การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิตข้าวปลอดสารพิษ เพื่อความยั่งยืนของเกษตรกรกลุ่มขาณุ-โมเดล จังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีลดต้นทุน, การผลิตข้าวปลอดสารพิษบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของเกษตรกรผู้ประกอบการ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะผู้ประกอบการ สภาพแวดล้อม ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตข้าวปลอดสารพิษ และ3) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิตข้าวปลอดสารพิษ เพื่อความยั่งยืนของเกษตรกรกลุ่มขาณุ-โมเดล จังหวัดกำแพงเพชร เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากกลุ่มผู้แทนเกษตรกรผู้ประกอบการกลุ่มขาณุ-โมเดล จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 20 คน พร้อมทั้งการสนทนากลุ่มจากกลุ่มผู้แทนนายกสมาคมโรงสีข้าว เจ้าของโรงสีบริษัทเอกชนค้าปลีก บริษัทตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันพันธุ์ข้าว และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 6 คน แล้วนำมาหาข้อสรุปด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและเสนอแนะอ้างอิงทฤษฎีดำเนินการจัดระเบียบข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า 1)คุณลักษณะของเกษตรกรกลุ่มขาณุ-โมเดล จังหวัดกำแพงเพชร ได้แก่ (1)มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง (2) มีประสบการณ์ (3) มีทุนทรัพย์ (4)มีทัศนคติที่ดีในอาชีพเกษตรกร (5) มีทุนทางสังคม (6)มีการต่อยอดธุรกิจเกษตรในชุมชน 2)ความสัมพันธ์ของลักษณะผู้ประกอบการ สภาพแวดล้อม ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตข้าวปลอดสารพิษมีผลมาจาก(1)ความแตกต่างด้านประสบการณ์ (2) ความแตกต่างด้านทักษะการบริหารจัดการของเกษตรกร (3)ระดับรายได้ความร่วมแรงร่วมใจ และการเรียนรู้เทคโนโลยีของสมาชิก (4)สภาพแวดล้อมในท้องถิ่น และ(5)ทิศทางการกำหนดนโยบายของภาครัฐ 3)การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิตข้าวปลอดสารพิษ ประกอบด้วย (1)การถ่ายทอดเทคโนโลยี (2)การส่งเสริมแบบมีส่วนร่วม 3)การส่งเสริมแบบตลาดนำการผลิต 4)การส่งเสริมการศึกษานอกระบบของเกษตรกรกลุ่มขาณุโมเดลตามลำดับ
References
Cheawjindakarn, B. (2018). Qualitative Case Study Research Techniques. Liberal Arts Review, 13(25), 103-118.
Department of Agricultural Extension. (2019). Guidelines for the Operation of the Department of Agricultural Extension for the Fiscal Year 2019. Bangkok: New Thammada Press (Thailand) Co., Ltd.
Hanpichai, S. and Thaithong, P. (2020). The Development on New Generation of Thai Farmers to Propel Thai Economy. Journal of Graduate MCU Khonkaen Campus. 5(2), 1-16.
Imprasert, K. (2020). Innovation Model for Growth of medium Enterprises in Nonthaburi Province. Humanities and Social Sciences Journal, Ubon Ratchathani Rajabhat University, 11(2), 244-254.
Krajaejun, S. (2019). The Development Strategy of the Innovation of Competitive Advantage in Business of Thailand 4.0. Journal of Humanities and Social Sciences. 10(2), 84-94.
Office of Agricultural Economics. (2021). Agricultural Economic Situation in 2021 and trends in 2022. Office of Agricultural Economics: Bangkok.
Pimonrattanakan, S. (2019). Business and Entrepreneurs. Bangkok: Se-Education.
Phramaha Pruch Autthaporn. (2021). The Model of Creating a Way of Rice Production for Consumers in the Northeast Region. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology. 6(1), 70-85.
Polasen, W., Limunggura, T. and Khuhasawanwatch, S. (2021). Factors Affecting Farmer’s Adoption of Riceberry Production Innovation in Suphanburi Province. King Mongkut's Agricultural Journal. 35(1), 11-24.
Prapapong, S. (2020). Management Guidelines to Reduce Costs and Increase Productivity by Applying Information Technology to Increase the Market Competitiveness of Jasmine Rice in Sisaket Province. Journal of Management Science Review. 22(1), 169-182.
Saee-Art, P., Fongmul, S., Kruekum, P., and Jeerat, P. (2020). Farmer’s Adoption on Dry-Season Rice Production Technology in Kheuang Municipality, Chiang Khong District, Chiang Rai Province. Journal of Agricultural Production. 1(2), 51-62.
Sanpakdee, P. and Onwimon, N. (2021). Cost and Return on Investment from Jasmine Rice Farming of the Farmers in Sam Chuk District, Suphan Buri Province. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University. 7(1), 121-135.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.