การพัฒนาความสุขของพนักงานภายในสถานประกอบการจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ภูชิสส์ ศรีเจริญ สถาบันพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อสังคม และสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย
  • กฤษณะ ดาราเรือง
  • สิทธิพร เขาอุ่น บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ความสุขของพนักงาน, ปัจจัยส่งเสริมความสุข

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาปัจจัยส่งเสริมความสุขในองค์การและความสุขของพนักงาน 2)ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่งเสริมความสุขในองค์การกับความสุขของพนักงาน 3)ศึกษาปัจจัยส่งเสริมความสุขในองค์การที่ส่งผลต่อความสุขของพนักงาน และ 4)เสนอแนวทางการพัฒนาความสุขของพนักงานในสถานประกอบการ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ได้ศึกษาแนวคิดสุขภาวะในที่ทำงาน, องค์การแห่งความสุข และความสุขในการปฏิบัติงานของพนักงาน เป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร และพนักงานปฏิบัติการ องค์การอุตสาหกรรมในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน ใช้วิธีการเลือกสุ่มแบบชั้นภูมิและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิดคือ 1) แบบตรวจสอบรายการ 2) แบบวัดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่งเสริมความสุขในองค์การและความสุขของพนักงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยส่งเสริมความสุขในองค์การกับความสุขของพนักงาน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) มีตัวแปรสุขภาวะในที่ทำงาน จำนวน 16 ตัวแปร จากทั้งหมด 20 ตัวแปรที่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 76.80  อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.01 และมีตัวแปรองค์กรแห่งความสุข จำนวน 11 ตัวแปร จากทั้งหมด 24 ตัวแปร ที่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยสามารถอธิบายความแปรปรวน ได้ร้อยละ 76.80  อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.01 4) แนวทางการพัฒนาความสุขของพนักงาน ประกอบด้วย (1)การสร้างวัฒนธรรมองค์การ (2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากร (3) พัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงานให้น่าอยู่ (4) ส่งเสริมความผูกพันในองค์การ (5) เสริมสร้างสุขภาพทางกาย (6) สร้างขวัญกำลังใจในด้านสวัสดิการ และ (7) ส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง

References

Burton, J. (2010). WHO Healthy Workplace Framework and Model: Background and Supporting Literature and Practice. WHO, Geneva.

Chaiprasert N. (2015). Happiness in the work of personnel. Affecting the readiness to cope with the AEC of SME's businesses in Pathum Thani Province. https://www.semanticscholar.org

Chinnabutr A. & Kananaporn T. (2012). Scriptures for creating "professionalism" and "increasing happiness" in the organization of The Best CEO. Bangkok: Happy Book, 2012.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Manion, J. (2003). Joy at Work: As Experienced, As Expressed. Doctor of Philosophy in

Human and Organizational Systems.University of Michigan.

Pathumthani Provincial Industrial Office. (2018). Industrial Economic Analysis Report 2018 (January-June 2018), 1-5.

Pathumthani Provincial Labor Office. (2017). Labor Situation of Pathum Thani Province, Quarter 4, 2017, Pathum Thani Provincial Labor Office, 2-4.

Sricharoen P. (2019). Guidelines for the development of health promotion of industrial organizations in Pathum Thani Province. Journal of Politics, Administration and Law, 11 (3), 483 – 496.

Thammakul D. (2012). Developing Healthy Organization. Journal of Health Science Research, Year 6, Issue 1: January - June 2012.

WHO. (2003). World Health Organization. The World health report: 2003 : shaping the future. World Health Organization. https://apps.who.int/iris/handle/10665/42789

WHO. (2009).WHO guidelines for safe surgery: 2009: safe surgery saves lives. https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/44185/9789241598552_eng.pdf;sequence

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย