นวัตกรรมกระบวนการเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมแม่อิงชิโบริ ผ่านกระบวนการพัฒนานวัตกรชุมชน บนฐานการคิดเชิงออกแบบ

ผู้แต่ง

  • วรรณภา ทองแดง School of Political and Social Science, University of Phayao, 19 Moo 2, 19 Moo 2, Maeka, Muang Phayao, 56000
  • รักษ์ศรี เกียรติบุตร, ธัญญพัทธ์ มุ่งพัฒนสุนทร
  • ประยงค์ จันทร์แดง, สาริณีย์ ภาสยะวรรณ,
  • ณัฐฑรี สินธุนาวา, อนุรัตน์ ฝันถึงภูมิ,
  • ภัทธิญา จินดาคำ, พรโอบอุ้ม วงศ์วิลาศ คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, ยกระดับ, ผ้ามัดย้อม, นวัตกรชุมชน, การคิดเชิงออกแบบ

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมแม่อิงชิโบริ ผ่านกระบวนการพัฒนา
นวัตกรชุมชน บนฐานการคิดเชิงออกแบบ ในตำบลแม่อิง อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา ซึ่งดำเนินการในรูปแบบของการจัดอบรบเชิงปฏิบัติการที่อาศัยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ตามแนวทางของ Stanford University (2012) ที่ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง, การขมวดปมปัญหา, การค้นหาแนวทางแก้ไข, การร่างนวัตกรรมต้นแบบ และการนำนวัตกรรมต้นแบบไปทดสอบ ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย คือ ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2565 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2566 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ตัวแทนสมาชิกวิสาหกิจชุมชน จำนวน 15 คน (2) คณะผู้วิจัยของคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 9 คน (3) นิสิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม จำนวน 45 คน และ (4) ตัวแทนลูกค้าที่สามารถแสดงความคิดเห็นต่อการยกระดับผลิตภัณฑ์ จำนวน 22 คน โดยดำเนินการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อให้ได้ตัวแทนที่สามารถให้ข้อมูลที่ชัดเจน ถูกต้อง และครบถ้วน เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าว ล้วนเข้ามาปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในขั้นตอนสำคัญของโครงการวิจัยทั้งสิ้น สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แนวทางการสนทนากลุ่มและแบบสังเกตการณ์ ซึ่งหลังจากดำเนินการยกระดับผลิตภัณฑ์เสร็จสิ้นแล้ว จึงปรากฏผลการดำเนินงาน 6 รายการต่อไปนี้ (1) ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ‘กระเป๋าผ้ามัดย้อมแม่อิงชิโบริ’ (2) ข้อมูลความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ (3) กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (4) นวัตกรชุมชนด้านการตลาด (5) ผลการเปรียบเทียบผลประกอบการ ก่อนและหลังดำเนินการ และ (6) กระบวนการนวัตกรรมและการเรียนรู้

References

Abou-Zeid, E.-S., & Cheng, Q. (2004). The effectiveness of innovation: a knowledge management approach. International journal of innovation management, 8(03), 261-274. https://doi.org/10.1142/S1363919604001052

Kahn, K. B., (2018). Understanding innovation. Business Horizons, 61(3): 453-460. https://doi.org/10.1016/j.bushor.2018.01.011

Keathley, J.D., (2022, 8 February). Process Innovation or Innovation Process. Quality Magazine (Online). Retrieve from https://www.qualitymag.com/articles/96861-process-innovation-or-innovation-process

Kom Chad Luek. (2019). Phayao, natural tie-dyed fabric, Mae Ing Chibori, sells well, generates good income. Retrieved December 20, 2021, from https://www.komchadluek.net/news/405721. (in Thai).

Latthasaksiri, E. (2022). Talk of Chairman of Mae In Shibori Community Enterprise [Tongdaeng, W., Interviewer]. Interviewed on Apri 05, 2022. (in Thai).

Liedtka, J. (2014). Innovative ways companies are using design thinking. Strategy & Leadership, 42(2), 40-45. https://doi.org/10.1108/SL-01-2014-0004

Stanford University. (2012). A Design Thinking Process. Retrieved on January 30, 2023, from: https://web.stanford.edu/class/me113/d_thinking.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2024

How to Cite

ทองแดง ว. ., ธัญญพัทธ์ มุ่งพัฒนสุนทร ร. เ., สาริณีย์ ภาสยะวรรณ, ป. จ. . ., อนุรัตน์ ฝันถึงภูมิ, ณ. ส. ., & พรโอบอุ้ม วงศ์วิลาศ ภ. จ. . (2024). นวัตกรรมกระบวนการเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมแม่อิงชิโบริ ผ่านกระบวนการพัฒนานวัตกรชุมชน บนฐานการคิดเชิงออกแบบ. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 9(6), 83–99. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/270289

ฉบับ

บท

บทความวิจัย