (2003). The Essential Public Manager. Philadelphia, USA: Open University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.